| ||
ComSec.40/2548 วันที่ 28 เมษายน 2548 เรื่อง นำส่งความเห็นของกิจการเกี่ยวกับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ โดยธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน จำกัด (มหาชน) เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สิ่งที่ส่งมาด้วย ความเห็นของกิจการเกี่ยวกับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดนครธน จำกัด (มหาชน) ("แบบ 250-2") ตามที่ธนาคารสแตนดาร์ดนครธน จำกัด (มหาชน) ("กิจการ") ได้รับสำเนาคำเสนอซื้อหลัก ทรัพย์ของกิจการจากธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ("ผู้ทำคำเสนอซื้อ") เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2548 เพื่อเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์ กิจการได้พิจารณาข้อเสนอในคำเสนอซื้อ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์แล้ว จึง ได้จัดทำความเห็นของกิจการเกี่ยวกับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามแบบ 250-2 และขอนำส่งเอกสารดัง กล่าว (ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย) เพื่อโปรดทราบและเผยแพร่ให้แก่ผู้ถือหุ้นต่อไป ขอแสดงความนับถือ (นางแอนมารี เดอร์บิน) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ----------------------------------------------------------------- แบบ 250-2 ความเห็นของกิจการเกี่ยวกับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ โดย ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน จำกัด (มหาชน) วันที่ 22 เมษายน 2548 เรียน ผู้ถือหลักทรัพย์ของ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน จำกัด (มหาชน) เนื่องด้วยเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2548 ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน จำกัด (มหาชน) (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "SCNB" หรือ "กิจการ") ได้รับสำเนาคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการจาก ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ("ผู้ทำคำเสนอซื้อ"หรือ "SCB") ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ ประเภทหลัก ทรัพย์ จำนวนหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อ หลักทรัพย์ที่เสนอซื้อคิดเป็นร้อยละ ราคาที่จะ เสนอซื้อต่อ หน่วย มูลค่าที่ เสนอซื้อ (บาท) หุ้น/หน่วย สิทธิออกเสียง ของจำนวนหลักทรัพย์ ที่จำหน่ายได้แล้วทั้ง หมดของกิจการ ของจำนวนสิทธิ ออกเสียงทั้ง หมดของกิจการ หุ้นสามัญ 202,625 202,625 0.03 0.03 22.00 4,457,750 หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพ หลักทรัพย์อื่น (ถ้ามี) รวม 0.03 รวม 4,457,750 โดยมีระยะเวลารับซื้อ 25 วันทำการ เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2548 ถึงวันที่ 27 พฤษภาคม 2548 ในช่วงเวลาทำการคือ 9.00 น. ถึง 16.30 น. กิจการได้พิจารณาข้อเสนอในคำเสนอซื้อโดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์แล้ว ขอเสนอ ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาดังนี้ 1. สถานภาพของกิจการเกี่ยวกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตพร้อม ข้อสมมติฐานที่ใช้ในการคาดการณ์ สถานภาพของกิจการ SCNB ก่อตั้งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2476 ภายใต้ชื่อ ธนาคารหวั่งหลี และได้เข้าจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2526 และในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2536 กิจการได้ทำ การเปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารนครธน ต่อมาในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2542 ผู้ทำคำเสนอซื้อเข้ามา เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารนครธน โดยซื้อหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 74.99 ของจำนวนหุ้นที่จดทะเบียน และเรียกชำระแล้ว จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฟื้นฟูฯ) และได้ เปลี่ยนชื่อกิจการเป็น ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน จำกัด (มหาชน) ต่อมาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2548 ผู้ทำคำเสนอซื้อได้ซื้อหุ้นของกิจการในส่วนที่ถือโดยกองทุนฟื้นฟูฯทั้งหมด ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้น ในกิจการเป็นร้อยละ 99.97 ปัจจุบันSCNB มีสำนักงานสาขา 41 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งให้บริการด้านธนาคารโดยให้บริการ 2 ประเภทหลักได้แก่ บุคคลธนกิจ (Consumer Banking) เป็นธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของ SCNB ซึ่งให้บริการที่หลากหลายแก่ลูกค้า รายย่อย ประกอบด้วย บริการเงินฝาก สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต สินเชื่อผ่อน ชำระส่วนบุคคล บริการด้านการลงทุนและการทำประกันภัย และการบริหารทรัพย์สิน นอกจากนี้บุคคลธนกิจ ยังพร้อมให้บริการแก่ลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและย่อมด้วย สถาบันธนกิจ (Wholesale Banking) จะประกอบไปด้วยบริการด้านการบริหารเงินสด การรับฝาก หลักทรัพย์ บริการด้านสินเชื่อธุรกิจ บริการการค้าต่างประเทศ บริการด้านการเงิน บริการด้านบริหาร ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและอัตราดอกเบี้ย และบริการด้านการลงทุนใน ตราสารหนี้ สรุปฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2544-2547 หน่วย : ล้านบาท 2544 2545 2546 2547 สินทรัพย์รวม 69,920 62,589 61,684 63,643 เงินให้สินเชื่อรวม (รวมสินทรัพย์ตาม สัญญาจัดการเงินให้กู้ยืม) 62,074 59,613 57,980 48,542 เงินฝากรวม 57,650 51,571 46,156 46,396 หนี้สินรวม 66,733 58,974 57,346 58,566 ส่วนของผู้ถือหุ้น 3,186 3,615 4,339 5,078 ทุนที่ออกจำหน่ายและเรียกชำระแล้ว 7,003 7,003 7,003 7,003 รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผล 3,896 4,510 4,195 4,913 ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย 1,907 1,481 944 665 บัญชีหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ 647 672 644 1,152 รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย 1,113 1,046 1,041 1,406 ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ย 3,191 2,959 2,928 3,738 กำไรสุทธิ (736) 445 721 764 กำไรสุทธิต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (บาท) (1.05) 0.64 1.03 1.09 มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (บาท) 4.5 5.16 6.19 7.25 สำหรับในปี 2547 กิจการมีรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลเท่ากับ 4,913 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2546 เท่ากับ 718 ล้านบาท รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลประกอบด้วยรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อเป็น หลักซึ่งเป็นสัดส่วนร้อยละ 94 ของรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลทั้งหมดเทียบกับปี 2546 ที่สัดส่วนร้อยละ 90 รายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อเพิ่มขึ้น 871 ล้านบาท จาก 3,757 ล้านบาทในปี 2546 เป็น 4,628 ล้านบาทในปี 2547 อันเนื่องมาจากการขยายตัวของการให้สินเชื่อบุคคลธนกิจ ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยประกอบด้วยดอกเบี้ยจากเงินฝากเป็นหลักซึ่งเป็นสัดส่วนร้อยละ 77 จากค่าใช้จ่าย ดอกเบี้ยทั้งหมดในปี 2547 เทียบกับปี 2546 ที่สัดส่วนร้อยละ 86 ดอกเบี้ยเงินฝากลดลง 299 ล้านบาท จาก 814 ล้านบาทในปี 2546 เป็น 515 ล้านบาทในปี 2547 เป็นผลจากการลดลงของ อัตราดอกเบี้ยในตลาดกิจการมีการตั้งบัญชีหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญเท่ากับ 1,152 ล้านบาทในปี 2547 เพิ่มขึ้น 508 ล้านบาทจากปี 2546 อันเนื่องมาจากการตั้งสำรองตามการขยายตัวของสินเชื่อรายย่อย และผลกระทบจากการกลับบัญชีของหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญในปี 2546 ซึ่งรายการดังกล่าวนี้ไม่ได้ เป็นรายการที่เกิดขึ้นประจำ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในปี 2547 เพิ่มขึ้น 365 ล้านบาทหรือร้อยละ 35 จาก 1,041 ล้านบาทในปี 2546 เป็น 1,406 ล้านบาทในปี 2547 เนื่องจากกำไรจากการขายสินทรัพย์ และรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากค่า ธรรมเนียมของสินเชื่อบุคคลธนกิจ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 ของรายได้ทั้งหมด โดย รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยประกอบด้วยค่าธรรมเนียมและค่าบริการเป็นหลัก ซึ่งในปี 2547 คิดเป็นร้อยละ 62 เมื่อเปรียบเทียบกับร้อยละ 69 ในปี 2546 ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 810 ล้านบาท จาก 2,928 ล้านบาทในปี 2546 เป็น 3,738 ล้านบาท ในปี 2547 เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเกี่ยวกับพนักงาน ค่าธรรมเนียมและบริการ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานเพิ่มขึ้น 248 ล้านบาท เป็นผลมาจากการเพิ่มจำนวนของพนักงาน ในขณะที่ค่า ธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้น 209 ล้านบาท เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าคอมมิชชั่นใน การขยายสินเชื่อบุคคลธนกิจ และค่าใช้จ่ายอื่นๆเพิ่มขึ้น 266 ล้านบาท เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการส่งเสริมการขาย การพัฒนาคอมพิวเตอร์ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการควบรวมกิจการ กิจการมีกำไรสุทธิในปี 2547 จำนวน 764 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปีก่อนที่ 721 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 43 ล้านบาท หรือร้อยละ 6 ณ สิ้นปี 2547 กิจการมีสินทรัพย์รวมเท่ากับ 63,643 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,959 ล้านบาท จากสิ้นปี 2546 สินทรัพย์หลักของกิจการประกอบไปด้วยเงินให้สินเชื่อและสินทรัพย์ตามสัญญาจัดการเงินให้กู้ยืม เงินให้สินเชื่อของกิจการเพิ่มขึ้น 7,294 ล้านบาทจาก 27,416 ล้านบาทในสิ้นปี 2546 เป็น 34,710 ล้านบาทในปี 2547 อันเป็นผลมาจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของสินเชื่อรายย่อย สำหรับสินทรัพย์ตาม สัญญาจัดการเงินให้กู้ยืม (ก่อนหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ) ลดลง 16,732 ล้านบาท จาก 30,564 ล้านบาท ในปี 2546 เป็น 13,832 ล้านบาทในปี 2547 เป็นผลมาจากความสำเร็จในการปรับโครงสร้างหนี้ส่วนหนึ่ง และลดลงจากการขายสินทรัพย์ออกไปส่วนหนึ่ง กิจการมีหนี้สินรวม ณ สิ้นปี 2547 เท่ากับ 58,566 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,220 ล้านบาทจากปี 2546 ณ สิ้นปี 2547 เงินฝากเป็นแหล่งเงินทุนหลักของกิจการ โดยมีจำนวนเท่ากับ 46,396 ล้านบาทหรือเป็นสัดส่วน ร้อยละ 73 ของแหล่งเงินทุนทั้งหมด เพิ่มขึ้น 240 ล้านบาท จากปี 2546 สำหรับส่วนของผู้ถือหุ้น ณ สิ้นปี 2547 เท่ากับ 5,078 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 739 ล้านบาท มีผลมาจากผลกำไรของกิจการในปี 2547 การคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต ในส่วนต่อไปนี้จะกล่าวถึงความเสี่ยงต่างๆที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไทย และความสามารถ ในการแข่งขันของกิจการในธุรกิจนี้ แม้ว่าในระยะปานกลางผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในประเทศไทยจัดว่ามีแนวโน้มดี แต่ในปี 2548 ธนาคารพาณิชยอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางเศรษฐกิจหลายประการ ได้แก่ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง คาดการณ์ว่าอัตราการเจริญเติบโตในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2548 ของประเทศไทยชะลอตัวลงเนื่องจาก ปัจจัยเหล่านี้ 1) ผลกระทบจากภัยพิบัติจากคลื่นสึนามิยังไม่สามารถประเมินได้ครบทั้งหมด 2) การปล่อยลอยตัวของราคาน้ำมันดีเซลจะเป็นตัวจำกัดการเจริญเติบโตในการบริโภคภาคเอกชน 3) วงจรการส่งออกของประเทศไทยอยู่ในภาวะอิ่มตัวภายใต้อุปสงค์ของโลกที่เริ่มชะลอตัว 4) การคาดการณ์ผลกระทบด้านลบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่เกิดจากสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด คาดว่าการผลักดันการลงทุนของภาครัฐ จะมีส่วนช่วยทดแทนการชะลอตัวในการบริโภคของภาคเอกชนและการส่งออก จะเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยให้ เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ในครึ่งปีหลังของปี 2548 การคาดการณ์อัตราการเติบโตของผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (GDP)ในปี 2548 จะชะลอตัวเหลือร้อยละ 5.3 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.3 ในปี 2549 ผลกระทบจากแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (Financial Sector Master Plan) จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (Financial Sector Master Plan) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 ทำให้เกิดการควบรวมกิจการของหลายสถาบัน การเงินมากขึ้น รวมทั้งสถาบันการเงินบางแห่งได้ยกระดับเป็นธนาคาร ทำให้คาดว่าจะมีการแข่งขันที่รุนแรง ขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย คาดการณ์ว่าทางธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร 14 วัน ขึ้นร้อยละ 0.25 ในไตรมาส 2 ปี 2548 ทางคณะกรรมการกำหนดนโยบายทางการเงินมีความเห็นว่าราคาสินค้ามีแนว โน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น จากที่ต้นทุนการผลิตที่มีการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมาและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีก หลังจากทางรัฐบาลพิจารณายุติการพยุงราคาน้ำมันดีเซล ดังนั้นผู้ผลิตมีแนวโน้มที่จะผลักภาระต้นทุนการผลิต ที่สูงขึ้นไปสู่ผู้บริโภค อีกทั้งคณะกรรมการกำหนดนโยบายทางการเงิน มีความวิตกกังวลในเรื่องดอกเบี้ย ที่แท้จริงที่ติดลบ ซึ่งส่งผลกระทบต่ออัตราการออมของประเทศ ในการที่จะให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในภาวะความเสี่ยงด้านขาลงช่วงสั้น ทางธนาคารแห่งประเทศไทยจำเป็นต้องผ่อนผันนโยบายทางการเงินเพื่อ เป็นการป้องกันมิให้เกิดความไม่สมดุลในเศรษฐกิจ แม้ว่าธนาคารพาณิชย์ไทยจะต้องเผชิญกับปัจจัยลบต่างๆ แต่กิจการได้มีการวางกลยุทธ์เพื่อจัดการกับอุปสรรค ข้างต้น ทั้งนี้โดยอาศัยความสัมพันธ์จากการที่กิจการเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันการเงินระดับโลก ทำให้กิจ การมีระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐานสากลทั้งในด้านการจัดการความเสี่ยง เทคโนโลยี ตลอดจนการริเริ่ม นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น สินเชื่อผ่อนชำระส่วนบุคคล รวมถึงการมีศักยภาพของเครือข่ายสาขา ของผู้ทำคำเสนอซื้อที่อยู่ทั่วโลก เป็นผลให้กิจการมีความได้เปรียบในด้านการแข่งขันเมื่อเทียบกับหลายๆ ธนาคารอื่นในประเทศไทย 2. ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องของข้อมูลของกิจการที่ปรากฏในคำเสนอซื้อ คณะกรรมการของกิจการได้พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับกิจการตามที่ปรากฏในคำเสนอซื้อ (แบบ 247-4) มีความถูกต้อง 3. ความสัมพันธ์หรือข้อตกลงใดๆ ของกรรมการกับผู้ทำคำเสนอซื้อ ทั้งในฐานะส่วนตัว ฐานะกรรมการของ กิจการ หรือในฐานะตัวแทนของผู้ทำคำเสนอซื้อ ซึ่งรวมถึงการถือหุ้นของกรรมการของกิจการในนิติบุคคลผู้ทำ คำเสนอซื้อ และการมีสัญญาหรือข้อตกลงที่มีหรือจะมีระหว่างกันในด้านต่างๆ เช่น การบริหาร นายฆัย นาร์โกลวาลา เป็นกรรมการของทั้งกิจการและ Standard Chartered PLC. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่ แท้จริงของผู้ทำคำเสนอซื้อ นายวิษณุ โมฮัน เป็นกรรมการของกิจการและเป็นพนักงานของผู้ทำคำเสนอซื้อ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 มีกรรมการบางท่านของกิจการได้ถือหุ้นใน Standard Chartered PLC. ชื่อกรรมการ จำนวนหุ้นที่ถือใน Standard Chartered PLC. ร้อยละเมื่อเทียบกับจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ แล้วทั้งหมดของ Standard Chartered PLC. 1.นายฆัย นาร์โกลวาลา 96,801 0.00 2.นายสตีเฟ่น ชารล์ส ซีโกรฟ 12,834 0.00 3.นายวิษณุ โมฮัน 11,000 0.00 4. ความเห็นของคณะกรรมการของกิจการต่อผู้ถือหลักทรัพย์ 4.1 เหตุผลที่สมควรจะตอบรับและ/หรือเหตุผลที่สมควรปฏิเสธคำเสนอซื้อ คณะกรรมการได้เสนอแนะผู้ถือหุ้นให้ตอบรับคำเสนอซื้อของผู้ทำคำเสนอซื้อ โดยเห็นว่าราคาเสนอซื้อที่ 22.00 บาทต่อหุ้น เป็นราคาที่เหมาะสม เนื่องจากเป็นราคาเดียวกับที่ผู้ทำคำเสนอซื้อ ได้มาซึ่งหุ้นของกิจการจากกองทุน ฟื้นฟูฯ และเป็นราคาสูงสุดที่ผู้ทำคำเสนอซื้อได้มาซึ่งหุ้นของกิจการในระยะเวลา 90 วัน ก่อนยื่นคำเสนอซื้อต่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ จากการประเมินราคาหุ้นของกิจการ โดยที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ คอร์ปอเรท รีสตรัคเจอริ่ง จำกัด พบว่าราคาที่เหมาะสม จากการประเมินโดยวิธีอัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อราคามูลค่าทางบัญชี (Price to Book Multiple) อยู่ในช่วง ระหว่าง 10.73-18.13 บาท วิธีอัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อกำไรสุทธิ (Price to Earnings Multiple) อยู่ ในช่วง ระหว่าง 17.61-17.94 บาท และวิธีส่วนลดกระแสเงินสด : เงินปันผล (Dividend Discounted Model) อยู่ใน ช่วง ระหว่าง 12.18-14.16 บาท ซึ่งราคาเสนอซื้อตามคำเสนอซื้อในครั้งนี้จัดว่าอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วงราคาดัง กล่าว (พิจารณารายงานความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระตามแนบ) 4.2 ความเห็นและเหตุผลของกรรมการของกิจการแต่ละรายและจำนวนหุ้นที่กรรมการแต่ละรายถืออยู่ (เฉพาะใน กรณี ที่ความเห็นของคณะกรรมการของกิจการตาม 4.1 ไม่เป็นเอกฉันท์) นายฆัย นาร์โกลวาลา ซึ่งเป็นกรรมการของผู้ทำคำเสนอซื้อและกรรมการของกิจการ มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษจึงไม่มี สิทธิออกเสียงและมิได้ใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องนี้ คณะกรรมการโดยกรรมการผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด มีมติเป็น เอกฉันท์เสนอแนะผู้ถือหุ้นให้ตอบรับคำเสนอซื้อของผู้ทำคำเสนอซื้อ 4.3 ประโยชน์หรือผลกระทบจากแผนงานและนโยบายตามที่ผู้เสนอซื้อระบุไว้ในคำเสนอซื้อ รวมทั้งความเป็นไป ได้ของ แผนงานและนโยบายดังกล่าว จากรายละเอียดแผนที่ผู้เสนอซื้อระบุไว้ในคำเสนอซื้อ ผู้ทำคำเสนอซื้อไม่มีความประสงค์ที่จะเพิกถอน กิจการออก จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อแผน งานทางธุรกิจหรือนโยบายของกิจการ ภายในระยะเวลา 12 เดือน นับจากวันสิ้นสุดของระยะเวลาเสนอซื้อ ทั้งนี้ ภายหลังการทำคำเสนอซื้อ กิจการจะยังคงประกอบธุรกิจต่อไปและมีทีมผู้บริหารชุดเดิม อย่างไรก็ตาม กรรมการ บางท่านซึ่งเป็นตัวแทนจากกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการของกิจการแล้ว เมื่อแผนควบรวมกิจการของ กลุ่มสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยธนาคารสแตนดาร์ดชาร์ เตอร์ด สาขากรุงเทพฯ (SCB Bangkok Branch) ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด สำนักงานกิจการวิเทศธนกิจ กรุงเทพฯ (SCB BIBF) และธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน จำกัด (มหาชน) ได้รับการอนุมัติจากธนาคาร แห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังแล้ว ผู้ทำคำเสนอซื้อตั้งใจที่จะโอนธุรกิจของตน ทั้งนี้รวมถึงสินทรัพย์และ หนี้สินต่างๆ ของ SCB Bangkok Branch และ SCB BIBF ให้กิจการ เพื่อให้เป็นไปตามแผนพัฒนาระบบสถาบัน การเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยภายใต้นโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ ซึ่งคณะกรรมการมีความเห็นว่า แผนการควบรวมกิจการดังกล่าวของผู้ทำคำเสนอซื้อ จะส่งผลดีต่อกิจการ ในอันที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ กับกิจการ ในการขยายกิจการการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย และทำให้กิจการก้าวขึ้นเป็นธนาคารชั้นแนวหน้า ของประเทศไทยด้วยเงินทุนที่เข้มแข็ง และเพิ่มความหลากหลายและคุณภาพของธุรกิจด้านการเงินและบริการ ของกิจการให้อยู่ในระดับสากล กิจการขอรับรองว่าข้อความข้างต้นถูกต้องครบถ้วน ตรงต่อความเป็นจริง ไม่มีข้อมูลที่อาจทำให้บุคคลอื่นสำคัญผิดในสาระ สำคัญ และมิได้มีการปกปิดข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญซึ่งควรบอกให้แจ้ง เพื่อธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน จำกัด (มหาชน) ลงชื่อ (นางแอนมารี เดอร์บิน) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลงชื่อ (นางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล) ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ 5. ความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ปรึกษาทางการเงินที่สำนักงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้ความเห็นชอบ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ คอร์ปอเรท รีสตรัคเจอริ่ง จำกัด (ที่ปรึกษาทางการเงิน) ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารส แตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดนครธน จำกัด (มหาชน) (SCNB) ให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระในการให้ความเห็นต่อผู้ถือหุ้นรายย่อย ของ SCNB เกี่ยวกับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์โดยธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (SCB) ในการพิจารณาเพื่อให้ความเห็นว่าผู้ ถือหุ้น รายย่อยควรตอบรับข้อเสนอหรือไม่ ที่ปรึกษาทางการเงินได้พิจารณาจากข้อมูลดังต่อไปนี้ ? คำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของ SCNB โดย SCB (แบบ 247-4) ? ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของ SCNB และการเปรียบเทียบกับธนาคารอื่นที่มีขนาดใกล้ เคียงกันรวมทั้งเปรียบเทียบกับภาพรวมของธนาคารไทยทั้ง 12 แห่ง ? ความเหมาะสมของราคาเสนอซื้อโดยเปรียบเทียบกับราคาตามทฤษฎีทางการเงิน คือ แนวทางการประเมินมูล ค่าจากฐานราคาตลาด (Market Based Approach) และ แนวทางการประเมินมูลค่าจากฐานรายได้ (Income Based Approach) ? แผนธุรกิจของ SCNB หลังการเข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมโดย SCB และผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นรายย่อย ผู้ถือหุ้นควรอ่านบทสรุปความเห็นที่ปรึกษาประกอบกับรายงานฉบับเต็มซึ่งได้รวบรวมรายละเอียดการวิเคราะห์และการ แสดง ความเห็นต่อคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ไว้ ตามเอกสารแนบ 5.1 ความเหมาะสมของราคาเสนอซื้อเมื่อเทียบกับราคาที่คำนวณได้ทางทฤษฎี ในการประเมินความเหมาะสมของราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์ของ SCNB ที่ปรึกษาทางการเงินได้พิจารณาใช้แนว ทางการประเมินราคาตามทฤษฎีทางการเงินหลายวิธี โดยในการสรุปเพื่อเปรียบเทียบราคาได้เลือกใช้ราคาทาง ทฤษฎี 3 วิธี คือ วิธีอัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อราคามูลค่าทางบัญชี (Price to Book Multiple) วิธีอัตราส่วน ราคาตลาดเฉลี่ยต่อกำไรสุทธิ (Price to Earnings Multiple) และ วิธีส่วนลดกระแสเงินสด: เงินปันผล (Dividend Discounted Model or DDM) ที่ปรึกษาทางการเงินมีความเห็นว่าราคาเสนอซื้อที่ 22.00 บาทต่อหุ้น เป็นราคาที่เหมาะสมและสมเหตุสมผล เนื่องจากเป็นราคาที่สูงกว่าราคาตามทฤษฎี คือ ราคาตามวิธีอัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อราคามูลค่าทางบัญชี (Price to Book Multiple) และ ราคาตามวิธีอัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อกำไรสุทธิ (Price to Earnings Multiple) ซึ่งอยู่ในช่วงราคาหุ้นละ 10.73 บาท ถึง 18.13 บาท และ ราคาหุ้นละ 17.61 บาท ถึง17.94 บาท ตาม ลำดับ และราคาเสนอซื้อดังกล่าวยังค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับราคาตามวิธีส่วนลดกระแสเงินสด : เงินปัน ผล (Dividend Discounted Model or DDM) ซึ่งอยู่ในช่วงราคาหุ้นละ 12.18 บาท ถึง 14.16 บาท วิธีการคำนวณหามูลค่าหุ้น ราคาที่คำนวณ ได้ (บาท/หุ้น) ราคาเสนอ ซื้อ(บาท/หุ้น) หมายเหตุ อัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อ ราคามูลค่าทางบัญชี 10.73 18.13 22.00 อัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อมูลค่าทางบัญชีจะ สะท้อนถึงคุณภาพของสินทรัพย์ได้ดีกว่าวิธีอื่น ซึ่งสินทรัพย์ทางการเงินส่วนใหญ่ อาทิ เงินให้สิน เชื่อและเงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการ ของตลาด ได้ถูกบันทึกด้วยมูลค่าตลาดที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้น จึงได้พิจารณาว่า การประเมินมูลค่า ราคาตลาดเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดตาม สถานการณ์ อัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อ กำไรสุทธิ 17.61 17.94 22.00 โดยทั่วไป แต่ละธนาคารจะมีนโยบายในการ สำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่แตกต่างกัน ดัง พิจารณาได้จากผลกำไรสุทธิของธนาคาร พาณิชย์บางแห่งมีความผันผวนค่อนข้างมาก เนื่องมาจากการสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เป็นจำนวนมาก ดังนั้น การใช้วิธีอัตราส่วนราคา ตลาดเฉลี่ยต่อกำไรสุทธิอาจมีความผันผวนได้ อย่างมาก ส่วนลดกระแสเงินสด:เงินปันผล 12.18 14.16 22.00 SCNB ยังมียอดขาดทุนสะสมอยู่ โดยตาม กฎหมายมหาชน SCNBไม่สามารถจะจ่ายเงิน ปันผลได้ ดังนั้น ราคาที่คำนวณตามวิธีนี้มีวัถตุ ประสงค์เพื่อการเปรียบเทียบเท่านั้น ซึ่งเป็นการ คำนวณภายใต้สมมติฐาน ว่า ประมาณการส่วน เกินจากการสำรองเงินกองทุนขั้นที่ 1 ที่ร้อยละ 9.5 (ซึ่งเป็นเป้าหมายของ SCNB) จะถูกนำมา จ่ายเป็นเงินปันผลทั้งหมดร้อยละ 100 5.2 เหตุผลที่ควรจะตอบรับ และ/ หรือ เหตุผลที่สมควรตอบปฏิเสธคำเสนอซื้อ ที่ปรึกษาทางการเงินมีความเห็นว่าผู้ถือหุ้นรายย่อยควรตอบรับคำเสนอซื้อ เนื่องจากเหตุผลดังต่อไปนี้ ราคาเสนอซื้อที่ 22.00 บาทต่อหุ้น เป็นราคาที่เหมาะสมและสมเหตุสมผล เนื่องจากเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว ในเบื้องต้น หลังจาก SCB ได้มาซึ่งหุ้นสามัญของ SCNB เพิ่มเติมจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน การเงิน (FIDF) SCB จะมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ถือหุ้นถึงร้อยละ 99.97 ของหุ้นสามัญที่ออก และเรียกชำระแล้วทั้งหมดของ SCNB ทั้งนี้ SCB ไม่มีความประสงค์ที่จะเพิกถอนหลักทรัพย์ SCNB จาก การเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ภายในระยะเวลา 12 เดือน นับจากวันสิ้นสุดของระยะเวลาการเสนอซื้อ อย่างไรก็ตามในอนาคต SCNB จะต้องแก้ไขเรื่องจำนวนหุ้น ที่หมุนเวียนใน ตลท. (Free Float of Shares) เพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบของ ตลท. ปัจจุบันตลท. ยัง คงขึ้นเครื่องหมาย ห้ามซื้อขาย (SP) สำหรับหุ้นของ SCNB ดังนั้นผู้ถือหุ้นจึงไม่สามารถขายหุ้นใน กระดานปกติหากมีความประสงค์ที่จะลดสัดส่วนการถือครองหุ้นดังกล่าว การตกลงรับคำเสนอซื้อในครั้ง นี้ถือเป็นทางออกให้กับผู้ถือหุ้นที่ประสงค์จะขายหุ้น SCB จะมีอำนาจโดยเด็ดขาดในการบริหารและควบคุม SCNB หลังจากการได้มาซึ่งหุ้นสามัญของ SCNB เพิ่มเติมจาก FIDF การตัดสินใจทางด้านธุรกิจส่วนใหญ่นั้น จำเป็นต้องได้รับมติอนุมัติจากที่ ประชุมผู้ถือหุ้น สามารถกระทำได้โดยอาศัยเสียงของผู้ถือหุ้นใหญ่เพียงรายเดียวคือ SCB แม้ว่าใน ปัจจุบัน SCB ไม่มีความประสงค์จะเพิกถอน SCNB จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลท. อย่างไร ก็ตามในอนาคต ผู้ถือหุ้นรายใหญ่จะสามารถมีมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อเพิกถอน SCNB จากการเป็น หลักทรัพย์จดทะเบียนได้โดยผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่มีจำนวนเสียงเพียงพอที่จะคัดค้าน ? นอกจากนี้ SCB ยังมีแผนที่จะรวมกิจการที่ให้บริการการรับฝากเงินของกลุ่ม SCB ในประเทศไทย ภายใต้ แผนนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ (One Presence) ตามแผนการพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (Financial Sector Master Plan) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ( ธปท.) โดยการโอนกิจการของ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด สาขากรุงเทพฯ (SCB Bangkok Branch) และสำนักกิจการวิเทศธนกิจ กรุงเทพฯ (SCB BIBF) ไปยัง SCNB ซึ่งจะเป็นแกนนำในการรวมกิจการและคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน สิ้นปี 2548 อย่างไรก็ตามแผนการรวมกิจการยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการขออนุมัติจาก ธปท. และ กระทรวงการคลัง ณ 31 ธันวาคม 2547 มูลค่าทางบัญชีของ SCB Bangkok Branch (รวมทั้ง SCB BIBF) มีมูลค่าทางบัญชีของส่วนผู้ถือหุ้นเท่ากับ 22,753.81 ล้านบาท ซึ่งรวมถึงรายการระหว่างธนาคาร กับสำนักงานใหญ่ และสาขาในต่างประเทศ เป็นจำนวน 17,514.58 ล้านบาท ดังนั้นในอนาคต SCNB อาจต้องเพิ่มทุนเพื่อนำเงินมาซื้อทรัพย์สิน และหนี้สินของ SCB Bangkok Branch และ SCB BIBF ถ้า หากการเพิ่มทุนเป็นการออกหุ้นใหม่เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement) ผู้ ถือหุ้นรายย่อยจะถูกปรับลดสัดส่วนการถือครองหุ้นลง ในกรณีเป็นการเพิ่มทุนโดยวิธีการออกหุ้นใหม่ เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม (Rights Offering) ผู้ถือหุ้นรายย่อยจะต้องลงทุนเพิ่มหากต้องการจะรักษา สัดส่วนการถือครองหุ้นให้คงเดิมไว้ ที่ปรึกษาทางการเงินไม่สามารถจะให้ความเห็นต่อแผนงานระยะยาวหลังการรวมกิจการ เนื่องจากราย ละเอียดของแผนเพื่อการรวมกิจการยังอยู่ในระหว่างการจัดทำโดยผู้บริหาร 5.3 ประโยชน์ หรือผลกระทบจากแผนงานและนโยบายตามที่ผู้ทำคำเสนอซื้อระบุไว้ในคำเสนอซื้อ รวมถึง ความเป็นไปได้ของแผนงานและนโยบายดังกล่าว ภายหลังการได้มาซึ่งหุ้นสามัญดังกล่าว SCB มีความประสงค์ที่จะให้ SCNB ประกอบธุรกิจเช่นในปัจจุบันต่อไป ทั้งนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบางท่านของ SCNB เนื่องจากการซื้อหุ้นสามัญของ SCNB จาก FIDF หากแผนการรวมกิจการภายใต้แผนนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ ตามนโยบายของ ธปท. และ กระทรวงการ คลังได้รับอนุมัติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว SCB จะทำการรวมกิจการที่ให้บริการการรับฝากเงินของกลุ่ม SCB ที่ ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งรวมถึง SCNB, SCB Bangkok Branch และ SCB BIBF ซึ่งผู้บริหารคาดว่าจะส่ง ผลให้ SCNB สามารถขยายธุรกิจได้ตามแผนการรวมกิจการซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของ ธปท. และ กระทรวงการคลัง โดยทั่วไป การรวมกิจการของธุรกิจขนาดใหญ่จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนองค์กรใหม่ และอาจส่ง ผลกระทบต่อผลการดำเนินงานในระยะสั้น อย่างไรก็ตามการรวมกิจการของกลุ่ม SCB นี้แตกต่างจากกรณีทั่วไป เนื่องจากว่า ทั้ง SCNB, SCB Bangkok Branch และ SCB BIBF นั้นต่างอยู่ภายใต้การบริหารงานโดยกลุ่มของ SCB เหมือนกัน และมีการบริหารงานภายใต้นโยบายที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้นการรวมกิจการดังกล่าวจึงไม่น่าจะส่ง ผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของ SCNB เป็นที่คาดการณ์ว่าการรวมกิจการของ SCNB, SCB Bangkok Branch และ SCB BIBF จะเกิดขึ้นภายในปี 2548 และ รายละเอียดของแผนธุรกิจเพื่อการรวมกิจการยังอยู่ในระหว่างการจัดทำโดยผู้บริหาร ดังนั้นที่ปรึกษา ทางการเงินจึงไม่สามารถจะให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนระยะยาวหลังการรวมกิจการที่ให้บริการการรับฝากเงินของ กลุ่ม SCB ในประเทศไทย นอกจากนี้แผนการรวมกิจการดังกล่าวยังไม่ได้รับอนุมัติจากธปท. และกระทรวงการ คลัง ทั้งนี้แผนธุรกิจเพื่อการรวมกิจการอาจส่งผลให้นโยบายทางธุรกิจของ SCNB เปลี่ยนแปลงไป ข้าพเจ้าขอรับรองว่าได้พิจารณาให้ความเห็นในกรณีข้างต้น ด้วยความรอบคอบตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยคำนึงถึงผล ประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ คอร์ปอเรท รีสตรัคเจอริ่ง จำกัด ลงชื่อ (นายเดวิด เคนเนดี้) กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ลงชื่อ (นายทวีเกียรติ กฤษณามระ) กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน จำกัด (มหาชน) รายงานความเห็นของที่ปรึกษาต่อผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ โดย ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (เอกสารแนบของรายงานตามแบบฟอร์ม 250-2) 19 เมษายน 2548 สารบัญ 1 บทสรุปผู้บริหาร 4 2 แนวทางปฏิบัติงานเพื่อเสนอความเห็น 7 3 การพิจารณาคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ 8 4 การวิเคราะห์เกี่ยวกับธนาคารแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน จำกัด (มหาชน) 8 4.1 สรุปภาวะอุตสาหกรรมธนาคาร 8 4.2 ธุรกิจของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน จำกัด (มหาชน) 9 5 ภาพรวมของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด 15 5.1 ภาพรวมของธุรกิจ 15 5.2 แผนธุรกิจของ SCNB ภายหลังการทำคำเสนอซื้อ 15 5.3 การวิเคราะห์แผนธุรกิจ 16 6 การประเมินราคาเสนอซื้อ 18 6.1 การประเมินมูลค่าจากฐานรายได้: วิธีส่วนลดกระแสเงินสด (เงินปันผล) 18 6.2 การประเมินมูลค่าจากฐานราคาตลาด: วิธีอัตราส่วนราคาตลาด (MARKET MULTIPLE) 20 7 ความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงิน 23 เอกสารแนบ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของ SCNB กลุ่มธนาคารที่มีขนาดใกล้เคียงกัน และงบการเงินรวมของ 12 ธนาคารพาณิชย์ไทย สำหรับงวดสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2545, 31 ธันวาคม 2546 และ 31 ธันวาคม 2547 คำย่อ BOA ธนาคาร เอเชีย จำกัด (มหาชน) BT ธนาคาร ไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) DTDB ธนาคาร ดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด (มหาชน) FIDF กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน LMA สินเชื่อภายใต้สัญญาการจัดการ NBANK ธนาคาร ธนชาต จำกัด (มหาชน) SCB ธนาคาร สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด SCB Bangkok Branch ธนาคาร สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด สาขากรุงเทพฯ SCB BIBF ธนาคาร สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด สำนักงานวิเทศธนกิจกรุงเทพฯ SCNB ธนาคาร สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน จำกัด (มหาชน) TMB ธนาคาร ทหารไทย จำกัด (มหาชน) UOB ธนาคาร ยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ จำกัด UOBR ธนาคาร ยูโอบี รัตนสิน จำกัด (มหาชน) ตลท. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ คอร์ปอเรท รีสตรัคเจอริ่ง จำกัด ธปท. ธนาคารแห่งประเทศไทย บทสรุปผู้บริหาร ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (SCB) ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน จำกัด (มหาชน) (SCNB) ได้ตกลงซื้อหุ้นสามัญของ SCNB จำนวนร้อยละ 24.97 จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนา ระบบสถาบันการเงิน (FIDF) และการได้มาซึ่งหุ้นดังกล่าวส่งผลให้ SCB ต้องทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด ตามประกาศของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ SCBได้เสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของ SCNB ในราคาหุ้นละ 22.00 บาทซึ่งเป็นราคาเสนอซื้อสุดท้ายที่จะไม่ เปลี่ยนแปลงอีก หลังจากการเสนอซื้อหุ้นดังกล่าว SCB มีความประสงค์จะรวมกิจการ (Integration) ที่ให้บริการการรับฝากเงิน ทั้งหมดของกลุ่มของ SCB ที่ดำเนินกิจการในประเทศไทย ภายใต้นโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ (One Presence) ตามแผนการพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (Financial Sector Master Plan) ของธนาคารแห่ง ประเทศ ไทย (ธปท.) อย่างไรก็ตามแผนการรวมกิจการดังกล่าวยังอยู่ระหว่างขั้นตอนการขออนุมัติจาก ธปท. และ กระทรวงการคลัง ในการแสดงความเห็นว่าผู้ถือหุ้นรายย่อยควรตอบรับข้อเสนอหรือไม่ ที่ปรึกษาทางการเงินได้พิจารณาจากข้อมูล ดังต่อไปนี้ ? คำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของ SCNB โดย SCB (แบบ 247-4) ? ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของ SCNB และการเปรียบเทียบกับธนาคารอื่นที่มีขนาด ใกล้เคียงกันรวมทั้งเปรียบเทียบกับภาพรวมของธนาคารไทยทั้ง 12 แห่ง ? ความเหมาะสมของราคาเสนอซื้อโดยเปรียบเทียบกับราคาตามทฤษฎีทางการเงิน คือ แนวทางการ ประเมินมูลค่าจากฐานราคาตลาด (Market Based Approach) และ แนวทางการประเมินมูลค่าจากฐาน รายได้ (Income Based Approach) ? แผนธุรกิจของ SCNB หลังการเข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมโดย SCB และผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นรายย่อย ที่ปรึกษาทางการเงินมีความเห็นว่าผู้ถือหุ้นรายย่อยควรพิจารณาปัจจัยหลักต่างๆดังต่อไปนี้เพื่อประกอบการตัดสิน ใจว่าควรตอบรับคำเสนอซื้อหรือไม่ ? ราคาเสนอซื้อที่ 22.00 บาทต่อหุ้น เป็นราคาที่เหมาะสมและสมเหตุสมผล เนื่องจากเป็นราคาที่สูงกว่า ราคาตามทฤษฎี คือ ราคาตามวิธีอัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อราคามูลค่าทางบัญชี (Price to Book Multiple) และ ราคาตามวิธีอัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อกำไรสุทธิ (Price to Earnings Multiple) ซึ่ง อยู่ในช่วงราคาหุ้นละ 10.73 บาท ถึง 18.13 บาท และ ราคาหุ้นละ 17.61 บาท ถึง 17.94 บาท ตามลำดับ และราคาเสนอซื้อดังกล่าวยังค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับราคาตามวิธีส่วนลดกระแสเงินสด : เงินปัน ผล (Dividend Discounted Model or DDM) ซึ่งอยู่ในช่วงราคาหุ้นละ 12.18 บาท ถึง 14.16 บาท (ดูรายละเอียดในหัวข้อ 6) วิธีการคำนวณหามูลค่าหุ้น ราคาที่คำนวณได้ (บาท/หุ้น) ราคาเสนอซื้อ(บาท/หุ้น) หมายเหตุ อัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อราคามูลค่าทางบัญชี 10.73 18.13 22.00 อัตราส่วนราคาตลาด เฉลี่ยต่อมูลค่าทางบัญชีจะสะท้อนถึงคุณภาพของสินทรัพย์ได้ดีกว่าวิธีอื่น ซึ่งสินทรัพย์ทางการเงินส่วนใหญ่ อาทิ เงินให้สินเชื่อและเงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ได้ถูกบันทึกด้วยมูลค่าตลาดที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้น จึงได้พิจารณาว่า การประเมินมูลค่าราคาตลาดเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดตามสถานการณ์ อัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อ กำไรสุทธิ 17.61 17.94 22.00 โดยทั่วไป แต่ละธนาคารจะมีนโยบายในการสำรองค่าเผื่อหนี้ สงสัยจะสูญ ที่แตกต่างกัน ดังพิจารณาได้จากผลกำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีความผันผวนค่อนข้างมาก เนื่องมา จากการสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การใช้วิธีอัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อกำไรสุทธิ อาจมีความผันผวนได้อย่างมาก ส่วนลดกระแสเงินสด:เงินปันผล 12.18 14.16 22.00 SCNB ยังมียอดขาดทุนสะสมอยู่ โดยตาม กฎหมายมหาชน SCNBไม่สามารถจะจ่ายเงินปันผลได้ ดังนั้น ราคาที่คำนวณตามวิธีนี้มีวัถตุประสงค์เพื่อการ เปรียบเทียบเท่านั้น ซึ่งเป็นการคำนวณภายใต้สมมติฐาน ว่า ประมาณการส่วนเกินจากการสำรองเงินกองทุนขั้น ที่ 1 ที่ร้อยละ 9.5 (ซึ่งเป็นเป้าหมายของ SCNB) จะถูกนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลทั้งหมดร้อยละ 100 ? ภายหลังจาก SCB ได้มาซึ่งหุ้นสามัญของ SCNB เพิ่มเติมจาก FIDF SCB จะมีสถานะเป็นผู้ถือ หุ้นรายใหญ่ที่ถือหุ้นถึงร้อยละ 99.97 ของหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของ SCNB ทั้งนี้ SCB ไม่มีความประสงค์ที่จะเพิกถอนหลักทรัพย์ SCNB จากการเป็นหลักทรัพย์ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ภายในระยะเวลา 12 เดือน นับจาก วันสิ้นสุดของระยะเวลาการเสนอซื้อ อย่างไรก็ตามในอนาคต SCNB จะต้องแก้ไขเรื่องจำนวน หุ้นที่หมุนเวียนใน ตลท. (Free Float of Shares) เพื่อให้เป็นไปตามกฏระเบียบของ ตลท. ปัจจุบันตลท. ยังคงขึ้นเครื่องหมาย ห้ามซื้อขาย (SP) SCNB ดังนั้นผู้ถือหุ้นจึงไม่สามารถ ขายหุ้นในกระดานปกติหากมีความประสงค์ที่จะลดสัดส่วนการถือครองหุ้นดังกล่าว หากผู้ ถือหุ้นต้องการจะขายหุ้นหรือลดสัดส่วนการถือครองหุ้น การตกลงรับคำเสนอซื้อในครั้งนี้ถือ เป็นทางออกให้กับผู้ถือหุ้นที่ประสงค์จะขายหุ้น ? SCB จะมีอำนาจโดยเด็ดขาดในการบริหารและควบคุม SCNB หลังจากการได้มาซึ่งหุ้นสามัญ ของ SCNB เพิ่มเติมจาก FIDF การตัดสินใจทางด้านธุรกิจส่วนใหญ่นั้น จำเป็นต้องได้รับมติ อนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น สามารถกระทำได้โดยอาศัยเสียงของผู้ถือหุ้นใหญ่เพียงรายเดียว คือ SCB แม้ว่าในปัจจุบัน SCB ไม่มีความประสงค์จะเพิกถอน SCNB จากการเป็นหลักทรัพย์ จดทะเบียนในตลท. อย่างไรก็ตามในอนาคต ผู้ถือหุ้นรายใหญ่จะสามารถมีมติจากที่ประชุมผู้ ถือหุ้นเพื่อเพิกถอน SCNB จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนได้โดยผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่มี จำนวนเสียงเพียงพอที่จะคัดค้าน ? ผลการดำเนินงานในอดีตของ SCNB แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตที่ดีและสม่ำเสมอ การเพิ่มสัด ส่วนการถือหุ้นของ SCB นั้นจะไม่มีผลกระทบอย่างเป็นสาระสำคัญต่อนโยบายและการดำเนินงานของ SCNB อย่างไรก็ตาม SCB มีแผนจะทำการรวมกิจการที่ให้บริการการรับฝากเงินของกลุ่ม SCB ที่ ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้นโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ ตามแผนการพัฒนาระบบสถาบัน การเงินของธปท. ซึ่งจะเป็นการโอนกิจการของ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด สาขากรุงเทพฯ (SCB Bangkok Branch) และสำนักกิจการวิเทศธนกิจกรุงเทพฯ (SCB BIBF) ไปยัง SCNB ซึ่งเป็นแกนนำ ในการรวมกิจการซึ่งคาดว่าจะ ส่งผลให้ SCNB สามารถขยายธุรกิจได้ตามแผนการรวมกิจการซึ่งอยู่ใน ระหว่างการพิจารณาของ ธปท. และกระทรวงการคลัง โดยทั่วไป การรวมกิจการของธุรกิจขนาดใหญ่ จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนองค์กรใหม่ และอาจจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานใน ระยะสั้น อย่างไรก็ตามการรวมกิจการในครั้งนี้มีความแตกต่างจากกรณีทั่วไป เนื่องจากว่า ทั้ง SCNB, SCB Bangkok Branch และ SCB BIBF ต่างอยู่ภายใต้การบริหารงานโดยกลุ่มของ SCB เหมือนกัน และ มีการบริหารงานภายใต้นโยบายที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้นการรวมกิจการดังกล่าวจึงไม่น่าจะมีผลกระทบต่อ ผลการดำเนินงานของ SCNB ? ภายใต้แผนการรวมกิจการ SCB มีความประสงค์จะทำการรวมกิจการที่ให้บริการการรับฝาก เงินของธุรกิจที่ดำเนินงานในประเทศไทย ซึ่งรวมถึง ทรัพย์สิน และหนี้สินของ SCB Bangkok Branch และ SCB BIBF ณ 31 ธันวาคม 2547 มูลค่าทางบัญชีของ SCB Bangkok Branch (รวมทั้ง SCB BIBF) มีมูลค่าทางบัญชีเท่ากับ 22,753.8 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นรายการ ระหว่างธนาคารกับสำนักงานใหญ่ และสาขาในต่างประเทศอื่นๆ เป็นจำนวน 17,514.6 ล้าน บาท ดังนั้นหากเกิดการรวมกิจการในอนาคต SCNB อาจจะต้องเพิ่มทุนเพื่อนำเงินมาซื้อทรัพย์ สินและหนี้สิน ของ SCB Bangkok Branch และ SCB BIBF ถ้าหากการเพิ่มทุนเป็นในรูปแบบ การออกหุ้นใหม่เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement) ผู้ถือหุ้นราย ย่อยจะถูกปรับลดสัดส่วนการถือครองหุ้นลง ในกรณีที่การเพิ่มทุนเป็นแบบวิธีการออกหุ้น ใหม่เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม (Rights Offering) ผู้ถือหุ้นรายย่อยจะต้องลงทุนเพิ่มหาก ต้องการจะรักษาสัดส่วนการถือครองหุ้นให้คงเดิมไว้ จากปัจจัยหลักดังกล่าวข้างต้น ที่ปรึกษาทางการเงินมีความเห็นว่าผู้ถือหุ้นจะได้รับประโยชน์มากกว่า หากตอบ รับคำเสนอซื้อจาก SCB ผู้ถือหุ้นควรอ่านบทสรุปผู้บริหารประกอบกับรายงานฉบับเต็มซึ่งได้รวบรวมรายละเอียดการวิเคราะห์ ไว้ แนวทางปฏิบัติงานเพื่อเสนอความเห็น การแสดงความเห็นต่อคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของ SCB ต่อผู้ถือหุ้นของ SCNB ที่ปรึกษาทางการเงินได้พิจารณา จาก (1) คำเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อระบุถึงเงื่อนไขที่ควรพิจารณา (แบบ 247-4) (2) การวิเคราะห์นโยบายและผล ประกอบการของ SCNB เปรียบเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน (3) การสัมภาษณ์ผู้บริหารเกี่ยวกับนโยบาย และแผนธุรกิจของ SCNB (4) การประเมินราคายุติธรรมของหุ้น SCNB และ (5) ผลกระทบของผู้ถือหุ้นของ SCNB ในการปฏิบัติงานที่ปรึกษาทางการเงินได้ใช้เอกสารประกอบการพิจารณาดังนี้ ? คำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของ SCNBโดย SCB (แบบ 247-4) ? รายงานการประชุมคณะกรรมการและผู้บริหาร SCNB ปี 2546-2547 และ มกราคม 2548 ? รายงานประจำปีของ SCNB และ SCB ณ 31 ธันวาคม 2546 ? ประมาณการงบการเงินที่จัดเตรียมโดยผู้บริหารของ SCNB สำหรับปี 2548 ถึง 2551 ? รายงานการตรวจสอบประจำปีของ SCNB โดย ธปท. ณ 17 พฤศจิกายน 2546 และ 15 พฤศจิกายน 2547 ? สัญญาการซื้อหุ้นระหว่าง SCB และ FIDF และ ? รายงานการวิเคราะห์อุตสาหกรรมและข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ ที่ปรึกษาทางการเงินยังได้สัมภาษณ์ผู้บริหารของ SCNB และ ผู้แทนของ SCB ดังนี้ ? คุณแอนมารี เดอร์บิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SCNB และผู้แทนของ SCB ? คุณสตีฟ ซีโกรฟ ผู้อำนวยการ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน จำกัด (มหาชน) การพิจารณาคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์โดย SCB นี้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเกิดจากการที่ SCB ได้มาซึ่งหุ้นสามัญจำนวนร้อยละ 24.97 ของ SCNB จาก FIDF ในราคา 22.00 บาทต่อหุ้น รายการการได้มาซึ่งหุ้นดังกล่าวเกิดขึ้นในวันที่ 30 มีนาคม 2548 เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ ภายใต้แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินของธปท. และ กระทรวงการคลัง SCB สามารถมีสถาบันการเงินที่รับฝากเงินจากประชาชนทั่วไปได้เพียงแห่งเดียว ดังนั้นหลัง จากเสร็จสิ้นการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์นี้แล้ว SCB มีแผนจะทำการรวมกิจการที่ให้บริการการรับฝากเงินของ กลุ่ม SCB ที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้แผนการรวมกิจการนั้น SCB จะโอนกิจการของ SCB Bangkok Branch และ SCB BIBF ไปยัง SCNB ทั้งนี้แผนการรวมกิจการดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาและยังมิได้ รับอนุมัติจากธปท. และ กระทรวงการคลัง การวิเคราะห์ธนาคารแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน จำกัด (มหาชน) สรุปภาวะอุตสาหกรรมธนาคาร ณ ปัจจุบัน มีธนาคารพาณิชย์ประมาณ 30 แห่งที่ดำเนินกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยจำนวน 12 แห่ง ธนาคารต่างประเทศจำนวน 18 แห่ง นอกจากนี้ยังมีสถาบันการเงินอีกประมาณ 23 แห่งซึ่งเป็นสถาบัน ทางการเงินขนาดเล็ก โดยเป็นบริษัทเงินทุน 18 แห่ง และเป็นบริษัท เครดิตฟองซิเอร์อีก 5 แห่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 ยอดเงินกู้สุทธิและดอกเบี้ยค้างจ่ายของสถาบันทางการเงินในประเทศไทยคิดรวมเป็นทั้งสิ้น 4,278,000 ล้านบาท ในปี 2548 คาดว่าการเติบโตของกำไรของธนาคารพาณิชย์จะชะลอตัวลง เนื่องจากการชะลอตัวของดอกเบี้ยรับซึ่ง เป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยของเงินฝากและเงินกู้ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น นอกจากนั้นอัตราการเติบโตของสินเชื่อมี แนวโน้มลดลงไปในทิศทางเดียวกับสภาวะทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอาจมีความผันผวนเนื่อง จากความผันผวนและความเสี่ยงของราคาสำหรับเงินลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากอัตราการ ผลตอบแทนในตลาดรองที่มีแนวโน้มสูงขึ้น อีกทั้งบรรยากาศของการลงทุนในตลาดหุ้นยังคงผันผวนอยู่ ประมาณการกำไรสุทธิ (ก่อนภาษี) ของธนาคารพาณิชย์ของไทย ณ ปี 2548 อยู่ที่ 97,000 ล้านบาท เปรียบเทียบกับ กำไรสุทธิใน ปี 2547 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 77,000 ล้านบาท โดยสรุปแล้วอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิคิดเป็น ประมาณร้อยละ 26 ปี 2548 จะเป็นปีแรกที่ธนาคารพาณิชย์บางธนาคารเริ่มชำระภาษีนิติบุคคล (ร้อยละ 30) หลังจากได้รับผลกระทบ และมีผลขาดทุนจากสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 โดยคาดว่าค่าใช้จ่ายทางภาษีทั้งสิ้นจะสูงขึ้นประมาณ 10,000 12,000 ล้านบาท กำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์โดยรวมคาดว่าจะสูงขึ้นจากปีที่แล้ว และอัตราผลตอบ แทนจากสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ของไทยสำหรับปี 2548 คิดเป็นประมาณร้อยละ 1.4 ซึ่งเป็นอัตราที่แสดงถึง ความมั่นคงและมีเสถียรภาพของธนาคารพาณิชย์ของไทย อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในปี 2548 ยังคงได้รับผลกระทบจากปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งจะมีผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของสินเชื่อ คุณภาพ ของสินเชื่อด้อยคุณภาพ และความเพียงพอในการตั้งสำรองหนี้สูญ ระดับของสภาพคล่องทางการเงิน และการ ปรับอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ ในระยะกลางธนาคารพาณิชย์บางธนาคารอาจต้องพิจารณาเรื่องการเพิ่มทุนเพื่อที่ จะรองรับการขยายตัวทางธุรกิจและเตรียมตัวเพื่อการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การตั้งสำรองใหม่ (BASEL II) ซึ่งอาจจะ เริ่มนำมาใช้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ที่มา: ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย ธุรกิจของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน จำกัด (มหาชน) ความเป็นมา ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน จำกัด (มหาชน) จัดตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2476 ภายใต้ชื่อเดิมว่า ธนาคารหวั่ง หลี ธนาคารได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 โดยในปีพ.ศ. 2536 ธนาคารหวั่งหลีได้เปลี่ยน ชื่อมาเป็นธนาคารนครธน และเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2542 ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์ดเตอร์ดได้กลายเป็นผู้ถือ หุ้นใหญ่หลังจากได้เข้าซื้อหุ้นสามัญของ SCNB ในสัดส่วนร้อยละ 74.99 ของหุ้นที่ออกทั้งหมดจากกองทุนเพื่อ การฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ณ สิ้นสุดปี 2547 SCNB ได้เปิดสาขาทั่วประเทศทั้งสิ้นจำนวน 41 สาขา ปัจจุบัน SCNB จัดอยู่ในอันดับที่ 11 โดยเทียบจากขนาดของสินทรัพย์ จากธนาคารไทย 12 แห่งที่ดำเนินธุรกิจใน ประเทศไทย การดำเนินงาน SCNB ได้แบ่งประเภทของธุรกิจธนาคารออกเป็น 2 ประเภทดังนี้: ? บุคคลธนกิจ เป็นหน่วยงานที่ใหญ่ที่สุดของ SCNB ที่ได้ให้บริการหลากหลายแก่ลูกค้ารายย่อย โดยแบ่ง ประเภทการให้บริการออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ บริการเงินฝาก สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อส่วน บุคคล บริการบัตรเครดิต การบริการการลงทุนและประกันภัย บริการด้านการบริหารการเงินและการลง ทุนสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ? สถาบันธนกิจ ได้ให้บริการบริหารเงินสด การรับฝากหลักทรัพย์ บริการสินเชื่อธุรกิจ บริการการค้าและ ธุรกิจต่างประเทศ บริการบริหารเงินและปริวรรตเงินตรา การปริวรรตและการค้าเงินตราต่างประเทศ การบริหารอัตราดอกเบี้ย และบริการการลงทุนในตราสารหนี้ กลยุทธ์ของธนาคาร ฐานลูกค้าของบุคคลธนกิจได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วในระยะ 2 3 ปีที่ผ่านมา โดย SCNB ได้ให้ความสำคัญในการ เพิ่มสินทรัพย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่อบุคคล นอกจากนั้นธนาคารยังเน้นการให้บริการและผลิตภัณฑ์ที่หลาก หลายสำหรับลูกค้ากลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ที่สามารถสร้างส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Spread) ได้มากกว่ากลุ่มลูกค้าสถาบันธนกิจ ช่องทางในการเติบโตอีกทางหนึ่งในด้านบุคคลธนกิจคือการบริการด้าน บริหารการเงินและการลงทุน กลุ่มลูกค้าที่มีสถานะทางการเงินที่ดีจะได้รับการให้คำแนะนำและแนวทางสำหรับ การบริการเงินฝากทุกรูปแบบ การบริการประกันภัยและการบริหารเงินลงทุน ปัจจุบัน SCNB เป็นธนาคารระดับ แนวหน้าสำหรับบุคคลธนกิจที่มีลูกค้ามากกว่า 700,000 ราย สถาบันธนกิจเน้นการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของบริษัทข้ามชาติ สถาบันทางการเงิน และบริษัท ในประเทศ โดยได้ให้การบริการหลายรูปแบบ ได้แก่การบริการบริหารเงินสด สินเชื่อธุรกิจ บริการเพื่อการค้าและ ธุรกิจต่างประเทศ การปริวรรตและการค้าเงินตราต่างประเทศ และการบริหารความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ย ธนาคารได้ให้บริการสินค้าแบบใหม่โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนา อาทิ เงินสดด่วน, Easy Pay, สินเชื่อ สำหรับบริษัทที่มีธุรกิจเกี่ยงเนื่อง (Supply Chain) กับธุรกิจของบริษัทขนาดใหญ่ SCNB เป็นธนาคารแห่งแรกของ ประเทศที่ได้ให้บริการสินเชื่อสำหรับบริษัทที่มีธุรกิจเกี่ยวเนื่อง (Supply Chain) กับธุรกิจของบริษัทขนาดใหญ่ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต นอกจากนั้นธนาคารยังได้ให้ความสำคัญแก่ลูกค้าภาคธุรกิจ อาทิ ธุรกิจการนำเข้า-ส่งออก และลูกค้าธุรกิจกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ โดยให้บริการทางด้านทั้งสินเชื่อและการบริการทางด้านการจัดการ (Fee- Based Service) ธนาคารยังได้พัฒนาระบบสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน (บัตรเครดิต, สินเชื่อบุคคล, และวงเงินพิเศษส่วนบุคคล) และบัตรเดบิต VISA Electron เพื่อเป็นรองรับการขยายตลาดบุคคลธนกิจ อีกทั้งธนาคารเริ่มใช้ระบบประเมินผล และอนุมัติสินเชื่อ (Credit scorecard) เพื่อประเมินความเสี่ยงและช่วยธนาคารในการขยายธุรกิจบุคคลธนกิจในปี 2546 ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสามารถของธนาคารในการขยายธุรกิจบุคคลธนกิจ และสามารถควบคุมความเสี่ยง ในขณะเดียวกัน คุณภาพของสินทรัพย์ จะถูกบริหารโดยผ่านการควบคุมการอนุมัติสินเชื่อที่เหมาะสมและกล ยุทธ์ในการจัดการ (Exit Strategy) สำหรับสินเชื่อด้อยคุณภาพ . ผลการดำเนินงาน ตารางดังต่อไปนี้ได้แสดงงบการเงินเปรียบเทียบและอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ ตารางที่ 1 งบการเงินเปรียบเทียบและอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญของ SCNB หน่วย: ล้านบาท งบการเงินรวมที่ตรวจสอบแล้ว งบดุล ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 สินทรัพย์ เงินสด รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน 1,985 1,179 7,536 หลักทรัพย์ซื้อโดยมีสัญญาขายคืน - 2,400 - เงินลงทุนในหลักทรัพย์ - สุทธิ 3,359 2,696 9,960 เงินให้สินเชื่อ - สุทธิ 54,352 52,863 43,344 สินทรัพย์อื่น 2,892 2,546 2,803 รวมสินทรัพย์ 62,589 61,684 63,643 หนี้สิน เงินฝาก 51,571 46,156 46,396 รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน 4,880 9,703 10,608 หนี้สินจ่ายคืนเมื่อทวงถาม ** 722 63 66 หนี้สินอื่น 1,800 1,423 1,495 รวมหนี้สิน 58,974 57,346 58,566 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 3,615 4,339 5,078 ** ปี 2545 รวมหลักทรัพย์ขายโดยมีสัญญาซื้อคืนจำนวน 650 ล้านบาท งบกำไรขาดทุน รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผล 4,510 4,195 4,913 ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย 1,481 944 665 รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ 3,029 3,251 4,249 หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ 672 644 1,152 รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิหลังหักหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ 2,358 2,607 3,096 รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย 1,046 1,041 1,406 ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ย 2,959 2,928 3,738 กำไรสุทธิ 445 721 764 กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน 0.64 1.03 1.09 อัตราส่วนแสดงความสามารถในการทำกำไร อัตรากำไรสุทธิ 8.0% 13.8% 12.1% ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย 4.3% 5.2% 6.9% อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 7.3% 3.2% 2.2% อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น 13.1% 18.1% 16.2% อัตราส่วนสภาพคล่องและวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 16.3 13.2 11.5 อัตราส่วนเงินให้กู้ยืมต่อเงินฝาก (เท่า) 1.2 1.3 1.0 อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน อัตราการเติบโตของสินเชื่อ * 1.6% 5.7% 26.6% อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ 4.6% 5.2% 6.8% อัตราส่วนการวัดประสิทธิภาพการบริหาร 72.6% 68.2% 66.1% อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ 8.4% 8.4% 10.1% *ไม่รวมสินเชื่อภายใต้สัญญาการจัดการจำนวน 13,832.1 ล้านบาท ณ 31 ธันวาคม 2547 อัตราส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 10.1% 12.0% 11.5% อัตราส่วนเงินกองทุน 11.3% 13.2% 12.7% ที่มา: งบการเงินที่ตรวจสอบแล้ว และการวิเคราะห์ของที่ปรึกษาทางการเงิน อัตราผลตอบผู้ถือหุ้นของ SCNB เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 13 ในปีพ.ศ. 2545 เป็นร้อยละ 16 ในปี 2547 ทั้งนี้อัตราผล ตอบแทนผู้ถือหุ้นที่ดีขึ้นเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของกำไรจากการดำเนินการ การขยายตัวของสินเชื่อและส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้อัตรารายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์สูงขึ้น จากร้อยละ 4.6 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 6.8 ในปี 2547 SCNB ได้พัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินการได้ดีขึ้น โดยจะ เห็นได้จากอัตราการวัดประสิทธิภาพการบริหารดีขึ้นจากร้อยละ 73 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 66 ในปี 2547 ข้อตกลงการบริหารสินเชื่อ (Loan Management Agreement or LMA) ซึ่งได้ตกลงกันระหว่าง SCNB และ FIDF ในปี 2542 โดยระบุไว้ว่า SCNB จะบริหารสินเชื่อด้อยคุณภาพ ภายใต้ข้อตกลงการแบ่งปันกำไร/ขาดทุน ซึ่ง ได้สิ้นสุด ณ เดือนกันยายน 2547 ปัจจุบันนี้ SCNB และ FIDF อยู่ระหว่างการดำเนินการทางด้านกระบวนการ อ้างสิทธิในการชำระเงินและข้อตกลงเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์ให้แล้วเสร็จ ซึ่งคาดว่าจะสามารถบรรลุข้อตก ลงและชำระเงินเสร็จสิ้นภายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2548 ผู้บริหารธนาคารเล็งเห็นว่าความสำเร็จจากข้อตกลงการ บริหารสินเชื่อด้วยคุณภาพนี้จะส่งผลให้ผลประกอบการโดยรวมและสภาพคล่องทางการเงินของธนาคารดีขึ้น เนื่องจากธนาคารไม่จำเป็นต้องใช้เงินฝากเพื่อสนับสนุนสินเชื่อด้อยคุณภาพตามข้อตกลงการบริหารสินเชื่ออีกต่อ ไป อัตราส่วนเงินกองทุนของธนาคารเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 13 ในปี 2547 และอัตราส่วนเงิน กองทุนชั้นที่หนึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 11 ในปี 2547 ซึ่งยังคงรักษาให้อยู่ในระดับที่สูงกว่า ที่ ธปท.ได้กำหนดไว้ โดย ธปท. กำหนดให้ต้องดำรงเงินกองทุนไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8.5 โดยมีเงินกองทุนขั้นที่ 1 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.25 การวิเคราะห์กลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน ที่ปรึกษาทางการเงินได้วิเคราะห์ผลประกอบการทางการเงินของ SCNB โดยได้เปรียบเทียบกับธนาคาร 4 แห่ง (กลุ่มเปรียบเทียบ) และธนาคารไทยอีก 12 ธนาคาร (กลุ่มธุรกิจเดียวกัน) ที่ปรึกษาทางการเงินได้ให้ความสำคัญ กับการวิเคราะห์เชิงอัตราส่วนและการเปรียบเทียบงบการเงินให้อยู่ในรูปร้อยละ (Common-size Statement) ทั้งนี้ การวิเคราะห์นี้จะไม่รวมถึงธนาคารที่มีขนาดของสินทรัพย์และรายได้ที่ใหญ่กว่า SCNB อย่างมาก โดยตั้งบนพื้น ฐานความเข้าใจโดยทั่วไปว่าธนาคารที่มีขนาดแตกต่างกันจะมีความแตกต่างทั้งทางด้านระดับของต้นทุน ลักษณะ ของลูกค้า และกลยุทธ์ทางธุรกิจ ดังนั้นตามหลักการที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น ธนาคารพาณิชย์ทั้งสี่แห่งนี้จึงได้ถูก เลือกมาเป็นธนาคารที่ใช้ในการเปรียบเทียบในการวิเคราะห์ผลประกอบการ ธนาคารทั้งสี่นั้นคือ ธนาคารยูโอบี รั ตนสิน จำกัด (มหาชน) (UOBR) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) (NBANK) ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) (BT) และธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) (BOA) การวิเคราะห์ได้ใช้ตัวเลขผลประกอบการของ ธนาคารทั้งสี่แห่งระหว่างปี 2545 ถึง 2547 ในปี 2546 ธนาคารไทยมีจำนวน 13 แห่ง ในขณะที่ปี 2547 มีธนาคาร ไทยมีจำนวน 12 แห่ง เนื่องจากการควบรวมกิจการกันของธนาคารดีบีเอสไทยทนุ จำกัด (มหาชน) (DTDB) และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) จากการเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินจะเห็นว่า ผลการดำเนินงานของ SCNB อยู่ในระดับที่ดีกว่าเมื่อเปรียบ เทียบกับธนาคารอีกสี่แห่ง เนื่องจากเหตุผลสามประการดังนี้ ประการแรก: SCNBได้แสดงให้เห็นถึงผลประกอบการที่ดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบทางด้านส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย และอัตรารายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ (net interest margin) อย่างไรก็ดีอัตราการวัดประสิทธิภาพการบริหาร ยังคงอยู่ในระดับปานกลาง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นของธนาคารจึงสูงกว่าธนาคารกลุ่มเปรียบเทียบ อัตราส่วน SCNB กลุ่มเปรียบเทียบ (สูงสุดและต่ำสุด) อัตราส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย: ธ.ค. 2547 7% 1% - 3% ธ.ค. 2546 5% 0% - 3% ธ.ค. 2545 4% (1%) - 3% อัตราการวัดประสิทธิภาพการบริหาร: ธ.ค. 2547 66% 56% - 90% ธ.ค. 2546 68% 56% - 95% ธ.ค. 2545 73% 42% - 99% อัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น: ธ.ค. 2547 16% 3% - 8% ธ.ค. 2546 18% (45%)- 14% ธ.ค. 2545 13% (30%) - 17% ประการที่สอง: ธนาคารมีฐานเงินกองทุนที่มั่นคงซึ่งพิจารณาได้จากอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้นที่ต่ำกว่า และอัตราเงินกองทุนที่ใกล้เคียงกับธนาคารกลุ่มเปรียบเทียบ อัตราส่วน SCNB กลุ่มเปรียบเทียบ (สูงสุดและต่ำสุด) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ธ.ค. 47 12 เท่า 6.2 เท่า 29.4 เท่า อัตราเงินกองทุน ธ.ค. 47 13% 11% - 26% ประการที่สาม: SCNB มีอัตราการทำกำไรที่เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอมาตั้งแต่ปี 2545 ซึ่งจะเห็นได้จากการเติบโต ของผลกำไรอย่างต่อเนื่อง และการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เหมาะสม ตามรายงานการตรวจสอบประจำปี ของธปท. เมื่อปี 2547 SCNB มีการตั้งตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เพียงพอ ธนาคารในกลุ่มเปรียบเทียบบางธนาคาร มีผลกำไรที่ค่อนข้างไม่สม่ำเสมอสืบเนื่องจากการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวนมากระหว่างปี 2545 ถึงปี 2546 ซึ่งจะเห็นได้จากกรณีของ BOA และ BT เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรม SCNB ยังคงมีผลประกอบการอยู่ในระดับที่ดี เนื่องจาก (1) SCNB มีส่วน ต่างอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า (2) SCNB มีอัตราส่วนวัดประสิทธิภาพการบริหารที่ดีขึ้น ถึงแม้ว่ามีอัตราที่ค่อนข้างสูง (3) มีอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นที่ค่อนข้างสูงและสม่ำเสมอ และ (4) มีอัตราส่วนเงินกองทุนที่เพียงพอและมั่นคง อัตราส่วน SCNB อุตสาหกรรม (ธนาคาร 12 แห่ง)* ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย: ธ.ค. 47 7% 3% ธ.ค. 46 5% 2% ธ.ค. 45 4% 2% อัตราส่วนวัดประสิทธิภาพการบริหาร ธ.ค. 47 66% 38% ธ.ค. 46 68% 45% ธ.ค. 45 73% 48% อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น ธ.ค. 47 16% 16% ธ.ค. 46 18% 10% ธ.ค. 45 13% 4% อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ธ.ค. 47 12 เท่า 12 เท่า อัตราเงินกองทุน ธ.ค. 47 13% 12% หมายเหตุ: เนื่องจากการรวมกิจการของ DTDB และTMB ทำให้จำนวนธนาคารไทยลดลงจาก 13 แห่งเป็น 12 แห่งในปี 2547 อาจสรุปได้ว่า SCNB ได้แสดงผลการดำเนินงานที่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นด้วยการบริหารส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยและ อัตราส่วนวัดประสิทธิภาพการบริหาร ธนาคารมีเงินกองทุนที่เพียงพอสำหรับการขยายสินเชื่อในอนาคต ถึงแม้ว่า การแข่งขันของธนาคารพาณิชย์จะมีแนวโน้มที่สูงขึ้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกล ยุทธ์การเน้นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ชัดเจนของ SCNB จะส่งผลให้ธนาคารอยู่ในสถานะที่สามารถแข่งขันและได้ เปรียบเมื่อภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ภาพรวมของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด 1.1 ภาพรวมของธุรกิจ SCB มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ประกอบธุรกิจการให้บริการทางการเงิน ครอบคลุมทั้งบุคคลธนกิจ (Consumer Banking) และสถาบันธนกิจ (Wholesale Banking) โดยบริการบุคคลธนกิจจะครอบคลุมถึงการให้ บริการทางด้านบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ บริการรับฝากเงิน และบริการบริหารการลง ทุนแก่ลูกค้าบุคคล และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำหรับบริการสถาบันธนกิจ ให้บริการแก่ลูกค้านิติบุคคล และสถาบันในส่วนของสินเชื่อเพื่อการค้า การบริการจัดการด้านการเงิน บริการให้สินเชื่อ บริการรับฝากหลัก ทรัพย์ บริการธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ บริการออกตราสารหนี้ และบริการบรรษัทธนกิจ SCB ดำเนินการจัดตั้งสาขาในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2437 จนถึงปัจจุบัน SCB Bangkok Branch ได้มีการให้ บริการทางด้านการเงินครอบคลุมแก่ลูกค้านิติบุคคล สถาบัน และลูกค้าบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ SCB Bangkok Branch ได้มุ่งเน้นการให้บริการสถาบันธนกิจเป็นหลัก ปัจจุบัน SCB เป็นธนาคารต่างประเทศชั้นแนวหน้า มีพนักงานทั้งสิ้นกว่า 30,000 คน จาก 500 สาขาใน 50 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตเอเชียแปซิฟิก เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง อัฟริกาและอเมริกา SCB ได้นำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งลอนดอนและฮ่องกง โดยเป็นบริษัทที่มีมูลค่าตลาดโดยรวม ติดอันดับ 1 ใน 25 ของดัชนีไฟแนนเชียลไทมส์100 (FTSE-100) ทั้งนี้ มูลค่าตลาดโดยรวมของ SCB ในตลาดหลัก ทรัพย์แห่งลอนดอน และตลาดหลักทรัพย์แห่งฮ่องกง ณ สิ้นปี พ.ศ. 2547 มีจำนวนเท่ากับ 11,401.28 ล้านปอนด์ส เตอร์ลิง (ประมาณ 849,700 ล้านบาท) และ 169,777.88 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 847,100 ล้านบาท) ตาม ลำดับ SCB เป็นธนาคารที่ได้รับการยอมรับจากลูกค้าในธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างมีศักยภาพ และมีเป้าหมายที่จะ เป็นธนาคารคู่คิดของลูกค้า โดยการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ในความรู้ความชำนาญที่สั่งสมมานาน SCB ได้รับความไว้วางใจในการที่มีมาตรฐานของการกำกับดูแลองค์กรที่ดี และการให้คำมั่นสัญญาในการที่จะ สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่ด้วยการบริการที่เป็นเลิศ 1.2 แผนธุรกิจของ SCNB ภายหลังการทำคำเสนอซื้อ ภายหลังจากการได้มาซึ่งหุ้นสามัญของ SCNB เพิ่มเติมจาก FIDF ทำให้ SCB มีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่มีอำนาจ โดยเด็ดขาด จากการเข้าครอบครองหุ้นเป็นจำนวนทั้งสิ้นร้อยละ 99.97 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมด SCB มีความประสงค์ที่จะยังคงประกอบธุรกิจของ SCNB เช่นในปัจจุบันต่อไป ทั้งนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง กรรมการบางท่านของธนาคารซึ่งเป็นตัวแทนจาก FIDF ภายหลังจากการซื้อหุ้นของ SCNB ทั้งหมดจาก FIDF แล้ว SCNB จะยังคงมุ่งเน้นการให้บริการทางด้านบุคคลธนกิจ โดยเฉพาะในส่วนของสินเชื่อบุคคล และสินเชื่อ รายย่อยไม่มีหลักประกัน ซึ่งให้อัตราผลตอบแทนสูงและเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของโครงสร้างรายได้ของ ธนาคาร SCB มีแผนที่จะรวมกิจการของธุรกิจที่ให้บริการรับฝากเงินในกลุ่ม SCB ที่ดำเนินกิจการอยู่ในประเทศไทยทั้ง หมด อันได้แก่ SCB Bangkok Branch และ SCB BIBF เข้าไปรวมกับ SCNB ให้เสร็จสิ้นภายในปี 2548 SCB Bangkok Branch มุ่งเน้นการให้บริการทางด้านสถาบันธนกิจ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้แก่ บริษัทและสถาบันนานา ชาติ ที่ธนาคารสามารถให้บริการทางด้านสินเชื่อธุรกิจ (Commercial banking products) ซึ่งครอบคลุมถึง การ ให้ สินเชื่อ การบริหารจัดการเงินสด และการบริหารเงินและตลาดทุน (Global market) อันได้แก่ บริการธุรกรรมเงิน ตราต่างประเทศ สัญญาสิทธิซื้อ/ขายเงินตราต่างประเทศ (Options) ตราสารอนุพันธ์ และตลาดตราสารหนี้ SCB Bangkok Branch เป็นธนาคารชั้นแนวหน้าในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการการให้บริการเพื่อตอบสนองความ ต้องการของลูกค้าและช่วยลูกค้าในการบริหารความเสี่ยงด้านดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน ภายหลังจากการรวม กิจการ SCNB มีเป้าหมายที่จะเป็นธนาคารที่ให้บริการครบวงจรในประเทศไทยที่ให้บริการทางด้านการเงินเต็ม รูปแบบแก่ลูกค้าบุคคลและสถาบัน SCNB สามารถขยายบริการทางด้านสถาบันธนกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย การนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการบริหารเงินและตลาดทุนที่หลากหลาย นอกจากนี้ SCNB จะสามารถขยายธุรกิจโดย การนำผลิตภัณฑ์และบริการไปสู่ฐานลูกค้าของ SCB Bangkok Branch เช่นเดียวกับการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ผ่านเครือข่ายและสาขาของ SCB ที่มีอยู่ทั่วโลก สำหรับรายละเอียดของแผนการดำเนินธุรกิจหลังการรวมกิจการ ยังคงอยู่ภายใต้การจัดทำของผู้บริหาร การวิเคราะห์แผนธุรกิจ ภายหลังจาก SCB ได้มาซึ่งหุ้นสามัญของ SCNB เพิ่มเติมจาก FIDF และการทำคำเสนอซื้อ SCNB จะยังคงถูก บริหารโดยกลุ่มผู้บริหารเดิม และจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในการประกอบธุรกิจ การดำเนินการ และนโยบาย แผนดำเนินการภายใต้นโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบที่ได้ยื่นต่อธปท.ไปแล้วนั้น ยังอยู่ใน ระหว่างการพิจารณาอนุมัติ นอกจากนี้ ยังไม่มีข้อสรุปใดๆในส่วนของรูปแบบการโอนและราคาที่จะโอน หาก แผนดำเนินการดังกล่าว ได้รับการอนุมัติโดย ธปท. และกระทรวงการคลังแล้ว การรวมกิจการคาดว่าจะเสร็จสิ้น ภายในปี 2548 ซึ่งภายใต้นโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบนี้ การรวมกิจการของธุรกิจที่ให้บริการรับฝากเงินใน กลุ่ม SCB ทั้งหมดเข้าด้วยกันกับ SCNB น่าจะส่งผลให้ SCNB สามารถขยายบริการธุรกิจทางด้านการเงิน และ ฐานลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไป การรวมกิจการของธุรกิจขนาดใหญ่จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการปรับปรุงองค์กรใหม่ และอาจจะเกิด ผลกระทบต่อผลการดำเนินงานในระยะสั้น อย่างไรก็ตามการรวมกิจการของกลุ่ม SCB ในครั้งนี้แตกต่างจาก กรณีทั่วไป เนื่องจากว่า ทั้ง SCNB, SCB Bangkok Branch และ SCB BIBF ต่างอยู่ภายใต้การบริหารงานโดย กลุ่ม ของ SCB เหมือนกัน และมีการบริหารงานภายใต้นโยบายที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้นการรวมกิจการดังกล่าวจึงไม่น่า จะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของ SCNB ภายใต้แผนการรวมกิจการ SCB มีความประสงค์จะทำการรวมกิจการให้บริการการรับฝากเงินของธุรกิจที่ดำเนิน งานในประเทศไทย ซึ่งรวมถึง ทรัพย์สิน และหนี้สินของ SCB Bangkok Branch และ SCB BIBF ณ 31 ธันวาคม 2547 มูลค่าทางบัญชีของ SCB Bangkok Branch (รวมทั้ง SCB BIBF) มีมูลค่าทางบัญชีของส่วนผู้ถือหุ้น เท่ากับ 22,753.8 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นรายการระหว่างธนาคารกับสำนักงานใหญ่ และสาขาในต่าง ประเทศอื่นๆ เป็นจำนวน 17,514.6 ล้านบาท SCNB อาจต้องเพิ่มทุนในอนาคต เพื่อนำเงินมาซื้อทรัพย์สิน และ หนี้สิน ของ SCB Bangkok Branch และ SCB BIBF ถ้าการเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่เสนอขายให้แก่นักลงทุน แบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement) ผู้ถือหุ้นรายย่อยจะถูกปรับลดสัดส่วนการถือครองหุ้น ในกรณีเป็นการ เพิ่มทุนโดยวิธีการออกหุ้นใหม่เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม (Rights Offering) ผู้ถือหุ้นรายย่อยจะต้องลงทุนหาก ต้องการรักษาสัดส่วนการถือครองหุ้นให้คงเดิมไว้ แม้ว่าการรวมกิจการนั้นอาจจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายบางประการ เช่น การลดต้นทุนการดำเนิน งาน การเพิ่มส่วนแบ่งตลาด การขยายขอบเขตสินค้าและการให้บริการ และการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายและ ความชำนาญของ SCB แต่ที่ปรึกษาทางการเงินเห็นว่าผลประโยชน์เหล่านี้จะเกิดขึ้นในระยะปานกลางและระยะ ยาว ภายหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการรวมกิจการอย่างสมบูรณ์แล้ว ทั้งนี้ที่ปรึกษาทางการเงินไม่สามารถให้ความเห็นต่อแผนการดำเนินงานระยะยาวหลังการรวมกิจการได้ เนื่องจาก รายละเอียดของแผนกลยุทธ์เพื่อการเติบโตของธนาคารหลังการรวมกิจการยังอยู่ระหว่างการจัดทำโดยผู้บริหาร และการรวมกิจการอาจทำให้นโยบายธุรกิจและแผนการดำเนินงานของ SCNB เปลี่ยนไป การประเมินราคาเสนอซื้อ ในการประเมินความเหมาะสมของราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์ของ SCNB ที่ปรึกษาทางการเงินได้พิจารณาแนวทาง การประเมินมูลค่าที่นิยมใช้กันทั่วไป 3 แนวทาง คือ ราคาหุ้นเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามปริมาณการซื้อขายย้อนหลัง (Historical volume weighted average trading price) การประเมินมูลค่าจากฐานรายได้ (Income based) และการ ประเมินมูลค่าจากฐานราคาตลาด (Market based) อย่างไรก็ตามที่ปรึกษาทางการเงินมิได้เลือกใช้การประเมิน ราคา สำหรับแนวทางแรกในรายงานฉบับนี้โดยมีเหตุผลดังต่อไปนี้ ? ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ขึ้นเครื่องหมาย NP (Notice Pending) ต่อหลักทรัพย์จด ทะเบียนของ SCNB ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2543 สาเหตุเนื่องจากไม่มีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจ สอบ (Audit Committee) ตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งแม้ภายหลังคณะ กรรมการของ SCNB จะได้ทำการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบแล้วก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยยังคงขึ้นเครื่องหมาย SP ต่อหลักทรัพย์จดทะเบียนของ SCNB ต่อไปจนกว่าจะได้มี การแก้ไขสัดส่วนการหมุนเวียนของหุ้นให้เป็นไปตามที่ตลท.กำหนดไว้ ดังนั้น ที่ปรึกษาทางการ เงินจึงมีข้อจำกัดในส่วนของราคาหลักทรัพย์ที่ทำการซื้อขายในอดีตที่สามารถสะท้อนมูลค่าที่แท้ จริงของ SCNB อย่างไรก็ตาม ธุรกิจของธนาคารเป็นธุรกิจที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของ ธปท. และมีมาตรฐานการรายงานที่ เทียบเคียงกันได้ รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างพอเพียง ดังนั้น ที่ปรึกษาทางการเงินจึงได้พิจารณาว่า การ ประเมินมูลค่าจากฐานราคาตลาด และการประเมินมูลค่าจากฐานรายได้เป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดตามสถาน การณ์ ซึ่งที่ปรึกษาทางการเงินได้ประเมินมูลค่าโดย 2 วิธี คือ วิธีส่วนลดกระแสเงินสด และวิธีประเมินมูลค่าจาก ฐานราคาตลาด ผลการคำนวณทั้ง 2 วิธีได้แสดงให้เห็นว่า ราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่ 22.00 บาทต่อหุ้น เป็นราคาที่ ยุติธรรมและสมเหตุสมผล ดังรายละเอียดที่ระบุไว้ในรายงานส่วนต่อไป 1.1 การประเมินมูลค่าจากฐานรายได้: วิธีส่วนลดกระแสเงินสด (เงินปันผล) หรือ (DDM) โดยทั่วไปผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะได้รับผลตอบแทนจากเงินลงทุนในรูปแบบของ เงินปันผล ดังนั้น มูลค่าปัจจุบันของหุ้นสามารถคำนวณได้จากเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นคาดว่าจะได้รับจากบริษัทใน อนาคต โดยไม่จำกัดเวลา ตามที่ได้แสดงไว้ในสมการดังต่อไปนี้ มูลค่าปัจจุบันของหุ้น (ต่อหุ้น) = โดย; DPS = เงินปันผลที่คาดว่าจะได้รับต่อหุ้น ณ เวลา t = อัตราตอบแทนของผู้ถือหุ้น สำหรับกรณีที่อัตราการเติบโตของเงินปันผลมีลักษณะคงที่ไปตลอด สมการดังกล่าวข้างต้นจะอยู่ในรูปแบบของ สมการการเติบโตแบบกอร์ดอน (Gordon Growth Model) ต่อไปนี้ มูลค่าปัจจุบันของหุ้น (ต่อหุ้น) = โดยที่ g คืออัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยทั่วไป กรณีที่อัตราการเติบโตของเงินปันผลไม่สามารถดำรงไว้ หรือคงไว้ซึ่งการเติบโตแบบคงที่ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (ช่วงอัตราการเติบโตแบบไม่สม่ำเสมอ) อาจสามารถ สันนิษฐานได้ว่า อัตราการเติบโตจะเป็นไปแบบคงที่ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต ในกรณีนี้ อัตราการเติบโต คงที่ที่ร้อยละ 3 เป็นค่าเฉลี่ยของอัตราเงินเฟ้อในประเทศไทยในช่วง 10 ปี (2539 - 2548) (ข้อมูลจาก ธปท.) ได้ ถูกนำมาใช้ในการประเมินมูลค่า นอกจากนี้ สมการ CAPM (Capital Asset Pricing Model) ได้ถูกนำมาใช้ในการคำนวณหาอัตราตอบแทนของผู้ ถือ หุ้น หรืออัตราส่วนลด (Discount Rate) ซึ่งอัตราส่วนลดของธุรกิจที่ให้บริการทางด้านการเงินจะต้องสะท้อนถึง ความเสี่ยงของผู้ถือหุ้น ซึ่งไม่สามารถถูกกำจัดได้โดยการกระจายการลงทุนในรูปแบบที่หลากหลายโดยนักลงทุน ความเสี่ยงนี้ถูกประมาณโดยใช้ตัวแปร เบต้า เพียงหนึ่ง (ที่ปรากฏอยู่ในสมการ CAPM) หรือมากกว่าหนึ่ง (ที่ ปรากฏอยู่ในสมการหลายตัวแปร หรือ Arbitrage pricing model) CAPM = Rf + (Rm - Rf) โดย; Rf = อัตราตอบแทนของผู้ลงทุนที่มีไม่มีความเสี่ยง โดยคิดจากผล ตอบแทน เฉลี่ยของพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป (ในที่นี้คือ อัตราร้อยละ 5.077 ) = เบต้า (ตัวแปรที่ใช้วัดความผันผวนของอัตราตอบแทนจากการ ลงทุนในหลักทรัพย์ใดๆ เปรียบเทียบกับความผันผวนของอัตรา ตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ในที่นี้ใช้ข้อมูลจาก Bloomberg ซึ่งเป็นการคำนวณโดยใช้ข้อมูลในอดีตย้อนหลัง 104 สัปดาห์ คิดเป็น 1.0208 ) Rm = คาดการณ์อัตราตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ (ในที่นี้ใช้ข้อมูลจาก Bloomberg ซึ่งเป็น Implied Market Rate โดย Bloomberg คำนวณด้วยวิธี DDM และใช้ข้อมูลประมาณ การแบบต่อเนื่อง (Infinity) และราคาปัจจุบันของหลักทรัพย์ที่ จดทะเบียนใน ตลท. แล้วจึงนำมาคำนวณอัตราผลตอบแทนดัง กล่าว ซึ่งในที่นี้คือ ร้อยละ 17.59) ในกรณีนี้ ที่ปรึกษาทางการเงินใช้ค่า CAPM ที่คำนวณได้มาเป็นค่ากลาง และกำหนดค่าสูงและต่ำ โดยบวกและ ลบร้อยละ 1 ตามลำดับจากค่ากลาง กล่าวโดยสรุปอัตราส่วนลดที่ใช้ในการคำนวณอยู่ในช่วงร้อยละ 16.85 ถึงร้อย ละ 18.85 อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดบางประการในการประเมินมูลค่าจากฐานรายได้ดังต่อไปนี้ ก) SCNB มีส่วนขาดทุนสะสม และไม่สามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ ดังนั้น ประมาณการของเงินปันผล ที่คาดว่าจะได้รับอยู่ภายใต้สมมติฐานที่ว่า ประมาณการส่วนเกินจากการสำรองเงินกองทุนขั้นที่ 1 ที่ร้อยละ 9.5 (ซึ่งเป็นเป้าหมายของ SCNB) จะถูกนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลทั้งหมดร้อยละ 100 ได้โดยทางทฤษฎี หากการ จ่ายเงินปันผลต่ำกว่าร้อยละ 100 มูลค่ายุติธรรมที่ประเมินได้ภายใต้วิธีส่วนลดกระแสเงินสดนี้ จะมีมูลค่าลดลง ไปอีก ข) ข้อจำกัดของข้อมูลที่ใช้ในการประเมินมูลค่า เป็นข้อมูลประมาณการเฉพาะในส่วนของงบกำไรขาดทุนที่จัด ทำโดยผู้บริหาร ซึ่งยังมิได้รวมผลกระทบจากการรวมกิจการกับ SCB Bangkok Branch และ SCB BIBF จากการประเมินราคาด้วยวิธีส่วนลดกระแสเงินสด (DDM) แสดงให้เห็นมูลค่าหุ้นของ SCNB อยู่ในช่วงราคา หุ้นละ 12.18 บาทถึง 14.16 บาท ดังนั้น ราคาเสนอซื้อที่หุ้นละ 22.00 บาท จึงเป็นราคาที่สูงกว่าราคาตามวิธีการ ประเมินมูลค่าจากฐานรายได้นี้ 1.2 การประเมินมูลค่าจากฐานราคาตลาด: วิธีอัตราส่วนราคาตลาด (Market Multiple) ที่ปรึกษาทางการเงินได้พิจารณา วิธีในการกำหนดราคาตามอัตราส่วนราคาตลาด (Pricing Multiple) ด้วยกัน 2 วิธี ซึ่งประกอบด้วย อัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อมูลค่าทางบัญชี (Price to Book Multiple) และอัตราส่วน ราคาตลาด เฉลี่ยต่อกำไรสุทธิ (Price to Earnings Multiple) อัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อมูลค่าทางบัญชีของกลุ่มธนาคาร พาณิชย์ไทย เป็นวิธีประเมินมูลค่าจากฐานราคาตลาดที่นำมาเลือกใช้ในการพิจารณากำหนดราคายุติธรรมของหุ้น SCNB ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ ? อัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อมูลค่าทางบัญชีจะสะท้อนถึงคุณภาพของสินทรัพย์ได้ดีกว่าวิธีอื่น ซึ่ง สินทรัพย์ทางการเงินส่วนใหญ่ อาทิ เงินให้สินเชื่อและเงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการ ของตลาด ได้ถูกบันทึกด้วยมูลค่าตลาดที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้น นอกจากนี้ธนาคารจะต้องดำรงอัตรา เงินกองทุนขั้นต่ำตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่อัตราร้อยละ 8.50 ? โดยทั่วไป แต่ละธนาคารจะมีนโยบายในการสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่แตกต่างกัน ดัง พิจารณาได้จากผลกำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีความผันผวนค่อนข้างมาก เนื่องมาจาก การสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การใช้วิธีอัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อ กำไรสุทธิอาจมีความผันผวนได้อย่างมาก จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ที่ปรึกษาทางการเงินมีความเห็นว่า วิธีอัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อมูลค่าทางบัญชี จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมในการนำมาใช้คำนวณหามูลค่ายุติธรรมมากกว่า วิธีอัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อกำไรสุทธิ อัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อมูลค่าทางบัญชี ภายใต้วิธีการประเมินมูลค่าจากฐานราคาตลาด แสดงให้เห็นมูลค่า หุ้นของ SCNB อยู่ในช่วงราคาหุ้นละ 10.73 บาท จนถึง 18.13 บาท ดังนั้น ราคาเสนอซื้อที่หุ้นละ 22.00 บาท จึง เป็นราคาที่สูงกว่าราคาตามวิธีการประเมินมูลค่าจากฐานราคาตลาดนี้ หัวข้อต่อไปนี้จะแสดงรายละเอียดของราคาหุ้น SCNB ตามวิธีการประเมินมูลค่าด้วยวิธีอัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ย ต่อมูลค่าทางบัญชี และวิธีอัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อกำไรสุทธิ วิธีอัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อมูลค่าทางบัญชี (Price to Book Value Multiple) โดยทั่วไป อัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อมูลค่าทางบัญชีจะสะท้อนให้เห็นราคาส่วนเกินจากมูลค่าทางบัญชี (หรือ มูลค่าสุทธิของทรัพย์สิน) ซึ่งเป็นที่รับรู้ของตลาด สำหรับธุรกิจกลุ่มธนาคารพาณิชย์ของไทย การพิจารณาใช้วิธีประเมินมูลค่าจากฐานราคาตลาดของกลุ่มธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไทย และการประเมินราคาของ SCNB ทั้ง 2 วิธี ได้อ้างอิงจากพื้นฐานราคาซื้อขายเฉลี่ยในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 17 มกราคม 2548 ถึงวันที่ 11 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นวันที่ก่อนที่จะได้ยื่นคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ มูลค่าทางบัญชีของกลุ่มธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และ SCNB ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 ได้ถูกนำมาใช้ในการคำนวณ (มูลค่าทางบัญชีของ SCNB ณ 31 ธันวาคม 2547 เท่ากับ 7.25 บาทต่อหุ้น) เนื่องจากงบการเงินสำรับไตรมาสแรก ของปี 2548 ที่สอบทานโดยผู้สอบบัญชี ยังไม่ได้เผยแพร่ต่อสาธารณะ ผลการคำนวณปรากฏตามตารางต่อไปนี้ ราคาเฉลี่ย 14 วัน 23/3/05-11/4/05 ราคาเฉลี่ย 30 วัน 1/3/05-11/4/05 ราคาเฉลี่ย 60 วัน 17/1/05-11/4/05 อัตราส่วนราคาเฉลี่ยต่อราคาตามบัญชี (เท่า) 1.48 1.50 1.54 ราคาหุ้นของ SCNB ที่คำนวณได้ (บาท/หุ้น) 10.73 10.88 11.17 Note: การคำนวณอัตราส่วนราคาเฉลี่ยต่อราคาตามบัญชีข้างต้นไม่ได้รวม UOBR และ SCNB เนื่องจากการถูกระงับ การซื้อขายชั่ว คราว รายการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมา (Recent Transactions): ในช่วงเดือน สิงหาคม 2547 ที่ผ่านมา ธนาคารยูไนเต็ดโอเวอร์ซีส์ จำกัด (UOB) ได้เสนอซื้อหุ้นของ BOA ราย ละเอียด ปรากฏ ดังตารางต่อไปนี้ การเสนอซื้อหุ้นของ BOA โดย UOB (สิงหาคม 2547) การเสนอซื้อหุ้นของ UOBR โดย UOB (ประกาศเมื่อ 14 มีนาคม 2548) อัตราส่วนราคาเฉลี่ยต่อราคาตามบัญชี (เท่า) 1.85 2.50 ราคาหุ้นของ SCNB ที่คำนวณได้ (บาท/หุ้น) 13.41 18.13 Note: อัตราส่วนราคาเฉลี่ยต่อราคาตามบัญชีต่อหุ้นของ BOA คำนวณจากราคาตามบัญชีต่อหุ้น ณ 31 ธันวาคม 2546 ณ วันที่ 14 มีนาคม 2548 UOB ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายในการเข้าซื้อหุ้นของ UOBR เพิ่มจาก FIDF ที่ราคา 14.15 บาทต่อหุ้น ราคาที่เสนอซื้อนี้มีพื้นฐานมาจากมูลค่าสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของ UOBR ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 หรือมีมูลค่า 2.50 เท่า ของมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นของ UOBR หากนำอัตราส่วนราคาเสนอซื้อต่อราคาตามบัญชีของ UOBR มาประยุกต์ใช้กับ SCNB มูลค่าหุ้นที่เหมาะสมของ SCNB ควรจะเท่ากับ 18.13 บาทต่อหุ้น ตามวิธีประเมินมูลค่าจากอัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อมูลค่าทางบัญชีและรายการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ในช่วงที่ ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ราคาหุ้น SCNB อยู่ในช่วงราคาหุ้นละ 10.73 บาท จนถึง 18.13 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาเสนอ ซื้อที่ราคาหุ้นละ 22.00 บาท อัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อกำไรสุทธิ (Price to Earnings Multiple) ที่ปรึกษาทางการเงินได้ใช้กำไรสุทธิของกลุ่มธุรกิจธนาคารพาณิชย์ สำหรับปีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 และประมาณการกำไรสุทธิของ SCNB ในปี 2548 (ประมาณกำไรสุทธิต่อหุ้นของ SCNB ในปี 2548 เท่ากับ 1.79 บาทต่อหุ้น) ในการประเมินมูลค่า ผลสรุปของ อัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อกำไรสุทธิปรากฏตามตารางดังนี้ ราคาเฉลี่ย 14 วัน 23/3/05-11/4/05 ราคาเฉลี่ย 30 วัน 1/3/05-11/4/05 ราคาเฉลี่ย 60 วัน 17/1/05-11/4/05 อัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อกำไรสุทธิ (เท่า) 9.84 9.86 10.02 ราคาหุ้นของ SCNB ที่คำนวณได้ (บาท/หุ้น) 17.61 17.65 17.94 Note: การคำนวณอัตราส่วนราคาเฉลี่ยต่อราคาตามบัญชีข้างต้นไม่ได้รวม UOBR และ SCNB เนื่องจากการถูกระงับ การซื้อขายชั่ว คราว รายการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมา (Recent Transactions): การเสนอซื้อหุ้นของ BOA โดย UOB (สิงหาคม 2547) การเสนอซื้อหุ้นของ UOBR โดย UOB (ประกาศเมื่อ 14 มีนาคม 2548) อัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อกำไรสุทธิ (เท่า) 14.86 101.07 ราคาหุ้นของ SCNB ที่คำนวณได้ (บาท/หุ้น) 26.60 180.91 Note: อัตราส่วนราคาเฉลี่ยต่อกำไรสุทธิต่อหุ้นของ BOA คำนวณจากกำไรสุทธิต่อหุ้น ณ 31 ธันวาคม 2546 เมื่อเปรียบเทียบราคาเสนอซื้อหุ้นของ UOBR โดย UOB จาก FIDF ต่อกำไรสุทธิของ UOBR ของปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2547 จะได้ว่าอัตราส่วนของราคาเสนอซื้อต่อกำไรสุทธิเท่ากับ 101.07 เท่า ที่ปรึกษาทางการเงินมีความ เห็นว่าอัตราส่วนนี้ไม่เหมาะสมที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการคำนวณหามูลค่ายุติธรรมของ SCNB เนื่องจากมีอัตรา ส่วนที่ผิดไปจากอัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อกำไรสุทธิของกลุ่มธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ดังนั้น ตามวิธีประเมินมูลค่าจากอัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อกำไรสุทธิ แสดงให้เห็นว่า ราคาหุ้น SCNB อยู่ใน ช่วงราคาหุ้นละ 17.61 บาท จนถึง 17.94 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาเสนอซื้อที่ราคาหุ้นละ 22.00 บาท หากนำรายการ ได้ มาซึ่งหลักทรัพย์ของ BOA โดย UOB เข้ามาพิจารณาด้วย ราคาเสนอซื้อที่ราคาหุ้นละ 22.00 บาท จะเป็นราคาเฉลี่ย ในช่วงราคาหุ้นละ 17.61 บาท ถึง 26.60 บาท ความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ปรึกษาทางการเงินเสนอแนะว่าผู้ถือหุ้นรายย่อยของ SCNB ควรรับคำเสนอซื้อ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลต่างๆดังต่อไปนี้ ? ราคาเสนอซื้อที่ 22.00 บาทต่อหุ้น เป็นราคาที่เหมาะสมและสมเหตุสมผล เนื่องจากเป็นราคาที่ สูงกว่าราคาตามทฤษฎี คือ ราคาตามวิธีอัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อราคามูลค่าทางบัญชี (Price to Book Multiple) และ ราคาตามวิธีอัตราส่วนราคาตลาดเฉลี่ยต่อกำไรสุทธิ (Price to Earnings Multiple) ซึ่งอยู่ในช่วงราคาหุ้นละ 10.73 บาท ถึง 18.13 บาท และ ราคาหุ้นละ 17.61 บาท ถึง 17.94 บาท ตามลำดับ และราคาเสนอซื้อดังกล่าวยังค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบ กับราคาตามวิธีส่วนลดกระแสเงินสด : เงินปันผล (Dividend Discounted Model or DDM) ซึ่งอยู่ในช่วงราคาหุ้นละ 12.18 บาท ถึง 14.16 บาท ? ภายหลังจาก SCB ได้มาซึ่งหุ้นสามัญของ SCNB เพิ่มเติมจาก FIDF SCB จะมีสถานะเป็นผู้ถือ หุ้นรายใหญ่ที่ถือหุ้นถึงร้อยละ 99.97 ของหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของ SCNB ทั้งนี้ SCB ไม่มีความประสงค์ที่จะเพิกถอนหลักทรัพย์ SCNB จากการเป็นหลักทรัพย์ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ภายในระยะเวลา 12 เดือน นับจาก วันสิ้นสุดของระยะเวลาการเสนอซื้อ อย่างไรก็ตามในอนาคต SCNB จะต้องแก้ไขเรื่องจำนวน หุ้นที่หมุนเวียนใน ตลท. (Free Float of Shares) เพื่อให้เป็นไปตามกฏระเบียบของ ตลท. ปัจจุบันตลท. ยังคงขึ้นเครื่องหมาย ห้ามซื้อขาย (SP) SCNB ดังนั้นผู้ถือหุ้นจึงไม่สามารถ ขายหุ้นในกระดานปกติหากมีความประสงค์ที่จะลดสัดส่วนการถือครองหุ้นดังกล่าว การตก ลงรับคำเสนอซื้อในครั้งนี้ถือเป็นทางออกให้กับผู้ถือหุ้นที่ประสงค์จะขายหุ้น ? SCB จะมีอำนาจโดยเด็ดขาดในการบริหารและควบคุม SCNB หลังจากการได้มาซึ่งหุ้นสามัญของ SCNB เพิ่มเติมจาก FIDF การตัดสินใจทางด้านธุรกิจส่วนใหญ่นั้น จำเป็นต้องได้รับมติอนุมัติจากที่ ประชุมผู้ถือหุ้น สามารถกระทำได้โดยอาศัยเสียงของผู้ถือหุ้นใหญ่เพียงรายเดียวคือ SCB แม้ว่าใน ปัจจุบัน SCB ไม่มีความประสงค์จะเพิกถอน SCNB จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลท. อย่าง ไรก็ตามในอนาคต ผู้ถือหุ้นรายใหญ่จะสามารถมีมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อเพิกถอน SCNB จากการ เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนได้โดยผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่มีจำนวนเสียงเพียงพอที่จะคัดค้าน ? ผลการดำเนินงานในอดีตของ SCNB แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตที่ดีและสม่ำเสมอ การเพิ่มสัด ส่วนการถือหุ้นของ SCB นั้นจะไม่มีผลกระทบอย่างเป็นสาระสำคัญต่อนโยบายและการดำเนินงานของ SCNB อย่างไรก็ตาม SCB มีแผนจะทำการรวมกิจการที่ให้บริการการรับฝากเงินของกลุ่ม SCB ที่ ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้นโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ ตามแผนการพัฒนาระบบสถาบัน การเงินของ ธปท. ซึ่งจะเป็นการโอนกิจการของ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด สาขากรุงเทพฯ (SCB Bangkok Branch) และสำนักกิจการวิเทศธนกิจกรุงเทพฯ (SCB BIBF) ไปยัง SCNB ซึ่งเป็นแกนนำ ในการรวมกิจการซึ่งคาดว่าจะ เป็นผลให้ SCNB สามารถขยายธุรกิจได้ตามแผนการรวมกิจการซึ่งอยู่ใน ระหว่างการพิจารณาของ ธปท. และกระทรวงการคลัง โดยทั่วไป การรวมกิจการของธุรกิจขนาดใหญ่ จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนองค์กรใหม่ และอาจจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานใน ระยะสั้น อย่างไรก็ตามการรวมกิจการในครั้งนี้มีความแตกต่างจากกรณีทั่วไป เนื่องจากว่า ทั้ง SCNB, SCB Bangkok Branch และ SCB BIBF ต่างอยู่ภายใต้การบริหารงานโดยกลุ่มของ SCB เหมือนกัน และ มีการบริหารงานภายใต้นโยบายที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้นการรวมกิจการดังกล่าวจึงไม่น่าจะมีผลกระทบต่อ ผลการดำเนินงานของ SCNB ? ภายใต้แผนการรวมกิจการ SCB มีความประสงค์จะทำการรวมกิจการที่ให้บริการการรับฝากเงินของ ธุรกิจที่ดำเนินงานในประเทศไทย ซึ่งรวมถึง ทรัพย์สิน และหนี้สินของ SCB Bangkok Branch และ SCB BIBF ณ 31 ธันวาคม 2547 มูลค่าทางบัญชีของ SCB Bangkok Branch (รวมทั้ง SCB BIBF) มี มูลค่าทางบัญชีเท่ากับ 22,753.8 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นรายการระหว่างธนาคารกับสำนักงานใหญ่ และสาขาในต่างประเทศอื่นๆ เป็นจำนวน 17,514.6 ล้านบาท ดังนั้นหากเกิดการรวมกิจการในอนาคต SCNB อาจจะต้องเพิ่มทุนเพื่อนำเงินมาซื้อทรัพย์สินและหนี้สิน ของ SCB Bangkok Branch และ SCB BIBF ถ้าหากการเพิ่มทุนเป็นในรูปแบบการออกหุ้นใหม่เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement) ผู้ถือหุ้นรายย่อยจะถูกปรับลดสัดส่วนการถือครองหุ้นลง ในกรณีที่การเพิ่มทุน เป็นแบบวิธีการออกหุ้นใหม่เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม (Rights Offering) ผู้ถือหุ้นรายย่อยจะต้องลง ทุนเพิ่มหากต้องการจะรักษาสัดส่วนการถือครองหุ้นให้คงเดิมไว้ เอกสารแนบ งบการเงินของธนาคารแสตนดาร์ดชาร์เตอร์นครธน จำกัด (มหาชน) กลุ่มธนาคารที่มีขนาดใกล้เคียงกัน และงบการ เงินรวม 12 ธนาคารพาณิชย์ของไทย สำหรับงวดสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2545 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2547 งบการเงินรวม - งบดุล (ล้านบาท) SCNB SCNB SCNB BOA BOA BOA BT BT BT UOBR UOBR UOBR NBANK NBANK NBANK ธ.ค.45 ธ.ค.46 ธ.ค.47 ธ.ค.45 ธ.ค.46 ธ.ค.47 ธ.ค.45 ธ.ค.46 ธ.ค.47 ธ.ค.45 ธ. ค.46 ธ.ค.47 ธ.ค.45 ธ.ค.46 ธ.ค.47 เงินสด และ รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน 1,985 3,579 7,536 14,215 17,787 26,492 38,313 29,056 18,504 1,196 5,821 7,097 2,764 1,496 22,685 เงินลงทุน 3,359 2,696 9,960 22,176 25,752 13,957 19,753 37,968 37,322 3,154 3,430 2,939 14,296 24,098 19,173 เงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับ 59,747 58,101 48,716 115,353 123,401 119,571 141,581 129,285 138,199 44,923 46,183 42,352 33,494 33,029 31,158 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (5,394) (5,239) (5,371) (8,945) (15,440) (14,016) (25,781) (26,801) (26,052) (587) (683) (728) (903) (1,382) (1,212) เงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับ-สุทธิ 54,352 52,863 43,344 106,408 107,960 105,555 115,800 102,484 112,147 44,336 45,500 41,624 32,592 31,647 29,947 ทรัพย์สินรอการขาย-สุทธิ 75 24 16 13,515 13,937 13,003 11,017 9,713 9,219 240 142 86 1,297 626 700 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ 2,300 2,073 1,865 2,767 3,118 3,068 3,073 3,183 2,734 1,115 831 820 116 116 118 สินทรัพย์อื่น 517 449 922 2,190 1,960 1,787 82,714 74,760 51,907 672 457 440 235 322 321 รวมสินทรัพย์ 62,589 61,684 63,643 161,271 170,514 163,862 270,670 257,164 231,833 50,714 56,182 53,005 51,300 58,305 72,944 เงินฝาก 51,571 46,156 46,396 138,455 141,981 138,034 195,215 196,290 184,516 35,022 43,536 32,090 37,187 41,706 45,019 รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน 5,530 9,703 10,608 1,895 4,055 3,055 17,966 19,469 32,425 10,764 7,329 12,742 1,753 1,783 1,379 เงินกู้ยืมระยะสั้น - - - 8 900 501 2,045 595 545 - - - - 150 262 เงินกู้ยืมระยะยาว - - - 4,917 4,015 2,012 2,760 2,760 2,870 - - - - 4,994 16,427 รวมเงินกู้ยืม - - - 4,925 4,915 2,512 4,804 3,354 3,414 - - - - 5,144 16,689 หนี้สินอื่น 1,872 1,487 1,562 4,267 4,965 5,027 41,858 31,366 3,857 857 958 848 3,603 906 956 รวมหนี้สิน 58,974 57,346 58,566 149,542 155,916 148,627 259,843 250,479 224,211 46,644 51,823 45,679 42,542 49,539 64,044 ทุนเรียกชำระและส่วนเกินทุน (ส่วนต่างมูลค่าหุ้น) 7,003 7,003 7,003 39,809 39,809 39,809 11,637 10,995 11,760 9,847 9,847 12,847 8,916 8,443 8,443 ส่วนเกินทุน (ขาดทุน) อื่น 255 251 225 283 1,330 1,205 (951) (403) (667) 61 264 70 1,077 (98) (311) กำไร (ขาดทุน) สะสม (3,643) (2,915) (2,150) (28,362) (26,542) (25,779) 141 (3,907) (3,471) (5,838) (5,752) (5,590) (1,236) 420 769 รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 3,615 4,339 5,078 11,729 14,597 15,235 10,826 6,685 7,622 4,070 4,359 7,326 8,757 8,766 8,901 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 62,589 61,684 63,643 161,271 170,514 163,862 270,670 257,164 231,833 50,714 56,182 53,005 51,300 58,305 72,944 รายการนอกงบดุล - ภาระผูกพันทั้งสิ้น 33,614 37,302 28,682 96,189 140,780 113,077 48,861 128,319 132,129 53,465 59,443 52,354 876 1,827 9,312 หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ 1,408 1,367 2,671 20,021 23,012 18,962 8,667 8,020 7,172 1,182 1,687 1,941 1,490 1,929 2,622 รายได้ดอกเบี้ย 4,296 4,109 4,800 5,893 5,578 5,166 4,617 3,906 4,108 1,921 2,270 2,264 1,856 1,813 1,539 รายได้เงินปันผล 214 87 113 774 650 727 5,243 4,031 2,310 92 151 135 438 692 789 รวมรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผล 4,510 4,195 4,913 6,668 6,229 5,893 9,860 7,937 6,419 2,012 2,421 2,399 2,294 2,505 2,328 ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย 1,481 944 665 3,026 2,383 1,768 7,447 5,821 3,766 1,212 806 555 1,284 1,368 1,213 รวมรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผล - สุทธิ 3,029 3,251 4,249 3,642 3,846 4,125 2,413 2,116 2,652 800 1,614 1,844 1,011 1,137 1,115 หนี้สูญ 672 644 1,152 4,456 (58) 1,198 5 2,373 - 248 386 431 362 461 57 ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิจากหนี้สูญ 2,358 2,607 3,096 (815) 3,904 2,927 2,408 (256) 2,652 552 1,229 1,413 649 676 1,057 รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย 1,046 1,041 1,406 2,468 2,603 2,749 3,042 1,595 1,636 783 557 515 256 643 252 ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ย 2,959 2,928 3,738 4,683 4,689 4,916 3,543 5,275 3,743 1,529 1,699 1,767 512 899 759 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 445 721 764 (3,030) 1,818 761 1,907 (3,936) 546 (194) 86 161 393 420 551 ที่มา: งบการเงินที่ตรวจสอบแล้ว อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ SCNB SCNB SCNB BOA BOA BOA BT BT BT UOBR UOBR UOBR NBANK NBANK NBANK ธ.ค.45 ธ.ค.46 ธ.ค.47 ธ.ค.45 ธ.ค.46 ธ.ค.47 ธ.ค.45 ธ.ค.46 ธ.ค.47 ธ.ค.45 ธ. ค.46 ธ.ค.47 ธ.ค.45 ธ.ค.46 ธ.ค.47 อัตราส่วนแสดงความสามารถในการทำกำไร อัตรากำไรสุทธิ 8% 14% 12% (33%) 21% 9% 15% (41%) 7% (7%) 3% 6% 15% 13% 21% อัตราดอกเบี้ยรับโดยเฉลี่ย 7% 7% 8% 5% 4% 4% 3% 3% 3% 4% 5% 5% 5% 5% 4% อัตราดอกเบี้ยจ่ายโดยเฉลี่ย 2% 2% 1% 2% 2% 1% 3% 3% 2% 3% 2% 1% 4% 3% 2% ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย 4% 5% 7% 3% 3% 3% (1%) (0%) 1% 2% 3% 3% 2% 2% 1% อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น 13% 18% 16% (30%) 14% 5% 17% (45%) 8% (6%) 2% 3% 5% 5% 6% อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 7% 3% 2% 5% 4% 5% 8% 4% 4% 9% 7% 4% 6% 6% 4% อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน อัตรารายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ 4.6% 5.2% 6.8% 2.3% 2.3% 2.5% 0.9% 0.8% 1.1% 1.5% 3.0% 3.4% 2.2% 2.1% 1.7% อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ 0.7% 1.2% 1.2% (1.9%) 1.1% 0.5% 0.7% (1.5%) 0.2% (0.4%) 0.2% 0.3% 0.9% 0.8% 0.8% อัตราเติบโตของสินเชื่อ* 2% 6% 27% 5% 7% (3%) 12% 7% 31% (7%) 3% (8%) 9% (1%) (6%) อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ 8% 8% 10% 6% 5% 5% 5% 4% 3% 5% 6% 5% 6% 6% 4% อัตราส่วนการวัดประสิทธิภาพการบริหาร 73% 68% 66% 74% 75% 68% 77% 95% 90% 99% 79% 76% 42% 56% 56% *ไม่รวมสินเชื่อภายใต้สัญญาการจัดการ อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 16.3 13.2 11.5 12.7 10.7 9.8 24.0 37.5 29.4 11.5 11.9 6.2 4.9 5.7 7.2 อัตราส่วนเงินให้กู้ยืมต่อเงินฝาก interbank และเงินกู้ยืม 1.05 1.04 0.85 0.79 0.82 0.83 0.65 0.59 0.63 0.98 0.91 0.94 0.86 0.68 0.49 อัตราส่วนเงินให้กู้ยืมต่อเงินฝาก 1.16 1.26 1.05 0.83 0.87 0.87 0.73 0.66 0.75 1.28 1.06 1.32 0.90 0.79 0.69 อัตราส่วนเงินฝากต่อหนี้สินรวม 0.87 0.80 0.79 0.93 0.91 0.93 0.75 0.78 0.82 0.75 0.84 0.70 0.87 0.84 0.70 อัตราส่วนคุณภาพสินทรัพย์ อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อรวม 9% 9% 11% 8% 13% 12% 18% 21% 19% 1% 1% 2% 3% 4% 4% อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้** 93% 84% 46% 45% 67% 74% 81% 90% 90% 50% 40% 38% 61% 72% 46% อัตราส่วนการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 1.12% 1.11% 2.37% 3.86% (0.05%) 1.00% 0.00% 1.84% - 0.55% 0.83% 1.02% 1.08% 1.39% 0.18% หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินทรัพย์รวม 2% 2% 4% 12% 13% 12% 3% 3% 3% 2% 3% 4% 3% 3% 4% หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม** 5% 5% 8% 17% 19% 16% 14% 13% 9% 3% 4% 5% 4% 6% 8% ** ไม่รวมสินเชื่อภายใต้สัญญาการจัดการเฉพาะ SCNB และ BT อัตราเงินกองทุนขั้นที่ 1 10% 12% 11% 9% 9% 12% 20% 13% 11% 14% 13% 19% 23% 22% 23% อัตราเงินกองทุน 11% 13% 13% 13% 13% 15% 21% 14% 11% 14% 13% 19% 32% 27% 26% ที่มา: การวิเคราะห์ของดีลอยท์ งบการเงินรวม - งบดุลและงบกำไรขาดทุน (ล้านบาท) ธนาคาร 13 แห่ง ธนาคาร 13 แห่ง ธนาคาร 12 แห่ง ธ.ค.45 ธ.ค.46 ธ.ค.47 เงินสด และ รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน 686,857 701,936 735,095 เงินลงทุน 948,688 1,046,246 951,725 เงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับ 4,168,054 4,369,492 4,691,189 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (440,362) (430,484) (412,774) เงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับ-สุทธิ 3,727,692 3,939,008 4,278,415 ทรัพย์สินรอการขาย-สุทธิ 152,901 147,275 169,811 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์-สุทธิ 107,177 106,256 128,728 สินทรัพย์อื่น 156,568 181,400 160,838 รวมสินทรัพย์ 5,779,882 6,122,122 6,424,612 เงินฝาก 4,913,423 5,114,323 5,306,309 รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน 152,894 187,219 279,802 เงินกู้ยืมระยะสั้น 5,837 21,776 - เงินกู้ยืมระยะยาว 232,647 210,411 - รวมเงินกู้ยืม 238,484 232,187 218,252 หนี้สินอื่น 155,322 154,715 125,580 รวมหนี้สิน 5,460,123 5,688,444 5,929,943 ทุนเรียกชำระและส่วนเกินทุน (ส่วนต่างมูลค่าหุ้น) 508,600 523,872 432,544 ส่วนเกินทุน (ขาดทุน) อื่น 75,886 85,111 60,043 ส่วนต่างจากการแปลงค่าทางการเงิน 657 กำไร (ขาดทุน) สะสม (264,726) (175,304) 1,425 รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 319,760 433,678 494,669 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 5,779,882 6,122,122 6,424,612 ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย รายได้ดอกเบี้ย 200,617 192,436 197,736 รายได้เงินปันผล 32,494 32,822 31,140 รวมรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผล 233,112 225,258 228,876 ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย 129,076 103,108 69,596 รวมรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผล - สุทธิ 104,036 122,150 159,280 หนี้สูญ 45,424 41,514 30,835 ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิจากหนี้สูญ 58,612 80,636 128,445 รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย 64,004 75,164 75,735 ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ย 111,608 116,265 127,697 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 11,008 39,535 76,483 ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ ธนาคาร 13 แห่ง ธนาคาร 13 แห่ง ธนาคาร 12 แห่ง ธ.ค.45 ธ.ค.46 ธ.ค.47 อัตราส่วนแสดงความสามารถในการทำกำไร อัตรากำไรสุทธิ 4% 13% 25% อัตราดอกเบี้ยรับโดยเฉลี่ย 4% 4% 4% อัตราดอกเบี้ยจ่ายโดยเฉลี่ย 2% 2% 1% ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย 2% 2% 3% อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น 4% 10% 16% อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 4% 3% 5% อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน อัตรารายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ 1.8% 2.1% 2.5% อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ 0.2% 0.7% 1.2% อัตราเติบโตของสินเชื่อ 21% 5% 8% อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ 5% 5% 5% อัตราส่วนการวัดประสิทธิภาพการบริหาร 48% 45% 38% อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 17.1 13.1 12.0 อัตราส่วนเงินให้กู้ยืมต่อเงินฝาก interbank และเงินกู้ยืม 0.79 0.79 0.81 อัตราส่วนเงินให้กู้ยืมต่อเงินฝาก 0.85 0.85 0.88 อัตราส่วนเงินฝากต่อหนี้สินรวม 0.90 0.90 0.89 อัตราส่วนคุณภาพสินทรัพย์ อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อรวม 11% 10% 9% อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ 63% 73% 73% อัตราส่วนการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 1% 1% 0% หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินทรัพย์รวม 12% 10% 9% หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม 17% 14% 12% อัตราเงินกองทุนขั้นที่ 1 9% 10% 9% อัตราเงินกองทุน 13% 13% 12% ที่มา: การวิเคราะห์ของดีลอยท์ |