| ||
บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน การดำเนินงานและฐานะการเงินที่ผ่านมา 1.) ภาพรวม ในไตรมาส1 ปี 2548 งบการเงินรวมของบริษัทฯได้รวมผลการดำเนินงานทั้งหมด ของโรงแรม เจดับบลิวแมริออท ภูเก็ต โรงแรม โฟร์ซีซั่น กรุงเทพ และโรงแรม อนันตรา สมุย ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายกิจการอย่างแข็งแกร่งของบริษัทฯ โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม บริษัทได้ลงทุนเพิ่มในโรงแรมราชดำริ จำกัด (มหาชน) เป็นร้อยละ 90.83 โดยการทำคำ เสนอซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดของRHC ในเดือน มกราคม 2548 นอกจากนี้ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยได้อนุมัติให้ถอนชื่อ บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จาก การเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งทำให้บริษัทสามารถรวมกับบริษัท เดอะ ไมเนอร์ฟู้ดกรุ๊ป อย่างสมบูรณ์ ในไตรมาส1 ปี 2548 ผลประกอบการของบริษัทฯเติบโตขึ้นร้อยละ 88 เมื่อเทียบ กับปีที่ผ่านมาโดยบริษัทฯมีกำไรสุทธิจำนวน 300.4 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจาก 160 ล้านบาทในปี ที่ผ่านมา โดยจำนวน 74.7 ล้านบาทเป็นกำไรที่ได้รับจากธุรกิจกลุ่มอาหาร (MFG) (ซึ่งเป็น กำไรสุทธิหลังจากปรับปรุงหักค่าความนิยม และดอกเบี้ยจ่ายเพื่อการลงทุนใน MFG ออก แล้ว) จำนวน 20.2 ล้านบาทเป็นกำไรที่ได้รับจากโรงแรมราชดำริ จำกัด (มหาชน) (ซึ่งเป็น กำไรสุทธิหลังจากหักส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยปรับปรุงด้วยการหักค่าความนิยมและ ดอกเบี้ยจ่ายเพื่อการลงทุนใน RHC ออกแล้ว) ขณะเดียวกันกำไรสุทธิจากกลุ่มโรงแรม และ บริการอื่นเป็นจำนวน 205.4 ล้านบาท การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและส่งผลต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ ในอนาคต เมื่อ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1.1) ในไตรมาส1 ปี 2548 ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มของบริษัทฯ มีการเติบโต อย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มจำนวนสาขา และการเพิ่มขึ้น ของแฟรนชายส์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยบริษัทมีสาขาเพิ่มขึ้น จากไตรมาสที่ 1 ปี 2547 จำนวน 42 สาขา รวมแฟรนชายส์ ในประเทศ 17 สาขา และเปิดแฟรนชายส์ต่างประเทศเพิ่มจำนวน 5 สาขา 1.2) ในไตรมาส1 ปี 2548 บริษัทฯเพิ่มทุนจำนวน 6.4 ล้านหุ้นมูลค่า 8.8 ล้าน บาท จากการใช้สิทธิในใบแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญจำนวน 0.5 ล้านใบ แสดงสิทธิ 1.3) ในเดือนมกราคม 2548 บริษัทฯเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท โรงแรม ราชดำริ จำกัด (มหาชน) (RHC) จากร้อยละ 57.7 เป็นร้อยละ 90.80 โดย การทำคำเสนอซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดของRHC การเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้น ดังกล่าวส่งผลให้บริษัทฯมีสัดส่วนการถือหุ้นใน บริษัทแม่ริมเทอเรส รี ซอร์ท เจ้าของ โรงแรม โฟร์ซีซั่น รีซอร์ท เชียงใหม่ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60.3 เป็น ร้อยละ 69 2.) วิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ก) ผลการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อย สำหรับไตรมาส1 ปี 2548 บริษัท มีกำไร 300.4 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเป็นจำนวน 140.4 ล้านบาท หรือ 88% ดัง รายละเอียดต่อไปนี้ 2ก.1 รายได้ 2ก.1.1) รายได้จากการขายอาหารและเครื่องดี่ม บริษัทฯ มีรายได้จากการขายอาหารและเครื่องดื่มจำนวนจำนวน 1,199 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 115.5 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ 11 โดยมี สาเหตุหลักมาจากการขยายจำนวนสาขาเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า ถึง 42 สาขา โดยมีรายได้จำแนกตามสินค้าหลักดังนี้ 1) รายได้จากการขายพิซซ่าภายใต้เครื่องหมายการค้า The Pizza Company บริษัทมีรายได้ จากการขายพิซซ่าภายใต้เครื่องหมายการค้า The Pizza Company เพิ่มขึ้น 8 % เนื่องมาจากการบริหารการตลาดที่มีประสิทธิภาพและจากความสำเร็จใน การเสนอสินค้าใหม่ ประกอบกับจำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้นเป็น 136 สาขา(รวมแฟรนชายส์) หรือเพิ่มขึ้น 9 สาขาจากไตรมาส 1 ปี 2547 ที่มี 127 สาขา 2) บริษัท สเวนเซ่นส์ (ไทย) จำกัด ผู้ให้บริการไอศกรีมพรีเมี่ยมภายใต้ เครื่องหมายการค้า Swensens บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้น 16 % เป็นผลสืบเนื่อง มาจากการเพิ่มจำนวนสาขาเป็น 113 แห่ง (รวมแฟรนชายส์) หรือเพิ่มขึ้น 17 สาขาจากไตรมาส 1 ปี 2547 ประกอบกับการเพิ่มความหลากหลายของรสชาติ ไอศกรีมและบริการที่มีคุณภาพเยี่ยมให้แก่ลูกค้าจึงทำให้จำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น ตามเป้าหมาย 3) บริษัท เอส เอล อาร์ ที จำกัด ผู้ให้บริการภัตตาคารสเต๊ก ซีฟู้ด และสลัด ภายใต้เครื่องหมายการค้า Sizzler บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้น14 % ซึ่งการขยาย ตัวของยอดขาย เป็นผลเนื่องจากการเพิ่มจำนวนสาขาเป็น 25 แห่ง หรือเพิ่มขึ้น 3 สาขาจากไตรมาส 1 ปี 2547 ประกอบกับการบริการที่มีคุณภาพเยี่ยมจึงทำให้ยัง สามารถครองใจผู้ใช้บริการ 4) บริษัท ไมเนอร์ ดีคิว จำกัด ผู้ให้บริการคิออสไอศกรีม ประเภทซอฟท์เซิร์ฟ ภายใต้เครื่องหมายการค้า Dairy Queen บริษัท มีรายได้เพิ่มขึ้น 7 %เนื่องจาก การเพิ่มจำนวนสาขาเป็น 158 สาขา หรือเพิ่มขึ้น 11 สาขาจากไตรมาส 1 ปี 2547 5) บริษัท เบอร์เกอร์ ประเทศไทย จำกัด ผู้ให้บริการร้านอาหารประเภท แฮมเบอร์เกอร์ภายใต้เครื่องหมายการค้า Burger King บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้น 6% แม้ว่าจำนวนสาขาจะลดลง 1 สาขา คงเหลือ 11 สาขาในไตรมาส 1 ปี 2548 อันเป็นผลมาจากการบริการที่มีคุณภาพเยี่ยมให้แก่ลูกค้าจึงทำให้จำนวนผู้ใช้บริการ เพิ่มขึ้นตามเป้าหมาย 6) รายได้จากการขายแฟรนชายส์ในไตรมาส 1 ปี 2548 จำนวน 28 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว 20 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ค่าสิทธิ์ในการขาย แฟรนชายส์ (Initial Franchise fee) ของพิซซ่า ที่เพิ่มขึ้น 7 ล้านบาท สเวนเซ่นส์ เพิ่มขึ้น 6 ล้านบาท รายได้ค่าสิทธิ์ในการขายแฟรนชายส์ต่างประเทศ 7 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2547 2ก.1.2) รายได้จากกิจการโรงแรม รายได้จากกิจการโรงแรม ในไตรมาส1 ปี 2548 เท่ากับ 1,164.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมาจำนวน 497.2 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น ในอัตราร้อยละ 75 โดยสาเหตุหลักมาจากการรวมผลการดำเนินงานของโรงแรม ราชดำริ จำกัด (มหาชน) เข้ากับงบการเงินรวมในไตรมาส1 ปี 2548 รวมถึง รายได้ที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากของโรงแรมทั้งหมดของบริษัทดังต่อไปนี้ โรงแรมในกลุ่มแมริออทมีผลประกอบการที่โดดเด่นโดย 1. โรงแรมเจดับบลิวแมริออทภูเก็ตในไตรมาส1 ปี 2548 มีรายได้ 174 ล้านบาทลดลงจาก 199.5 ล้านบาทในไตรมาส1ปีที่ผ่านมาหรือ ลดลงในอัตราร้อยละ 15 เนื่องมาจากผลกระทบจากเหตุการณ์คลื่น ยักษ์สึนามิในปลายปี 2547ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวลดลงเป็นอย่าง มาก แต่อย่างไรก็ตามทางโรงแรมยังคงรักษาการเพิ่มขึ้นของราคา ห้องพักเฉลี่ยโดยเพิ่มขึ้นเป็น 6,047 บาทต่อคืนในไตรมาส1 ปี 2548 จาก 5,503 บาทต่อคืนในไตรมาส1 ปี 2547ในขณะที่อัตรา การเข้าพักลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 79.2 ในไตรมาส1 ปี 2547 เป็นร้อยละ 78.5 ในไตรมาส1 ปี 2548 และนอกจากนี้ในไตรมาส1 ปี 2548 บริษัทฯ ได้รวมรายได้ดังกล่าวทั้งหมดเต็มจำนวนในงบ การเงินรวม เนื่องจากบริษัทฯได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็นร้อยละ 100 ในขณะที่ไตรมาส1 ปี 2547 บริษัทแสดงรายได้ในงบการเงิน รวมเพียง ร้อยละ 50 เท่านั้น 2. โรงแรมกรุงเทพ แมริออท รีซอร์ทแอนด์สปา มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 248 ล้านบาทในไตรมาส1 ปี 2548 จาก 207 ล้านบาทในไตรมาส1 ปีที่ผ่านมาหรือเพิ่มขึ้น อัตราร้อยละ 20 เนื่องมาจากอัตราการเข้า พักเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 86.8 จาก ร้อยละ 80.3 และราคาห้องพัก เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 3,557 บาทต่อคืนจาก 3,141 บาทต่อคืน 3. โรงแรมหัวหินแมริออท รีซอร์ท แอนด์สปา มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 101.2 ล้านบาทในไตรมาส1 ปี 2548 จาก 83.9 ล้านบาทในไตร มาส1ปีที่ผ่านมาหรือเพิ่มขึ้นอัตราร้อยละ 21 เนื่องมาจากอัตราการ เข้าพักเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 93.2 จาก ร้อยละ 78.6 และราคาห้องพัก เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 3,850 บาท ต่อคืน จาก 3,753 บาทต่อคืน 4. โรงแรมพัทยาแมริออท รีซอร์ท แอนด์สปา มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 125.8 ล้านบาทในไตรมาส1 ปี 2548 จาก 110.2 ล้านบาทในไตร มาส1ปีที่ผ่านมา หรือเพิ่มขึ้นอัตราร้อยละ 14.1 เนื่องมาจากราคา ห้องพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 3,266 บาท ต่อคืน จาก 2,982 บาทต่อคืน และอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 87.4 ในไตรมาส1 ปี 2548 จากร้อยละ 76.4ในไตรมาส1ปีที่ผ่านมา โรงแรมในกลุ่มอนันตราก็มีผลประกอบการที่โดดเด่นดังนี้ 5. โรงแรมอนันตรา รีสอร์ท แอนด์สปา หัวหิน มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 98.2 ล้านบาทในไตรมาส1 ปี 2548 จาก 70.3 ล้านบาทในไตรมาส 1ปีที่ผ่านมาหรือเพิ่มขึ้นอัตราร้อยละ 40 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของ อัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 86.1 ในไตรมาส1 ปี 2548จาก ร้อยละ 62.2 ในไตรมาส1ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ราคาห้องพักเฉลี่ย เพิ่มขึ้นเป็น 4,641 บาทต่อคืนในไตรมาส1 ปี 2548 จาก 4,487 บาท ต่อคืนในไตรมาส1ปีที่ผ่านมา 6. โรงแรมอนันตรา โกลเด้นแทรแองเกิ้ล มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 41.1 ล้านบาทในไตรมาส1 ปี 2548 จาก 21.9 ล้านบาทในไตรมาส1ปีที่ ผ่านมาหรือเพิ่มขึ้นอัตราร้อยละ 87.2 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของ อัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50.7 ในไตรมาส1 ปี 2548จาก ร้อยละ 31.2 ในไตรมาส1ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ราคาห้องพักเฉลี่ย เพิ่มขึ้นเป็น 5,163 บาทต่อคืนในไตรมาส1 ปี 2548 จาก 4,271 บาท ต่อคืนในไตรมาส1ปีที่ผ่านมา โรงแรมในกลุ่มโฟร์ซีซั่นก็มีผลประกอบการที่ดีเช่นกันดังรายละเอียดต่อไปนี้ 7. โรงแรมโฟร์ซีซั่น รีสอร์ท เชียงใหม่ในไตรมาส1 ปี 2548 มีรายได้ เพิ่มขึ้นเป็น 113.4 ล้านบาทจาก 87.1 ล้านบาทในไตรมาส1ปีที่ผ่าน มาหรือเพิ่มขึ้นอัตราร้อยละ 30 เนื่องมาจากอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 66.5 ในไตรมาส1 ปี 2548จาก ร้อยละ 56.8 ในไตรมาส 1ปีที่ผ่านมา และราคาห้องพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 13,256 บาทต่อคืน ในไตรมาส1 ปี 2548 จาก 12,011 บาทต่อคืนในไตรมาส1ปีที่ผ่านมา 8. บริษัทได้รวมรายได้ของโรงแรมโฟร์ซีซั่น กรุงเทพฯในไตรมาส1 ปี 2548 เข้ากับงบการเงินรวมของบริษัทจำนวน 229.6 ล้านบาท ซึ่งโรงแรมโฟร์ซีซั่น กรุงเทพฯ มีราคาห้องพักเฉลี่ย 5,488 บาทใน ไตรมาส1 ปี 2548 เพิ่มขึ้นจาก 4,921 บาทในไตรมาส1ปีที่ผ่านมา 2ก.1.3) รายได้จากกิจการสปา บริษัทฯ มีรายได้จากกิจการสปาในไตรมาส1 ปี 2548 เท่ากับ 69.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นอัตราร้อยละ 1 จากไตรมาส1 ปีที่ผ่านมา รายได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าปีที่ผ่านมาเนื่องมาจากผลกระทบจาก เหตุการณ์สึนามิซึ่งทำให้รายได้ของสถานบริการที่ภูเก็ตลดลง แต่รายได้จากสถาน บริการในประเทศจีนเพิ่มสูงขึ้นมากจากไตรมาส1ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามบริษัทฯ คาดว่ารายได้ของสถานบริการที่ภูเก็ตจะกลับมาดังเดิมในระยะเวลาอันใกล้นี้ 2ก.1.4) รายได้จากการให้เช่าศูนย์การค้า รายได้จากการให้เช่าศูนย์การค้าสุทธิในไตรมาส1 ปี 2548 เท่ากับ 90.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 14.7 จากไตรมาส1ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการขยายพื้นที่เช่า และ การเปิด ดำเนินการในส่วนที่ปรับปรุงใหม่จำนวนรวมทั้งสิ้น 6,070 ตารางเมตร 2ก.1.5) รายได้จากกิจการบันเทิง รายได้จากกิจการบันเทิงในไตรมาส1 ปี 2548 เท่ากับ 21.8 ล้าน บาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส1ปีที่แล้ว จำนวน 8 ล้านบาท เนื่องจากการเปิด ให้บริการในส่วนที่ปิดปรับปรุงโดยเฉพาะ โกดังสยองขวัญ (Haunted Adventure) และ มหัศจรรย์เขาวงกต (Infinity Mazy) ซึ่งได้รับความ สนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก 2ก.1.6) รายได้อื่น ในไตรมาส1 ปี 2548 บริษัทฯ มีรายได้อื่นๆที่นอกเหนือจากรายได้ จากธุรกิจหลักจำนวน 90.5 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว เพิ่มขึ้น 11.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 15 โดยส่วนใหญ่มา จากรายได้จากการขายแฟรนไชส์จำนวน 19.8 ล้านบาท และรายได้จาก การขายของที่ระลึกและบัตรกำนัลของบริษัทเดอะไมเนอร์ฟู้ดกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 2ก.2) ค่าใช้จ่าย 2ก.2.1) บริษัทฯ และบริษัทย่อยสำหรับไตรมาส1 ปี 2548 มีต้นทุนขายและการ ให้บริการรวมจำนวน 845.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 193.4 ล้านบาท หรือคิด เป็นอัตราร้อยละ 30 จากไตรมาส1ปีที่ผ่านมาโดยมีรายละเอียดที่สำคัญ แยกตามธุรกิจดังนี้ 1. ต้นทุนอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 47.4 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น อัตราร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับไตรมาส1 ปี 2547 วิเคราะห์เป็นร้อย ละจากยอดขายจะพบว่าต้นทุนขายของบริษัทเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 36.7 ของยอดขายในไตรมาส 1 ปี 2547 เป็นร้อยละ 37.1 หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ของยอดขาย เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัว สูงขึ้น 2. ต้นทุนส่วนของโรงแรมเพิ่มขึ้น 139.8 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นอัตรา ร้อยละ 68 เมื่อเทียบกับไตรมาส1 ปี 2547 ซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราน้อย กว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้ซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 75 แสดงให้เห็นถึงการบริหารและการจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ ของบริษัทฯ 3. ต้นทุนการให้เช่าศูนย์การค้าเพิ่มขึ้น 2.8 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นอัตรา ร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับไตรมาส1 ปี 2547 เนื่องจากการเปิด ดำเนินการพื้นที่ส่วนที่ปรับปรุงใหม่ซึ่งมีพื้นที่เพิ่มขึ้น 4. ต้นทุนกิจการสปาเพิ่มขึ้น 2.9 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นอัตราร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับไตรมาส1 ปี 2547 จากการที่บริษัทได้เปิดสถาน บริการ สปา ใหม่ 3 แห่งในปลายปี 2547 และต้นปี 2548 ซึ่งจะมี ค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงาน 2ก.2.2) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบริหาร ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบริหารของบริษัทฯ และบริษัทย่อย สำหรับไตรมาส1 ปี 2548 มีจำนวน 1,016.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 189 ล้าน บาทจากไตรมาส1ปีที่ผ่านมาหรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 23 การเพิ่มขึ้น ดังกล่าวเป็นผลมาจาก 1. การรวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบริหารของโรงแรมราชดำริ จำกัด (มหาชน) ของไตรมาส1 ปี 2548 จำนวน 68.6 ล้านบาทในงบ การเงินรวมของบริษัทฯ 2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบริหารของบริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ของไตรมาส1 ปี 2548 เพิ่มขึ้นจำนวน 45.4 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 สาเหตุหลักเนื่องมาจาก * การเพิ่มขึ้นของต้นทุนที่สัมพันธ์กับการเพิ่มจำนวนสาขา เช่นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ค่าเช่าร้าน และค่าเสื่อมราคาเป็นต้น * ค่าใช้จ่ายเพื่อการตลาดที่เพิ่มขึ้นเนื่องมาจากการแข่งขันที่สูง 3. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบริหารส่วนอื่น (นอกจาก RHC และ MFG) เพิ่มขึ้น 75 ล้านบาทจากไตรมาส1 ปีที่ผ่านมาเนื่องมาจากสาเหตุหลักดังนี้ * ค่าใช้จ่ายทางด้านบริหารงานและการตลาดที่เพิ่มขึ้นจำนวน 64.8 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับยอดขายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายของโรงแรม สมุย อนันตรา รีซอร์ท แอนด์ สปาที่เปิดดำเนินการในไตรมาส4ของปี2547 และบริษัทฯได้รวมค่าใช้จ่ายทางการขาย และบริหารของ บริษัทรอยัลการ์เด้นท์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เต็มจำนวนในไตรมาส1 ปี 2548 * ค่าใช้จ่ายทางการขายและบริหารรวมถึงค่าใช้จ่ายเนื่องมาจากการเปิดกิจการสปา เพิ่มขึ้น 4 ล้านบาท * ค่าเช่าที่ดินเพิ่มขึ้น 6.2 ล้านบาทซึ่งสอดคล้องกับยอดขายที่เพิ่มขึ้น 2ก.2.3) ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายของบริษัทฯ และบริษัทย่อยสำหรับไตร มาส1 ปี 2548 มีจำนวน 280.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 59 ล้านบาทจากไตร มาส1ปีที่ผ่านมาเนื่องมาจาก 1. ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายของบริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ลดลงจำนวน 3.4 ล้านบาท 2. ค่าเสื่อมราคาที่เพิ่มขึ้นจากส่วนปรับปรุงอาคารเครื่องตกแต่งและ ติดตั้งจากส่วนกิจการโรงแรมและศูนย์การค้า จำนวน 11.4 ล้านบาท 3. การรวมค่าเสื่อมราคาของ โรงแรม โฟร์ซีซั่น กรุงเทพฯ จำนวน26.6 ล้านบาท 4. ค่าตัดจำหน่ายค่าความนิยมจากการซื้อเงินลงทุนในบริษัทโรงแรม ราชดำริ จำกัด (มหาชน) เพิ่มขึ้นจำนวน 7.3 ล้านบาท 5. ค่าเสื่อมราคาของโรงแรมเจดับบลิวแมริออทภูเก็ตเพิ่มขึ้น 17.1 ล้าน บาทเนื่องจากการรวมค่าเสื่อมราคาเต็มจำนวน (จากการเพิ่มสัดส่วน การถือหุ้นเป็นร้อยละ 100 ตั้งแต่ตุลาคม 2547) ในขณะที่ปี 2547 บริษัทแสดงค่าเสื่อมราคาในงบการเงินรวมเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น 2ก.2.4) ดอกเบี้ยจ่าย ดอกเบี้ยจ่ายของบริษัทฯ และบริษัทย่อยสำหรับไตรมาส1 ปี 2548 มี จำนวน 68.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.7 ล้านบาท จากปีก่อนเนื่องจาก ดอกเบี้ยจ่ายของบริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ลดลง จำนวน 2 ล้านบาท การรวมดอกเบี้ยจ่ายของโรงแรมโฟร์ซีซั่นกรุงเทพฯ จำนวน 1.4 ล้านบาท และดอกเบี้ยจ่ายของบริษัทในกลุ่มธุรกิจโรงแรม และธุรกิจอื่นๆ เพิ่มขึ้นจำนวน 16.6 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้น ของเงินกู้ระยะยาวเพื่อการลงทุนในบริษัทย่อย (บริษัท รอยัลการ์เด้นท์ ดีเวลลอปเม้นท์ , บริษัท มันดาราสปา (ไทยแลนด์), บริษัท มัน ดาราสปา เวนเจอร์, บริษัท สมุย รีสอร์ท, และ โรงแรม ราชดำริ จำกัด (มหาชน) ในไตรมาส1 ปี 2548 บริษัทมีรายได้รวม 2,635.9 ล้านบาทเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 32 และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น กำไรสุทธิ 300.4 ล้านบาทเพิ่มขึ้น ในอัตราร้อยละ 88 และกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 0.13 บาทต่อหุ้น หรือเพิ่มขึ้นในอัตราร้อย ละ 86 จากไตรมาส1 ปี 2547 3)การวิเคราะห์ฐานะทางการเงิน ณ. วันที่ 31 มีนาคม 2548 3.1) สินทรัพย์ บริษัทและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวม 13,964 ล้านบาท ลดลงจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 จำนวน 135 ล้านบาท หรือ ลดลงในอัตราร้อยละ 1 โดยมีสาระสำคัญดังนี้ * เงินสดลดลง 188 ล้านบาท โดยเงินสดของบริษัทเดอะไมเนอร์ฟู้ดกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ลดลงจำนวน 223 ล้านบาท เงินสดของกลุ่มโรงแรมลดลง จำนวน 14 ล้านบาท และเงินสด ของโรงแรม โฟร์ซีซั่น กรุงเทพฯเพิ่มขึ้น จำนวน 49 ล้านบาท * เงินลงทุนระยะสั้น และลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น 23.4 ล้านบาท * ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์สุทธิ ลดลง 78.8 ล้านบาทเนื่องจากการปรับปรุงโรงแรม และศูนย์การค้า จำนวน 88 ล้านบาท และจากการปรับปรุงร้านและขยายร้านของกลุ่ม MFG จำนวน 127 ล้านบาท โดยมีการลดลงจากการตัดค่าเสื่อมราคา และตัดจำหน่ายทรัพย์สินจำนวน 294 ล้านบาท * สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible asset) เพิ่มขึ้น 56 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากค่าความ นิยมจากการซื้อเงินลงทุนในบริษัท โรงแรมราชดำริ จำกัด (มหาชน) จำนวน 62 ล้านบาท โดยมี การลดลงจากการตัดจำหน่าย สินทรัพย์ไม่มีตัวตน จำนวน 6 ล้านบาท * เงินมัดจำเพื่อซื้อที่ดินเพิ่มขึ้นจำนวน 50 ล้านบาท 3.2) หนี้สิน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548 บริษัทและบริษัทย่อยมีหนี้สินรวม 8,600 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 จำนวน 176 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นอัตราร้อยละ 2 โดยมีสาระสำคัญดังนี้ * เจ้าหนี้การค้า ลดลงจำนวน 26 ล้านบาท * เงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะยาวเพิ่มขึ้นสุทธิ 285 ล้านบาท เนื่องจากเงินกู้ยืมเพื่อซื้อเงินลงทุนในบริษัท โรงแรมราชดำริจำกัด (มหาชน) * ลดลงจากการจ่ายคืนหุ้นกู้จำนวน 106 ล้านบาท 3.3) ส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548 ลดลงจากณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 จำนวน 311 ล้านบาท หรืออัตราร้อยละ 5 เนื่องมาจาก * กำไรสุทธิจากผลการดำเนินงานของไตรมาส1 ปี 2548 ก่อน แบ่งให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยจำนวน 322 ล้านบาท * การเพิ่มขึ้นของทุนที่ชำระแล้วจำนวน 6.4 ล้านบาท จากการ ออกหุ้นสามัญจำนวน 8.8 ล้านบาทโดยการออกหุ้นสามัญ จำนวน 6.4 ล้านหุ้นโดยมีผู้มาใช้สิทธิจากใบแสดงสิทธิซื้อหุ้น สามัญ จำนวน 0.5 ล้านใบแสดงสิทธิ * ส่วนเกินทุนจากการตีมูลค่ายุติธรรมในเงินลงทุนใน หลักทรัพย์เผื่อขายเพิ่มขึ้น 2.1 ล้านบาท * การลดลงของส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยจำนวน 643 ล้าน บาทเนื่องจากการลงทุนเพิ่มในบริษัทโรงแรมราชดำริ จำกัด (มหาชน) งบกระแสเงินสด ในไตรมาส 1 ปี 2548 บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้มาและใช้ไปในกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ * มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานสุทธิจำนวน 503 ล้านบาท จากรายการสำคัญๆดังนี้ - เพิ่มขึ้นจำนวน 300.4 ล้านบาทจากกำไรสุทธิของผลการดำเนินงาน ในไตรมาส 1 ปี 2548 - ค่าเสื่อมราคา และ ค่าตัดจำหน่าย จำนวน 280 ล้านบาท และจาก การปรับปรุงรายการที่มิใช่เงินสดอื่นๆ จำนวน 27.4 ล้านบาท - จากการเพิ่มขึ้นของลูกหนี้การค้า 22 ล้านบาท - จากการลดลงของเจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย และหนี้สินหมุนเวียนอื่น 88 ล้านบาท * กระแสเงินสดใช้ไปในกิจกรรมลงทุน จำนวน 847 ล้านบาท โดยมีรายการที่สำคัญๆ ดังนี้ - เงินสดใช้ไปในการขยายงานเพื่อปรับปรุงโรงแรม ซื้อที่ดิน อาคาร และ โครงการระหว่างการพัฒนา 198 ล้านบาท (จากโครงการสมุยอนันตรา โครงการสมุยโฟร์ ซีซั่น โครงการเต้นท์แค้มป์ ที่จังหวัดเชียงราย และค่าบำรุงและซ่อมแซมตามปกติของ โรงแรมอื่นๆ จำนวน 110 ล้านบาท และจากการปรับปรุงและขยายร้านของธุรกิจกลุ่ม อาหารจำนวน 88 ล้านบาท) - เงินสดจ่ายเพื่อซื้อเงินลงทุนเพิ่มใน บริษัท โรงแรมราชดำริ จำกัด (มหาชน) จำนวน 705 ล้านบาท - เงินสดจากการรับชำระหนี้เงินให้กู้ยืมและลูกหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 53 ล้านบาท * กระแสเงินสดได้มาจากกิจกรรมจัดหาเงินจำนวน 159 ล้านบาท มีรายการที่สำคัญๆดังนี้ - เงินสดรับจากการออกหุ้นสามัญโดยมีผู้มาใช้สิทธิจากใบแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ จำนวน 8.8 ล้านบาท - เงินสดรับจากเงินกู้ระยะยาวจำนวน 684.6 ล้านบาท - เงินสดจ่ายชำระคืนเงินกู้ระยะสั้น ระยะยาว และหุ้นกู้ สุทธิ จำนวน 502.6 ล้านบาท - จ่ายชำระเจ้าหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องกันจำนวน 27.7 ล้านบาท * ในไตรมาส 1 ปี 2548 กระแสเงินสดลดลงสุทธิ 184.9 ล้านบาท ตารางสรุปอัตราส่วนทางการเงิน 31 มี.ค. 2548 31 ธ.ค. 2547 ความสามารถในการดำรงสภาพคล่อง สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน (เท่า) 0.77 0.70 31 มี.ค. 2548 31 มี.ค. 2547 ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (วัน) 16 12 31 มี.ค. 2548 31 มี.ค. 2547 ความสามารถในการทำกำไร อัตรากำไรขั้นต้น (%) 66.8% 65.9% อัตรากำไรสุทธิ (%) 11.3% 8.0% อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (%) 5.4% 3.6% 31 มี.ค. 2548 31 มี.ค. 2547 ความมีประสิทธิผลของการใช้สินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (%) 2.1% 1.4% 31 มี.ค. 2548 31 มี.ค. 2547 นโยบายทางการเงิน อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (เท่า) 9.3 11.3 31 มี.ค. 2548 31 ธ.ค. 2547 อัตราส่วนหนี้สินรวม /ส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 1.60 1.48 อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิ/ส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 1.23 1.13 การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ในไตรมาส1 ปี 2548 บริษัทมีสภาพคล่องที่ดีขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนหมุนเวียน ซึ่งเป็นผลมาจากการลดลงของเจ้าหนี้การค้า และเงินกู้ยืมระยะสั้น จะเห็นได้ว่ายอดขาย ส่วนธุรกิจโรงแรมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากจากการวมงบการเงินของ โรงแรมราชดำริ จำกัด (มหาชน) ในงบการเงินรวม และรวมยอดขายเต็มจำนวนของ บริษัท รอยัลการ์เด้นท์ ดีเวลล อปเม้นท์ ในไตรมาส 1 ปี 2548 ซึ่งเป็นผลให้ระยะเวลาเรียกเก็บหนี้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ บริษัทมีอัตราการทำกำไรที่ดีขึ้นจากไตรมาส1ปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะอัตรากำไรสุทธิและ ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นซึ่งเพิ่มจากเดิมเป็นอย่างมากเป็นผลจากการที่บริษัทฯเพิ่มสัดส่วน การลงทุนในโรงแรมราดำริ และโรงแรมเจดับบลิวแมริออทภูเก็ต ซึ่งธุรกิจโรงแรมสามารถ ให้ผลตอบแทนในอัตราที่สูง แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีความสามารถในการทำกำไรจากการ ลงทุนที่มีประสิทธิภาพภายใต้โครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสมจึงสามารถสร้าง ผลตอบแทนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์เพิ่มขึ้นถึงแม้ว่า ประสิทธิผลของการใช้สินทรัพย์ยังไม่ได้แสดงผลที่แท้จริงเนื่องจากบริษัทฯมีการลงทุนใน โครงการต่างๆอย่างต่อเนื่องแต่อย่างไรก็ตามผลตอบแทนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นในอนาคตจาก การรับรู้ผลการดำเนินงานอย่างเต็มที่ของโรงแรมที่เปิดใหม่ นอกจากนี้อัตราความสามารถ ในการชำระหนี้ของบริษัทฯลดลง และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น เล็กน้อยเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของเงินกู้ระยะยาวเพื่อลงทุนเพิ่มในบริษัทมันดาราสปา (ไทยแลนด์) บริษัทมันดาราสปา เวนเจอร์ และ 2 โรงแรมดังกล่าวข้างต้น ลงชื่อ _________________________ วิลเลียม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค กรรมการ |