13:07:53 PM
  หัวข้อข่าว : PHATRA :สรุปข้อสนเทศ : PHATRA

                                                                       - สรุปข้อสนเทศ -  
                                        บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) (PHATRA)

ที่ตั้งสำนักงานใหญ่
         252/6 อาคารสำนักงานเมืองไทย-ภัทร 1 ชั้น 6, 8-11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
โทรศัพท์ 0-2305-9000 โทรสาร 0-2693-2388   Website:  http://www.phatrasecurities.com/ 

เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน      เมื่อวันที่ 31 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 31 พฤษภาคม 2548)

ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน   
         หุ้นสามัญจำนวน 213,500,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท คิดเป็นทุนชำระแล้ว จำนวน 1,067.5 ล้านบาท โดยเป็น
หุ้นที่เสนอขายต่อประชาชน 50 ล้านหุ้น

ตลาดรอง                               ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ราคาเสนอขาย                        31 บาทต่อหุ้น

วันที่เสนอขาย                        สำหรับนักลงทุนสถาบัน:       17-20 พฤษภาคม 2548
                                              สำหรับบุคคลทั่วไปและผู้มีอุปการคุณ:      19-20 พฤษภาคม 2548

การจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (ถ้ามี)        
         จำนวน 6,500,000 หุ้น โดยยืมจากนายบรรยง พงษ์พานิช  ซึ่งให้บริษัทหลักทรัพย์ เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด ("TSFC") 
ยืมเพื่อทำการส่งมอบหุ้นดังกล่าวให้แก่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน ซึ่งได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ ซี แอล เอส เอ (ประเทศไทย) จำกัด
และจะจัดหาหุ้นคืนภายใน 30 วันนับแต่วันที่เริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
         วิธีการจัดหาหุ้นส่วนเกินเพื่อส่งคืนจะเป็นดังต่อไปนี้
         1. ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ และ/หรือ
         2. ใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนจากบริษัทฯ

วัตถุประสงค์การใช้เงิน       
         บริษัทฯ มีวัตถุประสงค์ในการนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนในครั้งนี้ประมาณ 1,492.8 
ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่บริษัทฯได้รับภายหลังจากการหักค่าใช้จ่ายจากการจองและการจัดสรรแล้ว ดังนี้
         1.  ใช้ในการลงทุนเบื้องต้นเพื่อให้บริการการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต  (Internet Trading) จำนวนเงิน 
(โดยประมาณ) 10.0 ล้านบาท ระยะเวลาที่ใช้เงิน (โดยประมาณ) ภายในปี 2548
         2.  ขยายฐานลูกค้าและเครือข่ายในการให้บริการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ จำนวนเงิน (โดยประมาณ) 500.0 ล้านบาท 
ระยะเวลาที่ใช้เงิน (โดยประมาณ) ภายในปี 2550
         3.  เงินส่วนที่เหลือจากข้อ 1 และ 2 จะนำไปใช้ตามความเหมาะสมของธุรกิจ ในธุรกิจดังนี้ ขยายฐานเงินลงทุนใน
ฝ่ายการลงทุนในหลักทรัพย์ (Proprietary Trading Department) และฝ่ายลงทุน (Direct Investment Department) รวมถึงใช้ใน
การดำเนินธุรกิจการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์และธุรกิจตราสารอนุพันธ์ เพิ่มศักยภาพในการจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย
หลักทรัพย์ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทฯ 

         ทั้งนี้ จำนวนเงินที่ระบุในข้อ 2 และข้อ 3 อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพความเหมาะสมของธุรกิจแต่ละประเภท
ในอนาคต รวมถึงสภาวะตลาดและการเติบโตของธุรกิจดังกล่าวของประเทศในภาพรวม รวมทั้งอาจมีการผันแปรตามการ
ใช้เงินของบริษัทฯ ในธุรกรรมการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ในแต่ละคราว

ประเภทกิจการและลักษณะการดำเนินงาน  
         บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) (" บริษัทฯ") ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ 
5 ประเภท ได้แก่ 1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ 2) การค้าหลักทรัพย์ 3) การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ 4) การเป็นที่ปรึกษา
การลงทุน 5) การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้ทำหน้าที่
ที่ปรึกษาทางการเงิน และเป็นตัวแทนสนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ในปัจจุบัน ธุรกิจหลักของบริษัทฯ มี 3 
ประเภท ดังนี้
         1.  ธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัทฯ ให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์แก่ลูกค้าประเภทสถาบัน ทั้ง
ในประเทศและต่างประเทศ และลูกค้าบุคคลรายใหญ่
         2.  ธุรกิจวานิชธนกิจ บริษัทฯ ให้บริการทางด้านธุรกิจวานิชธนกิจโดยให้บริการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและการจัด
จำหน่ายหลักทรัพย์ โดยมีการให้บริการแก่ลูกค้าขนาดใหญ่ในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน โดยตัวอย่างผลงานที่ผ่านมา
ของบริษัทฯ ได้แก่ การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ให้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท
ในกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ และบริษัทในกลุ่มชินวัตร เป็นต้น
         3.  ธุรกิจการลงทุน ในช่วงครึ่งหลังของปี 2547 บริษัทฯ ได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้น 2 หน่วยงาน เพื่อเป็นผู้ดำเนินการ
จัดการลงทุนเพื่อบัญชีของบริษัทฯ เอง ได้แก่  1) ฝ่ายการลงทุนในหลักทรัพย์ (Proprietary Trading Department) โดยจะ
ลงทุนในหลักทรัพย์ประเภททุน (Equity) และกึ่งทุน (Equity-linked Securities) ในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยจะเป็นการลงทุน
ในระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี 2) ฝ่ายลงทุน (Direct Investment Department) จะเน้นการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งรวมถึง
หลักทรัพย์ทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ และมีกำหนดระยะเวลาการลงทุนประมาณ 1-5 ปี
         นอกจากนี้ บริษัทฯยังมีหน่วยงานสนับสนุนธุรกิจหลักของบริษัทฯ ได้แก่ ฝ่ายงานวิจัย ฝ่ายกำกับดูแลการปฏิบัติงาน
และตรวจสอบภายใน และฝ่ายเทคโนโลยี

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม       - ไม่มี -

สรุปสาระสำคัญของสัญญา      
         1.  สัญญาการให้บริการทางธุรกิจ (Business Services Agreement)
คู่สัญญา:  บริษัทฯ และเมอร์ริล ลินช์ อินเตอร์เนชั่นแนล อินคอร์ปอเรตเต็ด (Merrill Lynch International  Incorporated) 
                ("เมอร์ริล ลินช์ อินเตอร์") 
ระยะเวลาของสัญญา  :  3 ปี นับจากวันที่ 1 ธันวาคม 2546 และจะต่ออายุโดยอัตโนมัติอีกทุก ๆ 1 ปี 
รายละเอียดที่สำคัญโดยสรุป :
         - ความร่วมมือด้านธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
           เมอร์ริล ลินช์จะส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ประเภททุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อบัญชีของตนเองอย่างน้อย
ร้อยละ 80 ผ่านทางบริษัทฯ และดำเนินการโดยสมเหตุสมผล ภายใต้เงื่อนไขของการซื้อขายในราคาที่ดีที่สุด (Best Execution) 
เพื่อให้คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของ เมอร์ริล ลินช์ เพื่อบัญชีลูกค้ารายใหญ่ (Qualifying Client) ของตนเองทั้งหมดดำเนินการ
ผ่านทางบริษัทฯ โดยจะชำระค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในอัตราตามที่ตกลงกันแต่จะไม่น้อยกว่าอัตรา
ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำที่บริษัทฯ ต้องเรียกเก็บตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด นอกจากนี้ บริษัทฯ มีข้อตกลงที่จะไม่ชักชวน
หรือดึงลูกค้ารายใหญ่ (Qualifying Client) ของเมอร์ริล ลินช์ เพื่อให้มาใช้บริการกับบริษัทฯ โดยตรง และตกลงว่าบริษัทฯ 
ต้องได้รับความยินยอมจากเมอร์ริล ลินช์ อินเตอร์ หากบริษัทฯ จะให้บริการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่สถาบันการเงิน
ระหว่างประเทศ (International Investment Bank or Financial Institution) หรือคู่แข่งทางธุรกิจของเมอร์ริล ลินช์

         - ความร่วมมือด้านธุรกิจวานิชธนกิจ
           บริษัทฯ และเมอร์ริล ลินช์ อินเตอร์ ตกลงให้ความร่วมมือซึ่งกันและกันในการให้บริการด้านวานิชธนกิจและการให้
บริการในด้านการให้คำปรึกษา และความเชี่ยวชาญในธุรกรรมการเสนอขายหลักทรัพย์ระหว่างประเทศ (Cross-border 
Transaction) ที่ต้องขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ต่อหน่วยงานกำกับหลักทรัพย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือต้องทำตาม
กฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกาภายใต้กฎ Rule 144 A หรือ Regulation S ซึ่งจะต้องมีการทำเอกสารเผยแพร่ให้แก่ผู้ลงทุน
ต่างประเทศ การซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่มีการทำเอกสารเผยแพร่แก่ผู้ลงทุน (Undocumented Block Trade) ซึ่งต้องใช้ผู้จัด
จำหน่ายหรือตัวแทนขายหลักทรัพย์ (Selling Agent) ต่างประเทศ และธุรกรรมการเข้าซื้อหรือควบรวมกิจการ (Merger & 
Acquisition) ระดับระหว่างประเทศ ให้แก่ลูกค้าของบริษัทฯ หรือของเมอร์ริล ลินช์ อินเตอร์ ที่อยู่ในประเทศไทยหรือที่มูลค่า
ของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องมากกว่ากึ่งหนึ่งตั้งอยู่หรือจดทะเบียนในประเทศไทย โดยบริษัทฯ และเมอร์ริล ลินช์ 
อินเตอร์ ตกลงที่จะแบ่งค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากการให้บริการและแบ่งจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการให้บริการตามที่กำหนด
ในสัญญา

         นอกเหนือจากความร่วมมือดังกล่าวข้างต้น คู่สัญญายังได้ตกลงที่จะให้ความร่วมมือในธุรกรรมอื่นๆ เช่น ธุรกรรม
ทางด้านตราสารหนี้ และตราสารทุนที่คู่สัญญาเห็นสมควรในการหาลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ทั้งนี้ คู่สัญญาจะตกลง
เกี่ยวกับรายได้ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นกรณีไป

         ในกรณีที่เมอร์ริล ลินช์ อินเตอร์มีลูกค้าซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับคำแนะนำการลงทุนภายใต้กฎหมายไทย เมอร์ริล 
ลินช์ อินเตอร์ตกลงจะแนะนำลูกค้ารายดังกล่าวให้แก่บริษัทฯ เพื่อให้คำแนะนำและบริการทางด้านวานิชธนกิจ โดยเมอร์ริล 
ลินช์ อินเตอร์จะคิดค่าธรรมเนียมในการแนะนำลูกค้าจากบริษัทฯ (Referral Fee) ในอัตราที่จะได้ตกลงกัน อย่างไรก็ดี 
เมอร์ริล ลินช์ อินเตอร์ ไม่ต้องแนะนำลูกค้าให้แก่บริษัทฯ ในบางกรณี ซึ่งรวมถึงกรณีที่ลูกค้าไม่ประสงค์ที่จะใช้บริการ
ของบริษัทฯ หรือบริษัทฯ ไม่มีใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องในการให้บริการดังกล่าว เป็นต้น

         -  ความร่วมมือในการให้บริการลูกค้าส่วนบุคคล
            บริษัทฯ ตกลงแนะนำลูกค้าของบริษัทฯ ซึ่งมีสินทรัพย์และดำรงบัญชีอยู่นอกประเทศให้แก่เมอร์ริล ลินช์ เพื่อการใช้
บริการลูกค้าส่วนบุคคล ซึ่งหากเมอร์ริล ลินช์ อินเตอร์ รับลูกค้าของบริษัทฯ เป็นลูกค้าของตน เมอร์ริล ลินช์ อินเตอร์ ตกลง
ชำระค่าธรรมเนียมในการแนะนำลูกค้า (Referral Fee) ให้แก่บริษัทฯ ในอัตราตามที่กำหนดในสัญญา

         - ความร่วมมือในการบริการเกี่ยวกับอนุพันธ์ (Derivatives)
           บริษัทฯ และเมอร์ริล ลินช์ อินเตอร์ตกลงให้ความร่วมมือในการให้บริการเกี่ยวกับอนุพันธ์ให้แก่ลูกค้าของคู่สัญญาอีก
ฝ่ายหนึ่งซึ่งอยู่ในประเทศไทยหรือที่จะทำธุรกรรมในประเทศไทย

         - ความร่วมมืออื่นๆ
           นอกจากความร่วมมือดังกล่าวข้างต้น เมอร์ริล ลินช์  อินเตอร์ ตกลงให้บริษัทฯ มีสิทธิใช้โปรแกรมซอฟท์แวร์ ตามที่
คู่สัญญาจะได้ตกลงกันเพื่อใช้ในการดำเนินงานของบริษัทฯ อนึ่ง ภายใต้สัญญาการให้บริการทางธุรกิจ โดยบริษัทฯ ต้อง
ชำระค่าธรรมเนียมให้แก่เมอร์ริล ลินช์ ในการที่เมอร์ริล ลินช์ ให้คำแนะนำและข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจโลก ด้าน
นโยบายการเงินและทิศทางการเงินของโลกทั้งตลาดเงินและตลาดทุน และข้อมูลข่าวสารด้านนโยบายภาคอุตสาหกรรม
ต่างๆ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจร่วมกัน ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวบริษัทฯ จะตกลง
กับเมอร์ริล ลินช์ ล่วงหน้าเป็นรายปี โดยพิจารณาจากลักษณะ ปริมาณของคำปรึกษาและความช่วยเหลือและบริการอื่นๆ 
ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีนั้นๆ

         - ระยะเวลาของสัญญาการให้บริการทางธุรกิจและการเลิกสัญญา
           สัญญาการให้บริการทางธุรกิจมีระยะเวลา 3 ปีนับจาก วันที่ 1 ธันวาคม 2546  และจะต่ออายุโดยอัตโนมัติอีกทุกๆ  
1 ปี เว้นแต่จะมีการยกเลิกสัญญาโดยคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยการแจ้งล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่า 6 เดือน 
และสัญญาฉบับนี้อาจสิ้นสุดลงได้โดยกรณีอื่นอีกหลายกรณี รวมถึงกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งละเมิดสัญญาในส่วนที่เป็นสาระ
สำคัญ หรือมีมติให้มีการชำระบัญชีหรือคู่สัญญามีการตั้งผู้พิทักษ์ทรัพย์ หรือบริษัทฯ ไม่สามารถดำรงไว้ซึ่งใบอนุญาตในการ
ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน (ยกเว้นใบอนุญาตการประกอบธุรกิจยืมและให้ยืมหลักทรัพย์) หรือเมอร์ริล ลินช์ 
อินเตอร์ ดำเนินการหรือจะดำเนินการใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อชื่อเสียงหรือการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ  หรือบริษัทฯ มี
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นซึ่งทำให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (International Investment Bank or Financial 
Institution) หรือคู่แข่งทางธุรกิจของเมอร์ริล ลินช์ (รวมเรียกว่า "บุคคลต้องห้าม") เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทฯ เป็นต้น  

         อย่างไรก็ดี เมอร์ริล ลินช์ อินเตอร์ได้ตกลงสละสิทธิในการเลิกสัญญาการให้บริการทางธุรกิจ หากมีการเสนอขายหุ้นต่อ
ประชาชนแล้วเสร็จภายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 และบุคคลต้องห้ามดังกล่าวได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ อันเนื่อง
มาจากกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ 
          1.  จากการเข้าซื้อหุ้นของบริษัทฯ ในการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้อันเนื่องมาจากการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์
ตามปกติธุระ  
         2.  จากการเข้าซื้อหุ้นของบริษัทฯ ในการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ตามปกติธุระ  ซึ่งบริษัทฯ รู้หรือควรจะรู้
ว่าการเข้าซื้อหุ้นดังกล่าวเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นปกติธุระ หรือเพื่อธุรกิจการจัดการกองทุน หรือ
         3.  จากการเข้าซื้อหุ้นของบริษัทฯ ในตลาดรอง ซึ่งบริษัทฯ รู้หรือควรจะรู้ว่าการเข้าชื้อหุ้นดังกล่าวเป็นการซื้อขาย
หลักทรัพย์อันเป็นปกติธุระ หรือเพื่อธุรกิจการจัดการกองทุน 
         ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่าบุคคลต้องห้ามดังกล่าว รวมทั้งบุคคลตามมาตรา 258 ของ พ.ร.บ. หลักทรัพย์ของบุคคล
ดังกล่าวจะต้องถือหุ้นในบริษัทฯ รวมกันไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ หากบริษัทฯ 
รู้หรือควรจะรู้ว่าการเข้าถือหุ้นดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อการเข้าลงทุนใน (Strategic Investment) การเข้าร่วมทุนใน (Joint 
Venture) การเข้าเป็นหุ้นส่วนใน(Partnerships) หรือการเข้าทำธุรกิจร่วมกัน (Business Combination) กับบริษัทฯ นอกจากนี้ 
บริษัทฯ และเมอร์ริล ลินช์ อินเตอร์ยังมีข้อตกลงเพิ่มเติมว่า บริษัทฯ จะแจ้งให้เมอร์ริล ลินช์ อินเตอร์ทราบ หากมีผู้ถือหุ้นรายใด
รายหนึ่งถือหุ้นในบริษัทฯ ตั้งแต่ร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ เมื่อมีการปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น
หรือเมื่อบริษัทฯ รู้หรือควรจะรู้ว่ามีการถือหุ้นดังกล่าว และหากบริษัทฯ มิได้แจ้งให้เมอร์ริล ลินช์ทราบหลายครั้ง หรือข้อมูล
ที่มิได้แจ้งเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญ เมอร์ริล ลินช์ มีสิทธิที่จะเลิกสัญญาการให้บริการทางธุรกิจได้

         2.   สัญญาความร่วมมือทางด้านงานวิจัย (Research Co-Operation Agreement) เมื่อ
คู่สัญญา     :    บริษัทฯ และเมอร์ริล ลินช์ (สิงค์โปร์) พีทีอี แอลทีดี (Merrill Lynch (Singapore) PTE. LTD.)
ระยะเวลาของสัญญา  :    สัญญาความร่วมมือทางด้านงานวิจัยดังกล่าวมีระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2546 โดยสัญญา
                                       ดังกล่าวจะต่ออายุโดยอัตโนมัติอีกทุก ๆ 1 ปี
รายละเอียดที่สำคัญโดยสรุป:
         -  งานวิจัยร่วม (Co-Authored Thai Research)
            บริษัทฯ และเมอร์ริล ลินช์ตกลงที่จะร่วมกันแบบ Exclusive ในการจัดทำและเผยแพร่งานวิจัยร่วม ซึ่งเป็นงานวิจัยที่จะ
ครอบคลุมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวกับบริษัทไทย และหลักทรัพย์ของบริษัทไทยตามที่กำหนดในสัญญา ซึ่งรวมถึงสภาวะเศรษฐกิจ 
การเมือง ตลาดทุน ตลาดเงิน และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศไทย 

           ในการจัดทำงานวิจัยร่วมนั้น บริษัทฯ จะต้องจัดทำงานวิจัยร่วมภายใต้มาตรฐานและข้อกำหนดเกี่ยวกับงานวิจัยของ
เมอร์ริล ลินช์ (Merrill Lynch Research Policies and Procedures) และข้อกำหนดเกี่ยวกับงานวิจัยของบริษัทฯ (Phatra 
Research Policies and Procedures)

           ในการเผยแพร่งานวิจัยนี้ เมอร์ริล ลินช์จะเป็นผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการเผยแพร่งานดังกล่าวในต่างประเทศในเอกสาร
และภายใต้ของเมอร์ริล ลินช์ ตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยจะมีข้อความกล่าวถึงทีมงานวิจัยของบริษัทฯ และบริษัทฯ 
ในฐานะผู้เขียนหรือผู้เขียนร่วมงานวิจัยดังกล่าว และบริษัทฯ จะเป็นผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการเผยแพร่งานวิจัยร่วมใน
ประเทศไทย โดยการเผยแพร่จะอยู่ในรูปแบบของเอกสารและภายใต้ชื่อของบริษัทฯ และจะกล่าวอ้างถึงเมอร์ริล ลินช์ใน
เอกสารงานวิจัยร่วมดังกล่าว

         - งานวิจัยของบริษัทฯ (Phatra-only Research) 
            งานวิจัยของบริษัทฯ เป็นงานวิจัยที่จัดทำขึ้นโดยบริษัทฯ แต่เพียงผู้เดียว โดยจะเป็นงานวิจัยนอกเหนือจากที่บริษัทฯ และ
เมอร์ริล ลินช์ ตกลงทำร่วมกันภายใต้งานวิจัยร่วม โดยบริษัทฯ เป็นผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการจัดทำและเผยแพร่งานวิจัยของ
บริษัทฯ ในเอกสารและภายใต้ชื่อของบริษัทฯ การเผยแพร่งานวิจัยของบริษัทฯ โดยเมอร์ริล ลินช์ จะกระทำได้ภายใต้การ
อนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัทฯ 

         - งานวิจัยของเมอร์ริล ลินช์ (Merrill Lynch Non-Thai Research)
           งานวิจัยของเมอร์ริล ลินช์ เป็นงานวิจัยที่จัดทำโดยเมอร์ริล ลินช์ ซึ่งจะเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวกับบริษัทต่างประเทศ รวมถึง
งานวิจัยเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเมือง ภาวะอุตสาหกรรม ตลาดเงินและตลาดทุนในต่างประเทศ โดยเมอร์ริล ลินช์ตกลงจะจัดส่ง
งานวิจัยของเมอร์ริล ลินช์ ให้แก่บริษัทฯ เพื่อเผยแพร่ในประเทศไทย งานวิจัยของเมอร์ริล ลินช์ดังกล่าว จะต้องเผยแพร่โดย
บริษัทฯ ในเอกสารและภายใต้ชื่อของบริษัทฯ ตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในสัญญาและต้องมีการอ้างถึงเมอร์ริล ลินช์ในฐานะ 
ผู้เขียนงานวิจัย ทั้งนี้ บริษัทฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบและรับผิดในการเผยแพร่งานวิจัยดังกล่าวในประเทศไทย โดยเมอร์ริล ลินช์ 
จะไม่มีความรับผิดใดๆ ทั้งสิ้นในการเผยแพร่งานวิจัยดังกล่าว

         - ระยะเวลาของสัญญาความร่วมมือทางด้านงานวิจัยและการเลิกสัญญา
            สัญญาความร่วมมือทางด้านงานวิจัยดังกล่าวมีระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2546 โดยสัญญาดังกล่าวจะ
ต่ออายุโดยอัตโนมัติอีกทุก ๆ 1 ปี และสัญญาฉบับนี้จะสิ้นสุดลงได้ในหลายกรณีรวมถึงกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญา
แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง หรือคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งละเมิดสัญญาในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ หรือมีมติให้ชำระบัญชีหรือ คู่สัญญามี
การตั้งพิทักษ์ทรัพย์ หรือบริษัทฯ ไม่สามารถดำรงไว้ซึ่งใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน (ยกเว้น
ใบอนุญาตการประกอบธุรกิจยืมและให้ยืมหลักทรัพย์) หรือเมอร์ริล ลินช์ ดำเนินการหรือจะดำเนินการใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบ
ต่อชื่อเสียงหรือการดำเนินการธุรกิจของบริษัทฯ หรือเมื่อสัญญาการให้บริการทางธุรกิจสิ้นสุดลง เป็นต้น

การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ    - ไม่มี -                 

การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการจัดการ     - ไม่มี -          

โครงการดำเนินงานในอนาคต: 
         บริษัทฯ มีแผนที่จะเปิดให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตให้แก่ลูกค้ารายย่อย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
เพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่บริษัทฯ บริษัทฯ คาดว่าจะใช้เงินในการลงทุนเพื่อให้บริการซื้อขาย
หลักทรัพย์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนประมาณ 10.0 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการซื้อขายในระบบ
ดังกล่าวได้ภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2548 นี้ 

รายการระหว่างกัน:         บริษัทฯ มีรายการระหว่างกันสำหรับรอบบัญชี 2547 กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
         1. รายการรายได้และรายจ่ายจากการดำเนินงาน
             รายได้ค่านายหน้ารับ
             เป็นรายการที่บริษัทฯ ให้บริการการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง สำหรับรอบบัญชีปี 2547 
ที่ผ่านมา บริษัทฯ คิดค่าบริการการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์จากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่กรรมการและผู้บริหาร 8 ท่าน 
คิดเป็นจำนวนรวม 405,504.6 บาท โดยบริษัทฯ คิดค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์ตามอัตราที่คิดกับลูกค้าทั่วไป
หมายเหตุ ทั้งนี้ ตามหมายเหตุประกอบงบการเงิน ผู้สอบบัญชีได้เปิดเผยข้อมูลรายได้ค่านายหน้ารับจำนวนรวม 451,177.4 
บาท เนื่องจากได้นับรวมค่านายหน้ารับจากกรรมการบริหารอีก 3 ท่าน จำนวน 64,445.3 บาท ซึ่งไม่ได้เป็นผู้บริหารของ
บริษัทฯ ตามนิยามของสำนักงาน ก.ล.ต. และไม่ได้นับรวมค่านายหน้าจากผู้บริหารตามนิยามของสำนักงาน ก.ล.ต. อีก 
1 ท่าน จำนวน 18,772.5 บาท

            ค่าใช้จ่ายอื่น
            ลักษณะของรายการ: บริษัทฯ จ่ายค่าที่ปรึกษา แก่กรรมการ 2 ท่าน ดังนี้
            1.   นายบรรยง พงษ์พานิช 
                   ความสัมพันธ์:             ประธานกรรมการ
                   ลักษณะของรายการ :   ค่าที่ปรึกษาตามสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษา เมื่อครั้งบริษัทฯ  อยู่ภายใต้การดำเนินงานโดย
                                                       เมอร์ริลลินช์ ซึ่งสัญญาสิ้นสุดเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2547
                   มูลค่าของรายการระหว่างกันในรอบบัญชีปี 2547    :    1,292,162.6 บาท
                   เงื่อนไข / นโยบายราคา  :   ตามอัตราที่ระบุไว้ในสัญญาที่ปรึกษา

             2. นายวีรวัฒน์ ชุติเชษฐพงศ์
                  ความสัมพันธ์ :      กรรมการและกรรมการบริหาร
                  ลักษณะของรายการ  :   ค่าที่ปรึกษาตามสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษา เมื่อครั้งบริษัทฯ อยู่ภายใต้การดำเนินงานโดย
                                                       เมอร์ริลลินช์ ซึ่งสัญญาสิ้นสุดเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2547
                 มูลค่าของรายการระหว่างกันในรอบบัญชีปี 2547  :     569,013.4 บาท
                 เงื่อนไข / นโยบายราคา   :    ตามอัตราที่ระบุไว้ในสัญญาที่ปรึกษา

         2. รายการคงค้างกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง
             1.  นายวีรวัฒน์ ชุติเชษฐพงศ์ 
                  ความสัมพันธ์    :       กรรมการบริษัทฯ
                 ลักษณะของรายการ :  เจ้าหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์
                 จำนวนยอดคงค้าง ณ 31 ธันวาคม 2547  :  1,601,155.4 บาท
                 เงื่อนไขและนโยบายราคา :   รายการตามปกติธุรกิจ ซึ่งรวมค่าบริการการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์จำนวน 
                                                              4,013.7 บาท

             2.  บริษัท รวมพล ภัทร จำกัด
                  ความสัมพันธ์:      กรรมการบริษัทฯ เป็นกรรมการของบริษัท รวมพลภัทร จำกัด
                  ลักษณะของรายการ :  ค่าอากรแสตมป์ที่บริษัทฯ จ่ายให้ก่อนและเรียกชำระคืนจากบริษัท รวมพล ภัทร จำกัด ภายหลัง
                                                     จำนวนยอดคงค้าง ณ 31 ธันวาคม 2547: 1,031,189.0 บาท
                  เงื่อนไขและนโยบายราคา :    มูลค่ารายการรวม สำหรับปี 2547 เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 1.94 ล้านบาท ณ ปัจจุบัน บริษัทฯ 
                                                               ได้ชำระครบถ้วนแล้ว และไม่มียอดคงค้าง

ความเห็นของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับรายการระหว่างกัน
         รายการระหว่างกันดังกล่าวได้รับการพิจารณาและให้ความเห็นโดยผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ว่ารายการระหว่างกันดังกล่าว
เป็นไปตามราคาที่ได้ระบุในสัญญา ค่านายหน้ารับจากการซื้อขายหลักทรัพย์ที่บริษัทฯ ได้รับเป็นราคายุติธรรม (Fair Market 
Value) ตามที่คิดกับลูกค้าทั่วไป

มาตรการหรือขั้นตอนการอนุมัติการทำรายการระหว่างกัน
         ที่ผ่านมา บริษัทฯ ยังไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการระหว่างกัน เนื่องจากบริษัทฯ มีสถานะเป็นบริษัทจำกัด 
อย่างไรก็ตาม การพิจารณาเข้าทำรายการได้มีการคำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทฯ เป็นสำคัญ

         สำหรับรายการระหว่างกันในอนาคต บริษัทฯ จะปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบของสำนักงานก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ 
รวมทั้งเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีเรื่องการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล หรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันซึ่งกำหนดโดยสมาคม
นักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย และดำเนินการให้คณะกรรมการตรวจสอบให้ความเห็นเกี่ยวกับความ
เหมาะสมของรายการดังกล่าว ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบไม่มีความชำนาญในการพิจารณารายการระหว่างกันที่เกิดขึ้น 
บริษัทฯ จะจัดให้บุคคลที่มีความรู้ ความชำนาญพิเศษ เช่น ผู้สอบบัญชี หรือผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่มีความเป็นอิสระจาก
บริษัทฯ และบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง เป็นผู้มีความเห็นเกี่ยวกับรายการระหว่างกัน โดยความเห็นของคณะกรรมการ
ตรวจสอบหรือบุคคลที่มีความรู้ ความชำนาญพิเศษจะถูกนำไปใช้ประกอบการตัดสินของคณะกรรมการหรือผู้ถือหุ้นแล้ว
แต่กรณี เพื่อให้มีความมั่นใจว่าการเข้าทำรายการดังกล่าวจะไม่เป็นการโยกย้ายหรือถ่ายเทผลประโยชน์ระหว่างบริษัทฯ กับ
บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งแต่เป็นการทำรายการที่บริษัทฯ ได้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นทุกรายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ผู้ถือหุ้นรายย่อยเป็นสำคัญ

         อย่างไรก็ตาม การทำรายการดังกล่าวในอนาคตขึ้นอยู่กับเหตุผลและความจำเป็นของบริษัทฯ ซึ่งการรับและจ่าย
ค่าตอบแทนระหว่างกันจะต้องเป็นไปตามราคาตลาด ยุติธรรม และคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ จะเป็นผู้ให้ความ
เห็นชอบต่อการทำรายการดังกล่าว

ภาระผูกพัน               - ไม่มี -

ปัจจัยเสี่ยง
         1.   ความเสี่ยงเกี่ยวกับบริษัทฯ และธุรกิจของบริษัทฯ
              1.1     รายได้ของบริษัทฯ อาจได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากความผันผวนของเศรษฐกิจ สภาวะตลาดเงิน
และตลาดทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
                      ปัจจุบัน บริษัทฯ มีรายได้หลักจากค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และรายได้ค่าธรรมเนียม
จากธุรกิจวานิชธนกิจ โดยในปี 2545 2546 และ 2547 รายได้จากค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และรายได้
ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจวานิชธนกิจมีจำนวนรวมกันเท่ากับ 672.1 ล้านบาท 1,594.1 ล้านบาท และ 1,631.8 ล้านบาท คิดเป็น
ร้อยละ 90.3 ร้อยละ 97.6 และร้อยละ 97.8 ของรายได้รวมทั้งหมดของบริษัทฯ ตามลำดับ ซึ่งรายได้ดังกล่าวจะมีความสัมพันธ์
กับปัจจัยภายนอกหลายประการ ซึ่งรวมถึงสภาวะเศรษฐกิจ สภาวะตลาดเงินและตลาดทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ความผันผวนหรือความตกต่ำของเศรษฐกิจ ตลาดเงิน และตลาดทุนจะมีผลกระทบต่อปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาด
หลักทรัพย์ฯ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบริษัทฯ และรายได้จากค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้า
ซื้อขายหลักทรัพย์ นอกจากนี้ ความผันผวนหรือความตกต่ำของเศรษฐกิจ ตลาดเงิน และตลาดทุนยังมีผลกระทบต่อปริมาณ
การระดมทุนและการนำหลักทรัพย์เข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อ
รายได้จากธุรกิจวานิชธนกิจซึ่งประกอบด้วยค่าธรรมเนียมการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและค่าธรรมเนียมการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ 

             1.2     บริษัทฯ อาจได้รับผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ หากความร่วมมือทางธุรกิจระหว่าง
บริษัทฯ กับเมอร์ริล ลินช์มีการเปลี่ยนแปลงหรือสิ้นสุดลง
                      บริษัทฯ และเมอร์ริล ลินช์มีการให้ความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างกันภายใต้สัญญาการให้บริการทางธุรกิจ 
(Business Service Agreement) นับตั้งแต่เมอร์ริล ลินช์ ได้ตกลงขายหุ้นทั้งหมดที่ถือในบริษัทฯ ในปี 2546 โดยมีความร่วมมือ
ในการดำเนินธุรกิจด้านต่างๆ ซึ่งรวมถึงด้านนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และด้านวานิชธนกิจ ทั้งนี้ รายได้ค่าธรรมเนียมนายหน้า
ซื้อขายหลักทรัพย์ที่บริษัทฯ ได้รับจากเมอร์ริล ลินช์ในปี 2545 2546 และ 2547 คิดเป็นร้อยละ 64.0  ร้อยละ 54.9 และ ร้อยละ 
49.5  ของรายได้ค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทฯ ตามลำดับ นอกจากสัญญาการให้บริการ
ทางธุรกิจแล้ว บริษัทฯ และเมอร์ริล ลินช์ยังได้เข้าทำสัญญาความร่วมมือทางด้านงานวิจัย (Research Co-operation Agreement) 
ทั้งนี้ สัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวมีอายุ 3 ปีนับจาก วันที่ 1 ธันวาคม 2546 และจะต่ออายุโดยอัตโนมัติอีกครั้งละ 1 ปี เว้นแต่จะ
ได้มีการยกเลิกสัญญาก่อนระยะเวลาที่กำหนด 

                     การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ซึ่งทำให้สิทธิของบริษัทฯ ด้อยไปกว่าเดิมหรือการสิ้นสุดของสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าว
ข้างต้นอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ โดยอาจส่งผลให้รายได้ค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และค่าธรรมเนียม
จากธุรกิจวานิชธนกิจของบริษัทฯ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ฐานะทาง
การเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทฯ 

             1.3   การประกอบธุรกิจของบริษัทฯ ต้องพึ่งพาบุคลากรเป็นหลัก
                    ในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ บริษัทฯ ต้องพึ่งพาบุคลากรที่มีประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ 
และความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน โดยบุคลากรหลักส่วนใหญ่ของบริษัทฯ ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการ (Vice President) เป็น
ผู้มีความชำนาญ มีประสบการณ์การทำงานที่ยาวนานและทำงานร่วมกับบริษัทฯ มาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในสภาวะที่
ธุรกิจหลักทรัพย์มีการแข่งขันที่สูง และบุคลากรที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์มีอยู่อย่าง
จำกัด ทำให้เกิดการแย่งชิงบุคลากรในสายงานต่าง ๆ บริษัทฯ จึงไม่อาจรับรองว่า บุคลากรที่มีความสำคัญต่อบริษัทฯ จะยังคง
ทำงานอยู่กับบริษัทฯ ต่อไป ซึ่งหากมีการโยกย้ายของบุคลากรดังกล่าว อาจส่งผลกระทบในทางลบต่อความต่อเนื่องของธุรกิจ 
ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทฯ นอกจากนี้ การสรรหาบุคลากร
ใหม่ ๆ ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาร่วมงานกับบริษัทฯ เพื่อรองรับการขยายธุรกิจและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจ
ของบริษัทฯ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้บริษัทฯ ประสบความสำเร็จตามแผนการขยายธุรกิจและบรรลุเป้าหมายในการ
ดำเนินธุรกิจ ซึ่งบริษัทฯ ไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าบริษัทฯ จะสามารถคัดสรรบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถเพื่อเข้ามาทำงาน
ให้แก่บริษัทฯ ได้มากน้อยเพียงใด

             1.4   บริษัทฯ พึ่งพาลูกค้าจำนวนน้อยรายสำหรับธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
                     บริษัทฯ ได้ให้บริการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์แก่ลูกค้าประเภทสถาบันทั้งในและต่างประเทศ และลูกค้าบุคคล
รายใหญ่  โดยในปี 2547 บริษัทฯ มีบัญชีนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์กับลูกค้าประเภทสถาบันและลูกค้าบุคคลรายใหญ่ จำนวน
ทั้งสิ้นประมาณ 3,200 บัญชี และบริษัทฯ มีรายได้จากค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ในปี 2547 เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 
1,013.7 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 60.8 ของรายได้รวมทั้งหมดของบริษัทฯ โดย บริษัทฯ มีรายได้ค่าธรรมเนียม
นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์จากลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของบริษัทฯ ห้ารายแรกคิดเป็นจำนวน 595.4 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ
ร้อยละ 58.7 ของรายได้ค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทฯ โดยมีเมอร์ริล ลินช์ เป็นลูกค้ารายใหญ่
ที่สุด โดยค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่บริษัทฯ ได้รับจากเมอร์ริล ลินซ์ มีจำนวน 501.9 ล้านบาท หรือคิดเป็น
ประมาณร้อยละ 49.5 ของรายได้ค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทฯ 

                    แม้ว่าบริษัทฯ จะมีแผนงานในการขยายธุรกิจเพิ่มเติมในกลุ่มลูกค้าบุคคลรายย่อยรวมถึงการเปิดให้บริการนายหน้า
ซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (Internet Trading) แต่รายได้ส่วนใหญ่ของบริษัทฯ จะยังมาจากการให้บริการเป็น
นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์แก่กลุ่มลูกค้าประเภทสถาบันและลูกค้าบุคคลรายใหญ่ บริษัทฯ ไม่อาจรับรองได้ว่าลูกค้าเหล่านี้จะ
ยังคงรักษาปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ต่อไปตามปริมาณที่เคยซื้อขายมาในอดีต หรือจะยังคงใช้บริการจากบริษัทฯ ต่อไป 
ซึ่งหากลูกค้ารายหนึ่งรายใดหรือหลายรายในกลุ่มนี้มีการซื้อขายหลักทรัพย์ในปริมาณที่ลดต่ำลงกว่าปริมาณในอดีต หรือยุติ
การใช้บริการจากทางบริษัทฯ บริษัทฯ อาจได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ฐานะทางการเงิน และผลการ
ดำเนินงานของบริษัทฯ

             1.5   บริษัทฯ ประกอบธุรกิจซึ่งมีการแข่งขันสูง
                     ธุรกิจหลักทรัพย์เป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนบริษัทที่ประกอบธุรกิจ
หลักทรัพย์ โดย ณ  สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2548 มีบริษัทที่ประกอบธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และธุรกิจวานิชธนกิจจำนวน 
40 แห่ง และ 71 แห่ง ตามลำดับ ซึ่งส่งผลต่อการแข่งขันในธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และธุรกิจวานิชธนกิจซึ่งเป็นธุรกิจ
หลักของบริษัทฯ

                   ในส่วนของค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ แม้ว่า สำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีการ
เปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์จากเดิมที่เคยเปิดเสรีระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2543 ถึงวันที่ 13 
มกราคม 2545 มาเป็นการประกาศใช้อัตราค่าธรรมเนียมขั้นต่ำที่ร้อยละ 0.25 สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านเจ้าหน้าที่การ
ตลาดและร้อยละ 0.20 สำหรับการซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 13 
มกราคม 2548 และได้ขยายเวลาดังกล่าวต่อไปอีก 2 ปี สิ้นสุด วันที่ 13 มกราคม 2550 เพื่อลดการแข่งขันด้านอัตราค่าธรรม
เนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ก็ตาม บริษัทฯ ยังคงต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากคู่แข่งในด้านต่าง ๆ เช่น คู่แข่งมี
นโยบายที่จะขยายฐานลูกค้าให้กว้างมากขึ้น ซึ่งรวมถึงลูกค้าประเภทสถาบันที่เป็นลูกค้าหลักของบริษัทฯ นอกจากนี้ คู่แข่ง
ยังมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี และเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ลูกค้า ตลอดจนมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ  เพื่อ
สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่บริการของตนและตอบสนองความต้องการของลูกค้า เป็นต้น นอกจากนี้ การที่บริษัทฯ ไม่มีสาขาสำหรับ
ให้บริการการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือการที่บริษัทฯ จับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเฉพาะเจาะจง  อาจทำให้เป็นข้อจำกัด
ของบริษัทฯ ในการแข่งขันกับคู่แข่งรายอื่น สำหรับในส่วนของธุรกิจวานิชธนกิจ ก็จะมีการแข่งขันกันทั้งในด้านของบริการ
และราคาค่าธรรมเนียมที่จะคิดจากลูกค้าด้วยเช่นกัน

             1.6  บริษัทฯ ประกอบธุรกิจซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายและข้อกำหนดที่เข้มงวด รวมถึงข้อกำหนดความรับผิดในการ
ประกอบธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่งอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของบริษัทฯ
                   ธุรกิจหลักทรัพย์เป็นธุรกิจที่ถูกควบคุมโดยกฎหมายและข้อกำหนดที่เข้มงวดจากภาครัฐและหน่วยงานที่กำกับดูแล 
อันได้แก่ สำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนั้น การกำหนดหรือการปรับเปลี่ยนนโยบายและการกำกับดูแลของภาครัฐ
หรือหน่วยงานที่กำกับดูแล ย่อมมีผลกระทบต่อเป้าหมาย ความสามารถในการประกอบธุรกิจและการแข่งขันของบริษัทฯ และ
อาจส่งผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทฯ

                   นอกจากนี้ บริษัทฯ อาจจะมีความรับผิดในการดำเนินธุรกิจในด้านต่างๆ ของบริษัทฯ เช่น ความผิดพลาดในการปฏิบัติ
หน้าที่ของการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์หรือการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนในการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์
ของลูกค้า ดังนั้น บริษัทฯ ไม่สามารถรับรองได้ว่าหากบริษัทฯ ต้องรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ดังกล่าว ความรับผิดชอบ
ดังกล่าวจะไม่รุนแรง หรือบริษัทฯ จะไม่ถูกยกเลิกใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจหรือบริษัทฯ จะไม่ได้รับผลกระทบในทางลบ
อย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจและชื่อเสียงของบริษัทฯ 

             1.7     ธุรกิจของบริษัทฯ อาจได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่โดยผิดพลาดหรือโดยมิชอบของพนักงานซึ่งยากต่อ
การตรวจสอบและป้องกัน
                     ธุรกิจของบริษัทฯ เป็นธุรกิจการให้บริการที่ต้องอาศัยชื่อเสียงและความไว้วางใจจากลูกค้าในการประกอบธุรกิจซึ่ง
พนักงานของบริษัทฯ จะต้องมีการติดต่อกับลูกค้า หรือเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินหรือข้อมูลของลูกค้า ดังนั้น หากพนักงานของ
บริษัทฯ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามคำสั่งของลูกค้าหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบ ข้อบังคับ รวมถึงคู่มือการปฏิบัติงาน 
(Compliance Manual) ของบริษัทฯ หรือปฏิบัติหน้าที่เกินกว่าอำนาจหน้าที่ที่ตนมีอยู่หรือประพฤติมิชอบโดยการจัดการทรัพย์สิน
ของลูกค้าโดยมิได้รับอนุญาตหรือใช้ข้อมูลของลูกค้าโดยมิชอบ หรือดำเนินการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อลูกค้า 
บริษัทฯ อาจได้รับผลกระทบในเรื่องชื่อเสียงและความไว้วางใจจากลูกค้าและอาจรวมไปถึงการต้องรับผิดชอบชดใช้
ค่าเสียหายให้แก่ลูกค้ารายดังกล่าว นอกจากนี้ การกระทำดังกล่าวบางกรณีอาจเป็นการละเมิดกฎหมายหรือข้อกำหนดต่างๆ 
ที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจทำให้บริษัทฯ ต้องเสียค่าปรับในจำนวนที่สูงหรือถูกยกเลิกใบอนุญาต หรือถูกดำเนินคดีและอาจส่งผลกระทบ
ในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ได้

             1.8   หลักทรัพย์ที่บริษัทฯ ซื้อเพื่อบัญชีตนเองอาจมีมูลค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
                     ความผันผวนทางเศรษฐกิจหรือของสภาวะตลาด หรือผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ที่บริษัทฯ ได้
เข้าไปลงทุน อาจทำให้มูลค่าของหลักทรัพย์ดังกล่าวลดต่ำลงซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสถานะทางการเงินของบริษัทฯ 
ได้ นอกจากนี้ ในกรณีที่บริษัทฯ มีความประสงค์ที่จำหน่ายหลักทรัพย์ที่ก่อให้เกิดผลขาดทุนดังกล่าวเพื่อจำกัดผลขาดทุน แต่ไม่
สามารถจำหน่ายได้เนื่องจากสภาพคล่องในการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวในตลาดรองมีจำกัดหรือสาเหตุอื่นใด อาจทำให้
บริษัทฯ มีผลขาดทุนจากการลงทุนดังกล่าวในจำนวนที่สูงขึ้น และอาจทำให้บริษัทฯ ต้องสูญเงินลงทุนทั้งหมดในหลักทรัพย์
ดังกล่าวในกรณีที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ที่บริษัทฯ เข้าลงทุนล้มละลาย หรือเหตุการณ์อื่นใดที่บริษัทฯ ไม่สามารถคาดการณ์
หรือควบคุมได้

             1.9   การดำเนินธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ อาจต้องหยุดชะงักหากเกิดการขัดข้องของระบบงาน
คอมพิวเตอร์
                    การดำเนินธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ต้องพึ่งพาระบบคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ 
มีระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการซื้อขายหลักทรัพย์ที่สำคัญ คือ 1) ระบบ ABOS (Advanced Broker Office System) ซึ่งเป็น
ระบบที่เชื่อมกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ และดูสถานะของคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ และ 2) ระบบ
ชำระราคาสำหรับลูกค้าบุคคลรายใหญ่ (Securities Back Office Automation) หรือ SBA และระบบชำระราคาสำหรับลูกค้า
ประเภทสถาบัน (Security Settlement System) หรือ SSS ซึ่งเป็นระบบงานที่ใช้ในการชำระรายการซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่าง
ลูกค้าของบริษัทฯ และกับทางศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แม้ว่าปัจจุบัน บริษัทฯ จะมีมาตรการป้องกันความขัดข้องของระบบ
คอมพิวเตอร์ โดยมีศูนย์สำรองข้อมูล (Disaster Recovery Center) หรือ DRC แต่ระบบดังกล่าวสามารถทำคำสั่งซื้อขายให้
แล้วเสร็จได้เฉพาะคำสั่งซื้อขายที่เข้ามาในระบบของบริษัทฯ ก่อนที่จะเกิดความขัดข้องเท่านั้น 
 
                 นอกจากนี้ เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวทางธุรกิจ และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของระบบ
บริษัทฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาใช้ระบบ iFIS (Intelligent Front Office Integrated System) เพื่อใช้รองรับการซื้อขายหลักทรัพย์
แทนระบบ ABOS และพัฒนาระบบ Equity Settlement System หรือ ESS ขึ้นเพื่อใช้แทนระบบ SBA และ SSS เพื่อให้บริษัทฯ 
มีระบบชำระราคาที่เป็นระบบเดียวกันทั้งสำหรับลูกค้าบุคคลรายใหญ่และลูกค้าประเภทสถาบัน อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ไม่อาจ
รับรองได้ว่าการเปลี่ยนแปลงระบบการสั่งคำสั่งซื้อขาย และ/หรือระบบชำระราคาของบริษัทฯ ซึ่งบริษัทฯ ไม่คุ้นเคยจะไม่มี
ผลกระทบต่อธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ 

            1.10  การผิดนัดชำระราคาหรือการส่งมอบหลักทรัพย์ของลูกค้าที่ซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบริษัทฯ
                    ในการสั่งซื้อหรือสั่งขายหลักทรัพย์ของลูกค้าในด้านธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ลูกค้าจะต้องชำระเงินค่าซื้อ
หลักทรัพย์หรือส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่บริษัทฯ ในกรณีที่มีการขายหลักทรัพย์ภายใน 3 วันทำการนับถัดจากวันที่ลูกค้าซื้อหรือ
ขายหลักทรัพย์ของตน ซึ่งหากลูกค้ามิได้ชำระราคาค่าซื้อหลักทรัพย์ หรือมิได้ส่งมอบหลักทรัพย์ที่ขายให้แก่บริษัทฯ ในวันที่
กำหนดดังกล่าว บริษัทฯ ต้องชำระค่าซื้อหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ขายหลักทรัพย์ หรืออาจต้องหาหลักทรัพย์เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ที่ซื้อ
หลักทรัพย์จากลูกค้าของบริษัทฯ แทนลูกค้าของบริษัทฯ ไปก่อน แล้วจึงไล่เบี้ยจากลูกค้าของบริษัทฯ โดยในปี 2545  2546 
และ 2547 บริษัทฯ ต้องชำระราคาค่าซื้อหลักทรัพย์อันเนื่องมาจากลูกค้าชำระเงินค่าซื้อหลักทรัพย์ล่าช้าให้แก่ผู้ขายแทนลูกค้า
ของบริษัทฯ ไปก่อนเป็นจำนวน 52.9 ล้านบาท 108.5 ล้านบาท และ 161.2 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับในส่วนของการขาย
หลักทรัพย์ของลูกค้า แม้บริษัทฯ จะไม่ต้องจัดหาหลักทรัพย์เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์เนื่องจากการที่ลูกค้าส่งมอบ
หลักทรัพย์ล่าช้า บริษัทฯ ยังคงต้องชำระค่าปรับให้กับตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างไรก็ดี หากมีเหตุการณ์ที่ลูกค้าของบริษัทฯ มีการ
ผิดนัดชำระราคาค่าซื้อหลักทรัพย์ หรือผิดนัดส่งมอบหลักทรัพย์เป็นจำนวนมาก อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถของบริษัทฯ 

                  ในการดำเนินการแก้ไขดังกล่าว และอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงาน
ของบริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญได้ 

           1.11  บริษัทฯ อาจต้องเข้าซื้อหลักทรัพย์ในฐานะที่บริษัทฯ เป็นผู้รับประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ซึ่งอาจส่งผลให้
บริษัทฯ มีผลขาดทุนเป็นจำนวนมากจากการดำเนินการดังกล่าว
                    ในการประกอบธุรกิจวานิชธนกิจ ที่บริษัทฯ ทำหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ บริษัทฯ 
มีความเสี่ยงที่บริษัทฯ จะต้องรับซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือจากการจัดจำหน่ายเข้าไว้ในบัญชีของบริษัทฯ เอง และอาจทำให้บริษัทฯ 
ต้องรับรู้ผลขาดทุนหากราคาของหลักทรัพย์ดังกล่าวภายหลังจากที่หลักทรัพย์ดังกล่าวเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ 
ลดต่ำกว่าราคาที่รับประกันการจำหน่าย โดยในปี 2545 และ 2546 บริษัทฯ มีหลักทรัพย์ที่บริษัทฯ ต้องรับซื้อเข้าบัญชีของ
บริษัทฯ เองเป็นจำนวน 0.3 ล้านบาท และ 5.7 ล้านบาท ตามลำดับ อันเนื่องจากความผิดพลาดในการจัดสรรหลักทรัพย์ สำหรับ
ในปี 2547 บริษัทฯ ไม่มีหลักทรัพย์ที่เหลือจากการจัดจำหน่าย และต้องรับซื้อเข้าบัญชีของบริษัทฯ เอง อย่างไรก็ดี การที่มี
หลักทรัพย์เหลือจากการจัดจำหน่ายอาจเกิดจากสาเหตุอื่นอีกหลายประการ ซึ่งรวมถึง การผิดนัดชำระเงินค่าซื้อหลักทรัพย์ของ
ผู้จองซื้อ หรือความผันผวนของเศรษฐกิจและตลาดทุนหรือความน่าสนใจของหลักทรัพย์หรือราคาของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย
ซึ่งทำให้ไม่มีนักลงทุนจองซื้อหลักทรัพย์เต็มตามจำนวนที่ขาย เป็นต้น ซึ่งในอนาคต หากมีเหตุการณ์ที่ทำให้บริษัทฯ จะต้อง
รับซื้อหลักทรัพย์จากการรับประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ในจำนวนที่สูง อาจทำให้บริษัทฯ ประสบผลขาดทุนในจำนวนมาก
ซึ่งอาจส่งผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะทางการเงินของบริษัทฯ โดยเฉพาะอัตราส่วนเงินกองทุนสภาพคล่อง
สุทธิ และผลการดำเนินงานของบริษัทฯ

             1.12  การดำเนินงานของบริษัทฯ อยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ
                      ก่อนการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ จำนวน 32 ราย ถือหุ้นในบริษัทฯ ทั้ง
ทางตรงและทางอ้อมเป็นจำนวน 142,344,738 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 89.0 ของทุนชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ และ
ภายหลังการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ จะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของผู้บริหารและพนักงานกลุ่มดังกล่าวลดลงเหลือร้อยละ 66.7 
ของทุนชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ (ไม่รวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารและพนักงานกลุ่มดังกล่าวยังคง
สามารถที่จะควบคุมการลงมติผู้ถือหุ้นในเรื่องสำคัญต่างๆ ที่กฎหมายหรือข้อบังคับได้กำหนดให้ต้องได้รับเสียงข้างมาก
ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ดังนั้น ผู้ถือหุ้นรายอื่นอาจไม่สามารถ
รวบรวมคะแนนเสียงเพื่อถ่วงดุลกับกลุ่มผู้บริหารและพนักงานกลุ่มดังกล่าวได้

             1.13  บริษัทฯ อาจไม่สามารถเปิดให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด
หรือการดำเนินธุรกิจดังกล่าวอาจไม่ประสบความสำเร็จ
                     ในปัจจุบัน บริษัทฯ ยังไม่มีระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต อย่างไรก็ดี บริษัทฯ มีแผนที่จะ
เปิดให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตให้แก่ลูกค้าบุคคลรายย่อยภายในไตรมาส 3 ของปี 2548 โดยบริษัทฯ 
คาดว่าจะใช้เงินในการลงทุนเบื้องต้นเพื่อให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนประมาณ 10.0 ล้านบาท
ทั้งนี้ในการให้บริการดังกล่าวบริษัทฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายฐานลูกค้าและเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์
ให้แก่บริษัทฯ แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ไม่อาจรับรองว่าระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตจะแล้วเสร็จและ
สามารถเปิดให้บริการได้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ หรือเมื่อมีการให้บริการดังกล่าว และไม่สามารถรับรองได้ว่าธุรกิจ
การซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของบริษัทฯ จะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่บริษัทฯ วางไว้ เนื่องจากปัจจัย
ต่าง ๆ หลายประการ อาทิ การที่บริษัทฯ ไม่มีประสบการณ์ในการให้บริการซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ตมาก่อน การที่มีคู่แข่ง
จำนวนมาก หรือเหตุผลอื่นใด ซึ่งอาจส่งผลให้บริษัทฯ ไม่สามารถหาจำนวนลูกค้าหรือรายได้ตามที่ได้มุ่งหวัง และอาจส่งผล
กระทบต่อผลการดำเนินงานและสถานะทางการเงินของบริษัทฯ

         2.  ความเสี่ยงเกี่ยวกับการถือครองหุ้นของบริษัทฯ
             2.1   การเสนอขายหุ้นต่อกรรมการและพนักงานในราคาที่ต่ำกว่าราคาเสนอขายครั้งนี้
                     ในวันที่ 3 – 4 พฤษภาคม 2548 บริษัทฯ ได้เสนอขายหุ้นให้กับกรรมการและพนักงาน จำนวน 3.5 ล้านหุ้น คิดเป็น
ร้อยละ 1.6 ของทุนชำระแล้วของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน (ไม่รวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) ในราคาหุ้น
ละ 7.73 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยกรรมการและพนักงานของบริษัทฯ ที่ได้รับการจัดสรร
หุ้นในครั้งนี้ จะถูกห้ามนำหุ้นทั้งหมดของตนที่ได้รับการจัดสรรออกขายภายในกำหนดระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่หุ้นของ
บริษัทฯ เริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงอาจได้รับผลกระทบหากราคาหุ้นลดลงจากการที่กรรมการ
และพนักงานดังกล่าวนำหุ้นออกขาย

              2.2  การขายหุ้นของบริษัทฯ ในอนาคตโดยผู้ถือหุ้นเดิมบางรายอาจส่งผลให้ราคาหุ้นลดลง
                    ภายหลังจากการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่าจะมีหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วของบริษัทฯ จำนวน 213.5 
ล้านหุ้น (หรือ 220.0 ล้านหุ้น ภายใต้สมมุติฐานว่ามีการใช้สิทธิจัดสรรหุ้นส่วนเกินทั้งหมด) โดยผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ (ไม่
รวมผู้ถือหุ้นที่ได้รับหุ้นจากการเสนอขายหุ้นต่อกรรมการและพนักงานก่อนการเสนอขายต่อประชาชน) จะยังคงถือหุ้นรวมกัน
เป็นจำนวน 160.0 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 74.9 ของทุนชำระแล้วภายหลังการเสนอขายต่อประชาชน (ไม่รวมการจัดสรร
หุ้นส่วนเกิน) ซึ่งราคาหุ้นที่ได้มาเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาที่เสนอขายต่อประชาชน โดยหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมจำนวน 143.5 ล้านหุ้น 
หรือประมาณร้อยละ 67.2 ของทุนชำระแล้วภายหลังการเสนอขายต่อประชาชน (ไม่รวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) จะถูกห้าม
ขายภายในระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่หุ้นของบริษัทฯ เริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยจะสามารถทยอย
ขายหุ้นดังกล่าวได้ในจำนวนร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นที่ถูกห้ามขายทั้งหมดเมื่อครบกำหนดระยะเวลาทุกๆ 6 เดือนนับแต่วันที่
หุ้นของบริษัทฯ เริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ 

                   นอกจากนี้ กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมบางรายที่มิได้ถูกห้ามขายตามที่ระบุไว้ในวรรคแรกซึ่งมีการถือหุ้นรวมกันเป็นจำนวน 
16.5 ล้านหุ้น หรือประมาณร้อยละ 7.7 ของทุนชำระแล้วภายหลังการเสนอขายต่อประชาชน (ไม่รวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) 
ได้มีข้อตกลงกับผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศว่าจะไม่ทำการเสนอขาย 
โอนจำนำ หรือจำหน่ายจ่ายโอนโดยประการอื่นซึ่งหุ้นจำนวนดังกล่าวภายในระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่หุ้นของบริษัทฯ เริ่ม
ทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นเดิมดังกล่าวจะสามารถทยอยขายหุ้นที่ถูกห้ามขายได้ในจำนวนร้อยละ 50 
ของจำนวนหุ้นที่ถูกห้ามขายทั้งหมดหลังจากครบกำหนดระยะเวลาทุก ๆ 3 เดือนนับแต่วันที่หุ้นของบริษัทฯ เริ่มทำการซื้อขาย
ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนั้นผู้ลงทุนจึงอาจได้รับผลกระทบหากราคาหุ้นลดลงจากการที่ผู้ถือหุ้นตามที่ระบุไว้ในวรรคแรกและ
วรรคสองนำหุ้นออกขาย

กรณีพิพาท                            - ไม่มี -

จำนวนพนักงาน                     ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 มีพนักงานจำนวน 161 คน

ประวัติความเป็นมาโดยสรุป    
         บริษัทฯ เป็นบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำแห่งหนึ่งของประเทศซึ่งให้บริการธุรกรรมทางการเงินที่หลากหลาย เดิมบริษัทฯ 
เป็นส่วนธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ภัทรธนกิจ จำกัด (มหาชน) ต่อมาในปี 2540 รัฐบาลมีนโยบายแยกธุรกิจ
เงินทุน และธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกัน บริษัทฯ จึงได้ถูกจัดตั้งขึ้นในรูปบริษัทจำกัดเพื่อดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ ภายใต้ชื่อ 
บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2540 โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มแรกซึ่งชำระเต็มมูลค่าแล้ว จำนวน 2,500.0 
ล้านบาท และมีบริษัทเงินทุน ภัทรธนกิจ จำกัด (มหาชน) (ซึ่งมีธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่) 
ถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ 99.9 

         ในปี 2541 บริษัทเงินทุน ภัทรธนกิจ จำกัด (มหาชน) ได้ขายหุ้นของบริษัทฯ ให้แก่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 
เพื่อถือหุ้นในบริษัทฯ โดยตรงในอัตราร้อยละ 49.0 และขายหุ้นของบริษัทฯ ให้แก่เมอร์ริล ลินช์ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชั้นนำ
แห่งหนึ่งของโลก ในอัตราร้อยละ 51.0 และบริษัทฯ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ริล ลินช์ ภัทร จำกัด ต่อมาใน
เดือนธันวาคม 2546 ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และ เมอร์ริล ลินช์ ได้ตกลงขายหุ้นทั้งหมดที่ถือในบริษัทฯ  ให้แก่
กลุ่มผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ และบริษัทฯ ได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็นบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด ตามเดิม โดย
บริษัทฯ ยังคงความร่วมมือทางธุรกิจกับเมอร์ริล ลินช์ ภายใต้สัญญาการให้บริการทางธุรกิจและสัญญาร่วมมือทางด้านงาน
วิจัย เพื่อคงความเป็นพันธมิตรทางธุรกิจต่อกันภายหลังการขายหุ้นดังกล่าว

         บริษัทฯ ได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548 โดยมีบริษัท รวมพล ภัทร 
อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ป (ถือหุ้นโดยกลุ่มผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ จำนวน 32 คน) และกลุ่มผู้บริหารและ
พนักงานของบริษัทฯ ถือหุ้นในจำนวนร้อยละ 49.0 และร้อยละ 51.0 ของทุนชำระแล้วของบริษัทฯ ตามลำดับ

เงินลงทุนในบริษัทย่อย                ณ วันที่ 1 เมษายน 2548  ปรากฏดังนี้ 
                                                                                                                                   
            หน่วย: ล้านบาท 
                                     ประเภทกิจการ                                                                          มูลค่าเง
ินลงทุน 
      ชื่อบริษัท               และลักษณะธุรกิจ            ทุนชำระแล้ว       ร้อยละของหุ้นที่ถือ   (ตามราคาทุน)    

บริษัทหลักทรัพย์        ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์       25.0                        60.0                        12.10
จัดการกองทุน             ประเภทการจัดการ
ฮันท์เตอร์ส จำกัด        กองทุนส่วนบุคคล

การเพิ่ม (ลด) ทุนในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา
                                                                                                                                   
                       หน่วย: ล้านบาท 
  วัน/เดือน/ปี       ทุนที่ (ลด) เพิ่ม    หลังเพิ่ม (ลด) ทุน             หมายเหตุ/วัตถุประสงค์การใช้เงิน
28 ส.ค. 2545           (437.5)                    1,250.0                เพื่อปรับโครงสร้างเงินทุนของบริษัทฯ
                                                                                           และชำระคืนเงินลดทุนแก่ผู้ถือหุ้น
9 ธ.ค. 2546             (450.0)                       800.0                 เพื่อปรับโครงสร้างเงินทุนของบริษัทฯ 
                                                                                            และชำระคืนเงินลดทุนแก่ผู้ถือหุ้น
28 ก.พ. 2548             300.0                    1,100.0                 เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญแก่กรรมการ
                                                                                            พนักงาน ประชาชน และสำรองสำหรับ
                                                                                            การจัดสรรหุ้นส่วนเกิน

รอบระยะเวลาบัญชี               1 มกราคม – 31 ธันวาคม          

ผู้สอบบัญชี                           นางสาวรุ้งนภา  เลิศสุวรรณกุล         สำนักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด 

นายทะเบียนหุ้น                     บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด

ที่ปรึกษาทางการเงิน             บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)             

นโยบายการจ่ายเงินปันผล     
         คณะกรรมการบริษัทฯ อาจพิจารณาจ่ายเงินปันผลประจำปีของบริษัทฯ โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม
ผู้ถือหุ้น เว้นแต่เป็นการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลซึ่งคณะกรรมการบริษัทฯ มีอำนาจอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลได้ แล้วให้
รายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมคราวต่อไป ปัจจุบัน คณะกรรมการบริษัทฯ  มีนโยบายการจ่ายเงินปันผล
ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิภายหลังจากการหักทุนสำรองต่าง ๆ ทุกประเภทตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม
การจ่ายเงินปันผลดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับแผนการลงทุน ความจำเป็นและความเหมาะสมอื่น ๆ ใน
อนาคต ตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ เห็นสมควร      

บัตรส่งเสริมการลงทุน           - ไม่มี -        

จำนวนผู้ถือหุ้น                         ณ วันที่ 26 เดือนพฤษภาคม. พ.ศ.2548 ปรากฏดังนี้ 
                                                                                                    จำนวนราย              จำนวนหุ้น
       ร้อยละของทุนชำระแล้ว 
1.  ผู้ถือหุ้นสามัญที่เป็น Strategic shareholders
     1.1   รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ                                 0                           0                      
       0.00
     1.2  กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง                16                     40,386,245                18.
92
             และบุคคลที่มีความสัมพันธ์
    1.3   ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5 % โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย                  1                     78,399,997               
 36.72
    1.4   ผู้มีอำนาจควบคุม                                                                       0                            0    
                          0
    1.5  ผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงในการห้ามขายหุ้นภายในเวลาที่กำหนด/1   56                     41,333,756               19.36
2.  ผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยที่ถือไม่ต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย             3,861                    53,380,000               25.00
3.  ผู้ถือหุ้นสามัญที่ถือต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย                                     2                                   2       
              0
        รวมผู้ถือหุ้นสามัญทั้งสิ้น                                                          3,936                  213,500,000     
       100.00

/1 หมายเหตุ หมายถึงกลุ่มผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงการห้ามขายหุ้นภายในกลุ่ม นอกเหนือจากหุ้นที่ต้องนำฝาก Silent Period

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่                     ณ วันที่ 26 เดือนพฤษภาคม. พ.ศ.2548 ปรากฏดังนี้
                      ชื่อ                                                                                          จำนวนหุ้น      
ร้อยละของทุนชำระแล้ว
1. รวมพล ภัทร อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ป                                                     78,399,997                    36.72
2.  CLSA Singapore Pte.Ltd.                                                                       12,500,000                      5
.85
3. ตระกูลพงษ์พานิช                                                                                       9,079,886                 
     4.25
4. นายสุวิทย์ มาไพศาลสิน                                                                              6,305,455                    
 2.95
5. นายวีรวัฒน์ ชุติเชษฐพงศ์                                                                            6,305,455                   
  2.95
6. ดร. ศุภวุฒิ สายเชื้อ                                                                                      5,192,727             
        2.43
7. นายนรเชษฐ์ แสงรุจิ                                                                                    2,967,272                 
    1.39
8. นางพัชนี ลิ่มอภิชาต                                                                                    2,967,272                
      1.39
9. นายบุญชัย ศรีปรัชญาอนันต์                                                                        2,967,272                      
1.39
10. นายกวิน นวลแข                                                                                        2,967,272                 
    1.39
           รวม                                                                                                   129,652,608       
           60.73

ผู้ถือหุ้นต่างด้าว                    ณ วันที่ 26 เดือนพฤษภาคม. พ.ศ.2548
                                            บริษัทมีผู้ถือหุ้นต่างด้าว 21 ราย 
                                            ถือหุ้นรวมกัน 93,594,133 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 43.84 ของทุนจดชำระแล้ว
                                            หมายเหตุ  บริษัทฯ มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นต่างด้าวตามข้อบังคับของบริษ
ัทฯ 
                                                              ข้อ 11 ว่า " นับแต่วันที่บริษัทฯ ได้มีการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อป
ระชาชน
                                                              เป็นครั้งแรกเสร็จสิ้นแล้วเป็นต้นไป หุ้นที่ถือโดยคนต่างด้าวในขณะใดขณะห
นึ่ง
                                                             จะต้องมีจำนวนรวมกันไม่เกินร้อยละสี่สิบเก้า (49) ของจำนวนหุ้นสามัญที่จำ
หน่าย
                                                             ได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ การโอนหุ้นรายใดที่จะทำให้อัตราส่วนการถือหุ้น
                                                             ของคนต่างด้าวของบริษัทฯ เกินอัตราส่วนข้างต้น บริษัทฯ มีสิทธิปฏิเสธการโ
อนหุ้น
                                                             ของบริษัทฯ รายนั้นได้"

คณะกรรมการ                  ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548 คณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 11 ท่าน ดังนี้
                      รายชื่อ                                      ตำแหน่ง                                                         
        วันที่ดำรงตำแหน่ง
1.   นายบรรยง  พงษ์พานิช                ประธานกรรมการ                                                                 พฤษภาคม 2543
2.   นายสุวิทย์  มาไพศาลสิน             กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร                               17 ธันวาคม 2540
3.   นายวีรวัฒน์  ชุติเชษฐพงศ์            กรรมการ                                                                            17 กัน
ยายน 2540 
4.   ดร. ศุภวุฒิ  สายเชื้อ                      กรรมการ                                                                            
1 ธันวาคม 2546
5.   นางพัชนี  ลิ่มอภิชาต                   กรรมการ                                                                             1 ธ
ันวาคม 2546
6.   นางกุลนันท์  ซานไทโว               กรรมการ                                                                            1 ธันวาค
ม 2546
7.   นายนรเชษฐ์  แสงรุจิ                   กรรมการ                                                                             1 ตุ
ลาคม 2547
8.   นายพงษ์เทพ  ผลอนันต์               กรรมการอิสระ                                                                    1 ธันวาคม 2
546                                                        
9.   ดร. อนุมงคล  ศิริเวทิน                ประธานกรรมการตรวจสอบ                                                18 กุมภาพันธ์ 2548
10. รศ. ดร.วรากรณ์  สามโกเศศ        กรรมการตรวจสอบ                                                            18 กุมภาพันธ์ 2548
11. ศ. ดร. อุทัย  ตันละมัย                  กรรมการตรวจสอบ                                                            18 กุมภาพันธ์
 2548

คณะกรรมการตรวจสอบ       
         ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2548  เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ดังนี้
                     รายชื่อ                                                  ตำแหน่ง
1.  ดร. อนุมงคล ศิริเวทิน                                 ประธานกรรมการตรวจสอบ 
2.  รศ. ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ                        กรรมการตรวจสอบ  
3.  ศ. ดร. อุทัย ตันละมัย                                   กรรมการตรวจสอบ  
         โดยแต่งตั้งให้นางภัทรพร  มิลินทสูต  เป็นเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
 
ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบ 
         1.  สอบทานให้บริษัทฯ มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ
         2.  สอบทานให้บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในที่มีความเหมาะสมและมีประสิทธิผล
         3.  สอบทานให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ 
หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ
         4.  พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ รวมถึงพิจารณาเสนอค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี
         5.  พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯในกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทาง
ผลประโยชน์ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน
         6.  จัดทำรายงานการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ 
ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ
         7.   ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมายและคณะกรรมการตรวจสอบเห็นชอบด้วย

วาระการดำรงตำแหน่ง 
          1. ประธานกรรมการตรวจสอบ       3 ปี 
          2. กรรมการตรวจสอบ     3 ปี     
              (รวมทั้งการแต่งตั้งเพิ่มและถอดถอนจากกรรมการตรวจสอบ)

เงื่อนไขในการรับหลักทรัพย์ (ถ้ามี)           - ไม่มี -

ระยะเวลาห้ามจำหน่ายหุ้น      
         - ผู้ถือหุ้นที่มีส่วนร่วมในการบริหารงาน(Strategic shareholders) จำนวน 138,775,000 หุ้น คิดเป็น ร้อยละ 65 ของ
ทุนชำระแล้วหลังเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป ให้คำรับรองต่อ ตลาดหลักทรัพย์ว่าจะไม่นำหุ้นจำนวนดังกล่าวออก
จำหน่ายเป็นระยะเวลา1 ปี  6 เดือน นับแต่วันที่หลักทรัพย์ของบริษัทฯเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์โดยเมื่อ
ครบกำหนดระยะเวลาทุกๆ 6 เดือน ผู้ถือหุ้นดังกล่าวได้รับการผ่อนผันให้ทยอยขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่ถูกสั่งห้ามขาย
ได้ในจำนวนร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นหรือหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ถูกสั่งห้ามขาย และเมื่อครบกำหนด 1 ปี 6 เดือน
สามารถขายส่วนที่เหลือได้ทั้งหมด

การผ่อนผันของตลาดหลักทรัพย์             - ไม่มี -

อื่น ๆ ที่สำคัญ (ถ้ามี)                              - ไม่มี -

สถิติ 
                                                                 บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) 
                                         |--------------ล้านบาท --------------|------------------------ บาท/หุ้น * ----------------
--|
            ปี                           รายได้รวม         กำไร(ขาดทุน)       กำไร(ขาดทุน)        เงินปันผล         มูลค่าหุ้น     
    เงินปันผล
                                                                          สุทธิ                      สุทธิ                         
                 ตามบัญชี        ต่อกำไร(%)
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------
2545 (ตรวจสอบ)                      744.7                179.3                    0.72                     0.5                  5.5
               72.4%              
2546 (ตรวจสอบ)                   1,633.9                649.6                    2.66                     0.6                  5.9 
              21.7%
2547 (ตรวจสอบ)                   1,668.0                545.2                    3.41                     4.7                  7.7 
            137.2%
งวด 3 เดือน สิ้นสุด
 31 มีนาคม 2548                      339.9                  97.9                     0.61                      -                   
  8.3                   -
(สอบทานแล้ว)
* มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท

                                                                                    งบดุล
                                                       บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน)
                                                                                                                                   
                            (หน่วย: ล้านบาท)  
                                                                             ตรวจสอบแล้ว          ตรวจสอบแล้ว          ตรวจสอบแล้ว 
        สอบทานแล้ว    
                                                                                 เกิดขึ้นจริง                เกิดขึ้นจริง          
      เกิดขึ้นจริง            เกิดขึ้นจริง      
                                                                                        2545                       2546            
           2547              31 มีนาคม 2548    
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
------------------
สินทรัพย์
เงินสดและเงินรายการเทียบเท่าเงินสด                              575.7                  1,246.4                   1,126.6           
      835.0
เงินฝากระยะยาวในสถาบันการเงิน                                          -                           -                             - 
                   100.0
เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน-สุทธิ                   702.2                     605.1                      294.6               
 475.3
บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างบริษัทหลักทรัพย์                   4.8                     950.0                      212.6           
     507.7
ลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์                                                      157.9                     694.2                    1,2
74.6               789.4
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ                                             249.4                      249.1                      195.
2            191.7
สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน –สุทธิ                                                   13.4                         8.5                   
        8.3              7.0
สินทรัพย์อื่น                                                                         73.6                        43.8             
           70.5               69.1
รวมสินทรัพย์                                                                   1,777.0                   3,796.9                   
3,182.5          2,975.1

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างบริษัทหลักทรัพย์                  74.7                             -                       549.0      
         81.1
เจ้าหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์                                                       86.86                    1,728.7                    
 932.5           1,254.5
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย                                                                217.6                       574.6                
      436.0             271.1
หนี้สินอื่น                                                                            21.2                         58.1           
             29.4               37.3
รวมหนี้สิน                                                                         400.1                     2,361.3               
   1,946.8          1,644.0

ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว                                            1,250.0                        800.0                     800.0
             800.0
ส่วนเกินทุนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเงินลงทุน               -                            -                            2.8     
            0.5
สำรองตามกฎหมาย                                                            63.5                            71.6                     
 80.0               80.0
กำไรสะสม                                                                          63.4                        564.0                
     352.8             450.7
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น                                                        1,376.9                    1,435.6                  1,2
35.6          1,331.2

                                                                           งบกำไรขาดทุน
                                                       บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน)      
                                                                                                                                   
                          (หน่วย: ล้านบาท)  
                                                                             ตรวจสอบแล้ว          ตรวจสอบแล้ว          ตรวจสอบแล้ว 
   สอบทานแล้ว    
                                                                                 เกิดขึ้นจริง                เกิดขึ้นจริง          
   เกิดขึ้นจริง           เกิดขึ้นจริง      
                                                                                     2545                       2546               
        2547          งวด 3 เดือนสิ้นสุด
                                                                                                                                   
                                    31 มีนาคม 2548    
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
---------------
รายได้ค่านายหน้า                                                          450.2                      779.8                  1,013.7
                    302.6
ค่าธรรมเนียมและบริการ                                              221.9                      814.3                     618.1      
                12.2
กำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์                                      -19.1                         1.3                        -5.7     
                 13.1
ดอกเบี้ยและเงินปันผล                                                   35.2                       18.5                       19.2  
                      9.2
รายได้อื่น                                                                      56.5                        20.0                   
     22.7                       2.8
รวมรายได้                                                                   744.7                  1,633.9                   1,668.
0                    339.9
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมเงิน                                                   0.1                        0.0                         
 0.0                        0.0
ค่าธรรมเนียมและบริการจ่าย                                          11.3                      33.4                       209.3      
               46.7
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน                                            350.2                   566.6                       569.7    
                121.4
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคารสถานที่และอุปกรณ์                  86.5                     82.0                         59.5              
        14.5
ค่าภาษีอากร                                                                    2.8                     10.7                        
   1.7                        0.6
ค่าตอบแทนกรรมการ                                                     0.2                      0.2                           0.4    
                    0.3
โอนกลับขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ถาวร         0.0                   -27.5                           0.0                       
  -
ค่าใช้จ่ายอื่น                                                                   45.7                    58.1                      
   52.1                      15.6
รวมค่าใช้จ่าย                                                               496.8                   723.6                      892.
6                     199.0
กำไร(ขาดทุน)ก่อนภาษีเงินได้                                     247.9                   910.4                      775.5           
          140.9
ภาษีเงินได้                                                                    68.5                    260.7                      2
30.2                       43.0
กำไร(ขาดทุน)สุทธิ                                                     179.3                   649.6                       545.2    
                  97.9
กำไร(ขาดทุน)ต่อหุ้น (บาท)                                          0.72                     2.66                         3.41      
                0.61
กำไร(ขาดทุน)ต่อหุ้น (บาท)(Fully Diluted)*                0.72                     4.06                         3.41                
      0.61
จำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (พันหุ้น)**    250,000                244,328                  160,000               160,000

หมายเหตุ    *    จำนวนหุ้นสามัญ ณ สิ้นปี 2545 มีจำนวน 250.0 ล้านหุ้น และจำนวนหุ้นสามัญ ณ สิ้นปี 2546 2547 และ
                        31 มีนาคม 2548 ณ มีจำนวน 160.0 ล้านหุ้น  ทั้งนี้ มูลค่าที่ตราไว้หุ้นของหุ้นสามัญ เท่ากับ 5 บาทต่อหุ้น
                  **  จำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในปี 2545 2546 2547 และไตรมาสแรกของปี 2548  ณ มูลค่าที่ตราไว้
                        เท่ากับ 5 บาทต่อหุ้น

                                                                              งบกระแสเงินสด
                                                             บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน)      
                                                                                                                                   
                             (หน่วย: ล้านบาท)  
                                                                                      ตรวจสอบแล้ว          ตรวจสอบแล้ว        ตรวจส
อบแล้ว     สอบทานแล้ว    
                                                                                         เกิดขึ้นจริง                เกิดขึ้นจริง  
              เกิดขึ้นจริง        เกิดขึ้นจริง      
                                                                                               2545                       2546     
                 2547         31 มีนาคม 2548    
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
---------------
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน                                   530.1                   1,272.0                      610.0        
    -106.7
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน                                              9.9                       -10.4                        18.3
             184.9
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน                                    -592.4                     -590.9                     -748.0     
            -
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด(ลดลง)เพิ่มขึ้นสุทธิ           -52.4                       670.7                     -119.7          
 -291.6

จัดทำโดย                      บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

phatra-t.txt