13:33:22 PM
  หัวข้อข่าว : SUPER :สรุปข้อสนเทศ : SUPER

                                                                              - สรุปข้อสนเทศ -  

                                                      บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน) (SUPER)
 
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่   
         170/86 ชั้นที่ 31 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ซอยสุขุมวิท 16 (สามมิตร) แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์ (662) 261-3615 โทรสาร (662) 261-3619 Home Page www.superblock.co.th

ที่ตั้งโรงงาน       
         9/1 หมู่11 ถนนสิงห์บุรีปากดง ตำบลบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี โทรศัพท์ (036) 535-370 ถึง 1 
โทรสาร (036) 535-372

เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน      เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2548 (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 19 เมษายน 2548)

ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน   
         หุ้นสามัญ  300,000,000  หุ้น  มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท  รวม 300 ล้านบาท  แบ่งเป็นหุ้นสามัญเดิม 210,000,000 
หุ้น และ หุ้นสามัญเพิ่มทุน 90,000,000 หุ้น

ตลาดรอง                               ตลาดหลักทรัพย์

ราคาเสนอขาย                       4.90 บาท

ประเภทกิจการและลักษณะการดำเนินงาน                                  
         บริษัทดำเนินการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบา (Autoclaved Aerated Concrete) เกรด 4 ซึ่งได้รับการ
รับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ของกระทรวงอุตสาหกรรม  ผลิตภัณฑ์ของบริษัทประกอบด้วย บล๊อกก่อผนัง 
แผ่นผนังสำเร็จรูป และ เสาเอ็นทับหลังสำเร็จรูป ภายใต้เครื่องหมายการค้า "ซุปเปอร์บล๊อก" โดยใช้เครื่องจักรเทคโนโลยี
ของ WEHRHAHN จากประเทศเยอรมนี นอกจากนี้บริษัทยังจำหน่ายวัสดุก่อฉาบ ซึ่งใช้เป็นปูนก่อและปูนฉาบสำหรับ
คอนกรีตมวลเบาโดยเฉพาะ รวมทั้งจำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สำหรับคอนกรีตมวลเบา ผลิตภัณฑ์จาก
ซุปเปอร์บล๊อกสามารถใช้ทดแทนงานก่ออิฐมอญฉาบปูนได้ทั้งหมด ผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาของบริษัทได้ผ่านการ
รับรอง   มาตรฐานอุตสาหกรรม  (มอก.1505-2541) เป็นรายแรกในประเทศไทย และได้รับการรับรองมาตรฐาน 
ISO 9001:2000 เป็นแห่งแรกและรายเดียวของผู้ผลิตคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำในประเทศไทย 

         ปัจจุบันบริษัทมีโรงงานเพื่อทำการผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาโรงงานที่ 1 และโรงงานที่ 2 ตั้งอยู่ จังหวัด
สิงห์บุรี บนเนื้อที่ 58 ไร่ (โรงงานที่ 2 ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับโรงงานที่ 1) ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่สำหรับเก็บกองทราย
โรงบดแร่ โรงบดทราย  โรงซ่อมบำรุง และโรงผลิตคอนกรีตมวลเบา โดยโรงงานที่ 1 มีกำลังการผลิตสูงสุด ณ สิ้นปี 
2547 ปีละประมาณ 2.30 ล้านตารางเมตรต่อปี และโรงงานที่ 2 คาดว่าจะเริ่มผลิตในไตรมาส 2 ปี 2548 ซึ่งจะทำให้
กำลังการผลิตของบริษัทเมื่อรวม 2 โรงงานจะเพิ่มเป็น 4.6 ล้านตารางเมตร นอกจากนี้ บริษัทมีแผนจะสร้างโรงงาน
ที่ 3 บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย โดยภายหลังจากสร้างโรงงานที่ 3 แล้วเสร็จ บริษัทจะมีกำลังการผลิตคอนกรีต
มวลเบาสูงสุด 5.75 ล้านตารางฟุต  โดยคาดว่าโรงงานที่ 3 จะสร้างเสร็จและทดสอบการผลิตในไตรมาส 3 ปี 2548

         นอกจากนี้บริษัทยังมีแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญได้แก่ แหล่งทรายเป็นของบริษัทเองซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับ
ที่ตั้งของโรงงาน แหล่งทรายดังกล่าวมีพื้นที่ประมาณ 187 ไร่ ประกอบด้วยทรายที่มีคุณภาพที่เหมาะสมต่อการผลิต
คอนกรีตมวลเบา  

         ผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาของบริษัทจำหน่ายในประเทศเกือบทั้งหมด โดยมีสินค้าเพียงบางส่วนส่งไป
เวียดนาม (ประมาณร้อยละ 0.33 ของยอดขายรวม) ช่องทางการจำหน่ายหลักของบริษัทแบ่งเป็น 2 ช่องทาง ดังนี้
         (1)  จำหน่ายโดยตรงต่อลูกค้า สัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของยอดขายรวม  ทั้งนี้ ลูกค้าที่ซื้อสินค้ากับบริษัท
โดยตรงมีทั้งลูกค้าที่ซื้อสินค้าไปใช้งานในโครงการของตนเอง ได้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 
ผู้รับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ กลาง และ เล็ก  และ
         (2)  จำหน่ายผ่านร้านค้าที่ขายอุปกรณ์เกี่ยวกับการก่อสร้าง สัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของยอดขายรวม โดย
ร้านค้า   ดังกล่าวประกอบธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกอุปกรณ์เกี่ยวกับก่อสร้างอาคารและที่อยู่อาศัยแบบครบวงจร และได้
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อไปจำหน่ายต่อ ปัจจุบันบริษัทมีร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทประมาณ 624 รายในทุกภาคทั่ว
ประเทศ 

         คุณสมบัติพิเศษผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบา ได้แก่  1) สามารถทนไฟได้นานถึง 4 ชั่วโมง   2) การเก็บความเย็น  
3)ความแข็งแกร่ง และสามารถรองรับแรงอัดได้ได้ไม่น้อยกว่าประมาณ 50 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร หรือ บล๊อก
ก่อผนังขนาดมาตรฐาน 60*20*7.5 เซนติเมตร จะรับน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า 18 ตัน 4) น้ำหนักของผลิตภัณฑ์ที่เบาเพียง
90 กิโลกรัมต่อตารางเมตร 5) เลื่อยตัดแต่งได้ง่าย 6) การเก็บเสียงสามารถเก็บเสียงได้ดี
 
         สำหรับวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตได้แก่ ทราย ซีเมนต์ ปูนขาว และสารกระจายฟองอากาศ โดยหนึ่งในวัตถุดิบ
ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ทรายโดยบริษัทมีแหล่งทรายอยู่บริเวณห่างจากโรงงานเพียง 4 กิโลเมตร  ซึ่งคุณภาพเหมาะสมในการ
ผลิตคอนกรีตมวลเบา  สำหรับซีเมนต์ และปูนขาว สามารถจัดหาได้ในประเทศ ส่วนของสารกระจายฟองอากาศ บริษัท
นำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย  

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี)          ไม่มี

สรุปสาระสำคัญของสัญญา                  ไม่มี

การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ    ไม่มี

การได้รับความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการจัดการ        ไม่มี

โครงการดำเนินงานในอนาคต  
         บริษัทมีโครงการจะสร้างโรงงานที่ 3 ในภาคใต้ของประเทศไทย โดยได้จัดตั้งบริษัท ซุปเปอร์บล๊อกเซาท์ จำกัด ซึ่ง
เป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดยบริษัทร้อยละ 99.99 เพื่อผลิตบล็อกก่อผนัง แผ่นผนังสำเร็จรูป และ เสาเอ็นทับหลังสำเร็จรูป
โดยมีกำลังการผลิตประมาณ 1.15 ล้านตารางเมตรต่อปี โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 265 ล้านบาท โดยแบ่งค่าที่ดิน
ประมาณ 40 ล้านบาท เครื่องจักรและอุปกรณ์ประมาณ 210 ล้านบาท และอื่น ๆ ประมาณ 15 ล้านบาท  ทั้งนี้ บริษัทจะนำ
เงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนในครั้งนี้เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับโรงงานที่ 3  ปัจจุบัน บริษัทอยู่ระหว่างดำเนินการ
จัดหาที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงงานและจัดหาเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ซึ่งประมาณการว่าจะได้ข้อสรุปในเรื่องดังกล่าวภายใน
ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 และคาดว่าจะสามารถทดสอบการผลิตประมาณไตรมาส 3 ปี 2548  โดยคาดว่าระยะเวลาที่คาดว่า
ระยะเวลาที่เริ่มดำเนินการการผลิตเพื่อจำหน่ายประมาณไตรมาส 4 ปี 2548

รายการระหว่างกันที่เกิดระหว่างบริษัทกับบุคลลที่อาจมีความขัดแย้งในปี 2547        
ลักษณะความสัมพันธ์ 
บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์                                              ลักษณะความสัมพันธ์กับบริษัท
บจ.ซองแลนด์(ชื่อเดิม บจ.วิคตอรี่ เอส)             (1)   กรรมการของ บจ.ซองแลนด์ (นางสาว พรพรรณ สุขสมบูรณ์วงศ์ 
                                                                                 ประกอบกิจการการค้าวัสดุก่อสร้างสมบูรณ์วงศ์)  เป็นก
รรมการ
                                                                                 ของบจ.ซุปเปอร์บล๊อก ทั้งนี้ คุณพรพรรณ สุขสมบูรณ์วง
ศ์ ได้
                                                                                 สิ้นสุดการเป็นบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ณ วันที่ 9 
มีนาคม 2547
                                                                          (2)  บจ.ซองแลนด์เป็นผู้ถือหุ้นในบจ.ซุปเปอร์บล๊อก ซึ่งได้ข
ายหุ้นให้แก่
                                                                                 บริษัท แอ็ดวานซ์  แอสเซท  แมเนจเม้นท์ เซอร์วิส จำก
ัดโดย 
                                                                                 คุณจอมทรัพย์ โลจายะ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ทั้งนี้ 
บจ.ซองแลนด์ 
                                                                                 ได้สิ้นสุดการเป็นบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ณ วันที่
 9 มีนาคม 2547

บจ. สุพีเรีย บล็อก                                                 (1)  ผู้มีอำนาจบริหารของ บจ.สุพีเรีย บล็อก (นางสาวพรพรรณ 
ประกอบกิจการตั้งโรงงานผลิตคอนกรีตมวลเบา         สุขสมบูรณ์วงศ์) เป็นกรรมการของบจ.ซุปเปอร์ บล๊อก ทั้งนี้ 
                                                                                   บจ. สุพีเรีย บล็อกได้สิ้นสุดการเป็นบุคคลที่อาจมี
ความขัดแย้ง ณ 
                                                                                   วันที่ 9 มีนาคม 2547
บจ.ซุปเปอร์เวิร์ค                                                   (1)  กรรมการของ บจ.ซุปเปอร์เวิร์ค (นายโยธิน  อึ่งกูล) เป็นกรรมก
าร
ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง                                    ของ บจ.ซุปเปอร์บล๊อก ซึ่งได้ลาออกในเดือนธันวาคม 2547

บมจ. เอเวอร์แลนด์                                               (1)  กรรมการของ บจ.พร๊อพเพอร์ตี้แพลนเนอร (นายจอมทรัพย์ โลจายะ 
(ชื่อเดิม บมจ. คันทรี่ (ประเทศไทย)                             เป็นกรรมการและเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบมจ.ซุปเปอร์ บล๊อก
ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์                          ทั้งนี้ นายจอมทรัพย์ โลจายะ ได้ลาออกและสิ้นสุดจากการเป็น
                                                                                    กรรมการของบจ.พร๊อพเพอร์ตี้  แพลนเนอร์ ตั้งแต่เด
ือน
                                                                                   กุมภาพันธ์ 2548 เป็นต้นไป
                                                                            (2)  กรรมการของบจ.พร๊อพเพอร์ตี้แพลนเนอร์ (นายขุมทรัพย์ 
 
                                                                                  โลจายะ) เป็นผู้บริหารของบมจ.ซุปเปอร์ บล๊อก ทั้งนี
้ นายขุมทรัพย์ 
                                                                                  โลจายะ ได้ลาออกและสิ้นสุดจากการเป็นกรรมการของบจ.
                                                                                   พร๊อพเพอร์ตี้ แพลนเนอร์ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2
548 เป็นต้นไป
                                                                            (3)  กรรมการ (นายสวิจักร์ โลจายะ) ของ บจ.พร๊อพเพอร์ตี้ 
แพลนเนอร์
                                                                                   เป็นพี่ชายของกรรมการ และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (นายจอ
มทรัพย์ 
                                                                                  โลจายะ) และเป็นพี่ชายของกรรมการ และรองกรรมการผู้จ
ัดการ 
                                                                                   (นายขุมทรัพย์ โลจายะ) ของ บจ.ซุปเปอร์   บล๊อก วั
นที่ 16 
                                                                                   กรกฎาคม 2544 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้บมจ. เอเว
อร์แลนด์
                                                                                  ฟื้นฟูกิจการ และในวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 ศาลได้แต
่งตั้ง บจ.
                                                                                  พร๊อพเพอร์ตี้ แพลนเนอร์ เป็นผู้บริหารแผน

บจ.วินด์เซอร์ เฮ้าส์                                               (1)  กรรมการของ บจ.วินด์เซอร์ เฮ้าส์  (นางสาวพรพรรณ
(ชื่อเดิม บจ. พิมานเรียลเอสเตท)                                 สุขสมบูรณ์วงศ์)  เป็นกรรมการของบจ.ซุปเปอร์บล๊อก  
ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง                                  ทั้งนี้ คุณพรพรรณ สุขสมบูรณ์วงศ์ ได้สิ้นสุดการเป็นบุคคลที่
                                                                                   อาจมีความขัดแย้ง ณ วันที่ 9 มีนาคม 2547

บจ.พร๊อพเพอร์ตี้ แพลนเนอร์                               (1)  กรรมการของ บจ.พร๊อพเพอร์ตี้แพลนเนอร์       
ประกอบธุรกิจที่ปรึกษา                                              (นายจอมทรัพย์ โลจายะ) เป็นกรรมการและเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ
                                                                                  บมจ.ซุปเปอร์บล๊อก ทั้งนี้ นายจอมทรัพย์ โลจายะ ได้
ลาออกและ
                                                                                  สิ้นสุดจากการเป็นกรรมการของบจ.พร๊อพเพอร์ตี้  แพลน
เนอร์ 
                                                                                  ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2548 เป็นต้นไป
                                                                            (2)  กรรมการของบจ.พร๊อพเพอร์ตี้แพลนเนอร์    (นายขุมทรัพ
ย์  
                                                                                  โลจายะ) เป็นผู้บริหารของบมจ.ซุปเปอร์ บล๊อก ทั้งนี
้  นายขุมทรัพย์ 
                                                                                  โลจายะ ได้ลาออกและสิ้นสุดจากการเป็นกรรมการของบจ.
                                                                                   พร๊อพเพอร์ตี้ แพลนเนอร์  ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 
2548 เป็นต้นไป
                                                                            (3)  กรรมการ (นายสวิจักร์ โลจายะ)ของ บจ.พร๊อพเพอร์ตี้  
แพลนเนอร์
                                                                                   เป็นพี่ชายของกรรมการ และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (นายจอ
มทรัพย์ 
                                                                                   โลจายะ) และเป็นพี่ชายของกรรมการ และรองกรรมการผู้
จัดการ
                                                                                   (นายขุมทรัพย์ โลจายะ) ของ บจ.ซุปเปอร์บล๊อก

                                                                            วันที่ 16 กรกฎาคม 2544 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้บมจ. 
                                                                             เอเวอร์แลนด์  ฟื้นฟูกิจการ และในวันที่ 20 พฤษภาคม 2545
 ศาลได้
                                                                             แต่งตั้งบจ.พร๊อพเพอร์ตี้ แพลนเนอร์ เป็นผู้บริหารแผน 

บจ. ไอ.ที. อีคอมเมิร์ซประกอบกิจการ                 (1)  กรรมการ (มรว.ภูมินทร์ วรรวรรณ) ของ บจ. ไอ.ที. อี คอมเมิร์ซ
ธุรกิจท่องเที่ยว                                                            เป็นน้าของกรรมการ และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (นายจอมทรัพย์ โล
จายะ) 
                                                                                   และเป็นน้าของกรรมการ และรองกรรมการผู้จัดการ (นาย
ขุมทรัพย์ 
                                                                                   โลจายะ) ของ บจ.ซุปเปอร์บล๊อก
                                                                            (2)  ผู้ถือหุ้นใหญ่ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 99.99 (มรว.ภูมินทร
์ วรรวรรณ) ของ 
                                                                                   บจ. ไอ.ที. อีคอมเมิร์ซ เป็นน้าของกรรมการ และผู้ถ
ือหุ้นรายใหญ่ 
                                                                                   (นายจอมทรัพย์ โลจายะ) และเป็นน้าของกรรมการ และรอ
ง
                                                                                    กรรมการผู้จัดการ  (นายขุมทรัพย์ โลจายะ) ของ บจ.
ซุปเปอร์บล๊อก

คุณจอมทรัพย์  โลจายะ                                        (1)   กรรมการ  กรรมการผู้จัดการ และ ผู้ถือหุ้นใหญ่  ของบมจ.
                                                                                    ซุปเปอร์บล๊อก

ลักษณะความสัมพันธ์
การทำรายการกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ และกลุ่มผู้บริหารเดิม
รายได้จากการขาย
บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์   ปี 2547(บาท)                    ราคาและเงื่อนไขของรายการ
บจ. ซองแลนด์                                                 30,224.72        บริษัทขายสินค้าให้ บจ.ซองแลนด์ ซึ่งเป็นบุคคลที่อาจมี
                                                                                                ความขัดแย้ง  ในเดือนมกราคม ถึงมีนาค
ม  โดยราคาและ
                                                                                                เงื่อนไขเดียวเป็นราคาและเงื่อนไขเดี
ยวกันกับราคาและ
                                                                                                เงื่อนไขที่ขายให้ลูกค้าปกติทั่วไป
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ  :  รายการขายสินค้าให้แก่บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ข้างต้น 
                                                                  เป็นรายการค้าปกติ และเป็นรายการที่มีราคาและเงื่อนไขเดียวกันกับที่
ขาย
                                                                  ให้แก่ลูกค้าทั่วไป

ค่าบริการที่ปรึกษา
บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์    ปี 2547(บาท)                     ราคาและเงื่อนไขของรายการ
บจ.ซองแลนด์                                                    200,000         บริษัทจ่ายเงินค่าที่ปรึกษาด้านธุรกิจแก่ บจ. ซองแลนด์
 
                                                                                                 ในเดือนมกราคม และเดือนกุมภาพันธ์  
ทั้งนี้ การตัดสินใจ
                                                                                                จ้างที่ปรึกษาดังกล่าวเป็นการตัดสินใ
จของผู้บริหารที่มา
                                                                                                 จากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมที่ได้ออกจาก
ตำแหน่งแล้ว โดยอัตรา
                                                                                                 ค่าบริการเดือนละ  100,000 บาท  ปัจ
จุบัน บริษัทได้ยกเลิก
                                                                                                 การจ่ายค่าที่ปรึกษาดังกล่าวแล้ว
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ  :  คณะกรรมการตรวจสอบไม่สามารถให้ความเห็นถึงความจำเป็นและความสมเหตุ
                                                                 สมผลของราคาและเงื่อนไขของการเข้าทำรายการข้างต้นได้เนื่องจากการพิจา
รณา
                                                                 เข้าทำรายการดังกล่าวกระทำโดยผู้บริหารเดิมที่มาจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเด
ิม อย่างไร 
                                                                ก็ตามปัจจุบันได้มีการยกเลิกการจ่ายค่าที่ปรึกษาแล้ว 

ค่าเช่าสำนักงาน
บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์     ปี 2547(บาท)                         ราคาและเงื่อนไขของรายการ
บจ.ซองแลนด์                                                     200,000        บริษัทเข้าทำการเช่าพื้นที่สำนักงาน ณ อาคารชุดบ้านเจ้
าพระยา 
                                                                                                เนื้อที่รวม. 428 ตารางเมตร ระยะเวลา
ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 
                                                                                                2544 จนถึง 31 ธันวาคม 2547 โดยผู้ให
้เช่าคิดค่าเช่าเดือนละ 
                                                                                               100,000 บาท  โดยบริษัทรับรู้ค่าเช่าเ
ป็นค่าใช้จ่ายสำนักงาน
                                                                                                สำหรับเดือน มกราคม และกุมภาพันธ์ เป
็นการทำรายการ
                                                                                                กับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง  สำหรับ
เดือนมีนาคมถึง
                                                                                                เดือนธันวาคม บริษัทรับรู้ค่าเช่าพื้
นที่สำนักงานเป็นค่าเช่า
                                                                                                สำนักงานปกติ   เนื่องจากบจ.ซองแลนด์
ได้สิ้นสุดการเป็น
                                                                                                บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งในวันที่ 9 
มีนาคม 2547
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ  :  การพิจารณาเข้าทำรายการดังกล่าวกระทำโดยผู้บริหารที่มาจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม 
                                                                 ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบได้มีการสอบทานและพิจารณามีความเห็นว่าการที่
                                                                 บริษัทเข้าทำสัญญาเช่าสำนักงานกับ บจ.ซองแลนด์ มีความจำเป็นและก่อให้
เกิด
                                                                 ผลประโยชน์ต่อบริษัทในช่วงเวลานั้น  เนื่องจากบริษัทไม่มีอาคารสำนักง
านเป็น
                                                                 ของตนเอง นอกจากนี้คณะกรรมการตรวจสอบได้มีความเห็นต่อความสมเหตุ
                                                                 สมผลของอัตราค่าเช่าว่ามีความเหมาะสมเนื่องจากว่า เป็นอัตราเดียวกับท
ี่ บจ. 
                                                                 ซองแลนด์ให้บริการเช่ากับลูกค้าทั่วไป อีกทั้งอัตราค่าเช่าพื้นที่อาค
ารสำนักงาน
                                                                  ดังกล่าวเมื่อเทียบกับอัตราค่าเช่าสำนักงานในบริเวณใกล้เคียง มีความ
สมเหตุสมผล

ค่าเช่ารถ และค่าเช่ารถจ่ายล่วงหน้า
บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์       ปี 2547(บาท)                     ราคาและเงื่อนไขของรายการ
บจ.ซองแลนด์- ค่าเช่า                                           99,726.03       ราคาและเงื่อนไขการทำสัญญาเช่ารถโบราณเป็นเงื่อนไขที่
                                                                                                    ตกลงกันโดยกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม ซ
ึ่งระยะเวลาสัญญากำหนดเวลา
                                                                                                    เช่า 60 เดือน ตั้งแต่ 24 มิ.ย. 
46 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,000,000 
                                                                                                    บาท โดยบริษัทรับรู้ค่าเช่ารถเป็
นค่าใช้จ่ายของบริษัทสำหรับ
                                                                                                    เดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ เป็นก
ารทำรายการกับบุคคล
                                                                                                    ที่อาจมีความขัดแย้ง  สำหรับเดือ
นมีนาคมถึงเดือนธันวาคม 
                                                                                                    บริษัทรับรู้ค่ารถเป็นค่าเช่ารถป
กติ   เนื่องจากบจ.ซองแลนด์
                                                                                                    ได้สิ้นสุดการเป็นบุคคลที่อาจมีค
วามขัดแย้งในวันที่ 9 มีนาคม 2547

ค่าเช่ารถจ่ายล่วงหน้ายอดยกมาต้นงวด             1,790,684.93
ยอดลดลงระหว่างงวด                                           99,726.03
ยอดคงเหลือสิ้นเหลือ                                       1,690,958.90    
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ  :   การพิจารณาเข้าทำรายการดังกล่าวกระทำโดยผู้บริหารที่มาจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม 
                                                                  และเป็นการทำสัญญามีระยะเวลา 60 เดือน โดยในปี 2546 และปี 2547  ผู้
สอบบัญชีได้
                                                                  ปรับปรุงบัญชีค่าเช่ารถให้สอดคล้องกับระยะเวลาเช่าที่เหลืออยู่โดยบั
นทึกเป็น
                                                                  ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า และดำเนินการตัดจ่ายตามระยะเวลา  ทั้งนี้ คณะกรร
มการ
                                                                  ตรวจสอบไม่สามารถให้ความเห็นต่อความจำเป็นและความสมเหตุสมผลของ
                                                                  การทำสัญญาเช่า และอัตราค่าเช่าได้ 

เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้อง
บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์       ปี 2547(บาท)                       ราคาและเงื่อนไขของรายการ
บจ.สุพีเรีย บล็อก                                                  8,260.00           บริษัทให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้อง
กัน  โดยเป็น
                                                                                                      เงินกู้ที่ไม่มีหลักประกัน และ
ไม่มีการคิดดอกเบี้ย

การเพิ่มขึ้นและลดลงของเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกัน
                                                                                                                      ปี 2547(บาท)
ยอดยกมาต้นปี                                                                                                 8,260.00
เพิ่มขึ้นระหว่างปี                                                                                                    -
ลดลงระหว่างปี                                                                                                      -       
ยอดคงเหลือสิ้นปี                                                                                             8,260.00
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ                                                                               (8,260.00)
เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน                                                           -       
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ  :  การพิจารณาเข้าทำรายการดังกล่าวกระทำโดยผู้บริหารที่มาจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม 
                                                                 โดย บจ.สุพีเรีย บล็อก ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการควบคุมการก่อสร้า
งโรงงานที่1  
                                                                  ทั้งนี้ภายหลังคณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานรายการดังกล่าวพบว่าเป็น
                                                                  รายการที่ไม่มีความเคลื่อนไหวในปี 2547 และบริษัทได้ทำการตั้งค่าเผื
่อ
                                                                   หนี้สงสัยจะสูญทั้งจำนวนแล้ว

                                                                 ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายดำเนินการกับลูกหนี้รายการนี้ โดยจะประเมินควา
มสามารถ
                                                                 ในการชำระคืนหนี้ เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหากบริษัทพิจาร
ณาดำเนินการ
                                                                  ตามกฎหมาย  

เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกัน
บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์  ปี 2547(บาท)                           ราคาและเงื่อนไขของรายการ
นายธนภัทร วงศ์เชวง
ยอดยกมาต้นปี                                                500,000.00      บริษัทให้กู้ยืมระยะยาวเป็นจำนวน 500,000 
เพิ่ม / ลดระหว่างปี                                                  -               บาทโดยบริษัทคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 
ยอดคงเหลือสินงวด                                        500,000.00       ต่อปี  ทั้งนี้ เงินกู้ระยะยาวดังกล่าวจะถึงกำหนดชำระภายใน
                                                                                                ปี 2548  นายธนภัทร วงศ์เชวง เป็นกรร
มการ ของบจ.
                                                                                                ซุปเปอร์บล๊อก ซึ่งเป็นตัวแทนจาก บจ.
ซองแลนด์ โดย
                                                                                                ดำรงตำแหน่งกรรมการ ตั้งแต่ 8 ตุลาคม
 2545 ถึง 5 
                                                                                               กรกฎาคม 2547
 ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ  :  การพิจารณาเข้าทำรายการดังกล่าวกระทำโดยผู้บริหารที่มาจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม 
                                                                  ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบไม่สามารถให้ความเห็นต่อความจำเป็นในการเข้าทำ

                                                                  รายการดังกล่าว อย่างไรก็ตามคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่าอัตรา
                                                                  ดอกเบี้ยที่คิดระหว่างกันมีความสมเหตุสมผลเนื่องจากการที่บริษัทคิดอ
ัตรา 
                                                                  ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ถือว่าเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเง
ินกู้ระยะยาว
                                                                  ของสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทในขณะนั้น ปัจจุบันเงินให้กู้
ยืมระยะยาว
                                                                  แก่บุคคลดังกล่าว ได้มีการรับชำระคืนทั้งจำนวนแล้ว

เจ้าหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน 
บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์    ปี 2547(บาท)                   ราคาและเงื่อนไขของรายการ
บจ.วินด์เซอร์ เฮ้าส์ (ชื่อเดิม บจ. พิมานเรียลเอสเตท)
ยอดยกมาต้นปี                                                 315,000,000      ในปี 2539 บริษัทเข้าทำสัญญาต่างตอบแทนกับบจ.
เพิ่มขึ้น / ลดลงระหว่างปี                                 (315,000,000)     พิมานเรียลเอสเตทเพื่อเป็นค่าตอบแทนในการ
ยอดคงเหลือสินงวด                                                -                   ค้ำประกันภาระหนี้ของบริษัท ต่อสถาบันการเงินซึ่ง

                                                                                                    เป็นเจ้าหนี้ของบริษัท  โดยมีอาย
ุสัญญา 5 ปี มี
                                                                                                    ผลตอบแทนรวม 200 ล้านบาท และมีดอ
กเบี้ยและ
                                                                                                   เบี้ยปรับจำนวน 115 ล้านบาท   
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ  :  การพิจารณาเข้าทำรายการดังกล่าวกระทำโดยผู้บริหารที่มาจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม
                                                                 คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่ารายการดังกล่าวมีความสำคัญและมีความ
                                                                 จำเป็นสำหรับบริษัทในการหาแหล่งเงินทุนเพื่อดำเนินธุรกิจและแก้ไขสภาพ
คล่อง
                                                                  ของบริษัทในช่วงเวลานั้น   นอกจากนี้คณะกรรมการตรวจสอบไม่สามารถให้
                                                                 ความเห็นต่อความสมเหตุสมผลของอัตราผลตอบแทน ได้เนื่องจากไม่สามารถ
                                                                 หาอัตราผลตอบแทนเปรียบเทียบได้ อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 2539 จนถึงปัจจ
ุบัน 
                                                                 บริษัทไม่เคยชำระดอกเบี้ยหรือค่าเบี้ยปรับใด ๆ แก่ บจ.วินด์เซอร์ เฮ้
าส์  และ
                                                                 ภายหลังจากบริษัททำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ กับบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไ
ทย 
                                                                 ในเดือนมิถุนายน 2547 บริษัทได้ยกเลิกสัญญาต่างตอบแทนดังกล่าว และบัน
ทึก
                                                                 รายการดังกล่าวเป็นกำไรจากการยกเลิกสัญญาต่างตอบแทนในงบกำไรขาดทุน
                                                                 สิ้นสุด ณ 30 กันยายน 2547

การทำรายการ กับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่และกลุ่มผู้บริหารกลุ่มใหม่
รายได้จากการขายและลูกหนี้การค้า
บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์      ปี 2547(บาท)                         ราคาและเงื่อนไขของรายการ
บมจ.เอเวอร์แลนด์                                                                      บริษัทขายสินค้าให้ บมจ. .เอเวอร์ในราคาและ
รายได้จากการขาย                                             7,976,960.00     เงื่อนไขเดียวกันกับราคาและเงื่อนไขที่ขายให้ลูกค้า
ลูกหนี้การค้า                                                        236,588.56    ปกติทั่วไป
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ  :  รายการขายสินค้าให้แก่บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ข้างต้น 
                                                                  เป็นรายการค้าปกติ และเป็นรายการที่มีราคาและเงื่อนไขเดียวกันกับที่
ขาย
                                                                 ให้แก่ลูกค้าทั่วไป

เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้อง
บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์      ปี 2547(บาท)                     ราคาและเงื่อนไขของรายการ
บจ.ซุปเปอร์เวิร์ค                                              9,930,975.54     บริษัทให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน  โ
ดย
                                                                                                  เป็นเงินกู้ที่ไม่มีหลักประกัน และ
ไม่มีการคิดดอกเบี้ย

การเพิ่มขึ้นและลดลงของเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกัน
                                                                                             ปี 2547(บาท)
ยอดยกมาต้นปี                                                                     9,939,235.54
เพิ่มขึ้นระหว่างปี                                                                              -       
ลดลงระหว่างปี                                                                                -       
ยอดคงเหลือสิ้นปี                                                                9,939,235.54
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ                                                  (9,939,235.54)
เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน                                     -       
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ  :  การพิจารณาเข้าทำรายการดังกล่าวกระทำโดยผู้บริหารที่มาจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม 
                                                                 โดยบจ.ซุปเปอร์เวิร์ค ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการควบคุมการก่อสร้าง
โรงงานที่1  
                                                                 ทั้งนี้ภายหลังคณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานรายการดังกล่าวพบว่าเป็น
                                                                 รายการที่ไม่มีความเคลื่อนไหวในปี 2547 และบริษัทได้ทำการตั้งค่าเผื่
อหนี้สงสัย
                                                                  จะสูญทั้งจำนวนแล้ว

                                                                 ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายดำเนินการกับลูกหนี้รายการนี้ โดยจะประเมินควา
มสามารถ
                                                                ในการชำระคืนหนี้ เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหากบริษัทพิจารณ
าดำเนินการ
                                                                 ตามกฎหมาย  

การได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์      ปี 2547(บาท)                               ราคาและเงื่อนไขของรายการ
บจ. ไอ.ที. อีคอมเมิร์ช                               นำหลักทรัพย์มาค้ำประกัน      บจ. ไอ.ที. อีคอมเมิร์ช นำหลักทรัพย์ที่ดิน
                                                                 วงเงินกู้  610,000,000 บาท      จำนวน 6 แปลงมาค้ำประกันเงินกู้ให้บ
ริษัททั้งนี้ 
                                                                                                                 จ.ไอ.ที. อีคอมเมิร
์ช ไม่มีนโยบายหรือสัญญาใด ๆ 
                                                                                                                 เกี่ยวกับการคิดค่า
ตอบแทนกับบริษัท
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ  :  คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่าการที่บริษัทได้รับความช่วยเหลือทาง
                                                                  การเงินจาก บจ. ไอ.ที. อีคอมเมิร์ช  บริษัทไม่ได้เสียผลประโยชน์แต่อ
ย่างใด 
                                                                  เนื่องจากบริษัทไม่มีภาระจ่ายค่าตอบแทนสำหรับรายการดังกล่าว นอกจากน
ี้ 
                                                                  หากบริษัทไม่ได้รับความช่วยเหลือตามรายการดังกล่าว บริษัทจะไม่สามาร
ถกู้เงิน
                                                                  ได้ตามวัตถุประสงค์ที่จะต้องนำมาชำระตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ที่ได
้
                                                                  ลงนามกับ บสท.

เงินทดรองกรรมการ
บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์        ปี 2547(บาท)                        ราคาและเงื่อนไขของรายการ
คุณจอมทรัพย์ โลจายะ                                        350,500.00                  กรรมการได้ทดรองจ่ายเงินเพื่อชำระค่าเครื่องจั
กร
                                                                                                               และอุปกรณ์ของโรงงานท
ี่ 2

การเพิ่มขึ้นและลดลงของเงินยืมทดรองกรรมการ
                                                                                 ปี 2547(บาท)
ยอดยกมาต้นปี                                                                  -
เพิ่มขึ้นระหว่างปี                                                   299,679,296.96
ลดลงระหว่างปี                                                    (299,328,796.96)
ยอดคงเหลือสิ้นปี                                                         350,500.00      
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ  :  การที่บริษัทได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากนายจอมทรัพย์ โลจายะ  บริษัท
                                                                 ไม่ได้เสียผลประโยชน์แต่อย่างใด เนื่องจากเป็นเงินทดรองจ่ายที่มิได้ม
ีการคิด
                                                                  ดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนใด ๆ และไม่มีหลักประกันใด ๆ ทั้งสิ้น  ทั้งนี้
 บริษัท
                                                                  จะดำเนินการชำระคืนเงินทดรองกรรมการให้เป็นบางส่วนแล้วในปี 2547 
                                                                  โดยส่วนที่คงค้างทางบริษัทได้ดำเนินการจ่ายชำระคืนภายในเดือนมีนาคม 
2548  
                                                                   คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาและสอบทานแล้ว มีความเห็นว่ารายการ
                                                                  ดังกล่าว มีความจำเป็นและสมเหตุสมผล ทั้งนี้ ณ วันที่  31 มีนาคม 25
48 บริษัท
                                                                 ได้ทำการชำระคืนส่วนคงค้างทั้งจำนวนแล้ว

การได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์                   ปี 2547(บาท)                  ราคาและเงื่อนไขของรายการ
นายจอมทรัพย์  โลจายะ                      - นำหุ้นจำนวน107,100,000 หุ้น           นายจอมทรัพย์  โลจายะ นำหุ้นจำนวน
                                                             เข้าทำการค้ำประกันเงินกู้จำนวน        107,100,000 หุ้น เข้าทำการค้ำประ
กันเงินกู้
                                                             610,000,000บาท                               จำนวน 610,000,000บาท และค
้ำประกันหนี้
                                                          - ค้ำประกันหนี้ดังกล่าวทั้งจำนวน         โดยตนเองทั้งจำนวนทั้งนี้นายจอมทร
ัพย์         
                                                            ด้วยตนเอง (Personal Guarantee)        โลจายะ ไม่มีนโยบายหรือสัญญาใดเกี่
ยวกับ
                                                                                                                       การคิดค่าตอบ
แทนกับบริษัท

ภาระผูกพัน
         ณ 31 ธันวาคม 2547  บริษัทมีภาระผูกพันกับธนาคารและมีภาระผูกพันที่ต้องจ่ายตามสัญญาก่อสร้าง โดยมี
รายละเอียดดังนี้
Letter of Credit ที่ยังไม่ได้ใช้          20.53   ล้านบาท
ธนาคารออกหนังสือค้ำประกัน         1.52  ล้านบาท
ธนาคารอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน         15.65   ล้านบาท
สัญญาซื้อเครื่องจักร                       46.64   ล้านบาท
สัญญาก่อสร้างโรงงาน                   11.12   ล้านบาท

ปัจจัยเสี่ยง
         1.  ความเสี่ยงจากการเข้ามาของคู่แข่งขันรายใหม่
               ธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบา เป็นธุรกิจที่มีคู่แข่งน้อยราย กล่าวคือปัจจุบันมีผู้ประกอบการผลิตเพียง 2 ราย
ได้แก่ บมจ.ซุปเปอร์บล๊อก และ บมจ.ควอลิตี้คอนสตรัคชั่นโปรดัคส์  ผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาเป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง
จึงมีแนวโน้มการเติบโตไปในทิศทางเดียวกับการเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 

               อย่างไรก็ตาม คอนกรีตมวลเบาเป็นวัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพพิเศษ อาทิเช่น การประหยัดพลังงาน ความคงทน และ
คุณสมบัติที่ทนไฟได้นานประมาณ 2 - 4 ชั่วโมง ส่งผลให้ความต้องการใช้คอนกรีตมวลเบามีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
และสูงกว่าการเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมาผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สามารถ
นำคอนกรีตมวลเบามาใช้ทดแทนวัสดุก่อสร้างประเภทอื่นที่ใช้ในอดีต เช่น อิฐมอญหรือกำแพงปูนสำเร็จรูป โดยในปี 2541
ส่วนแบ่งตลาดผนังคอนกรีตมวลเบาเมื่อเปรียบเทียบกับผนังอิฐมอญและผนังอื่นๆ มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 6 และเพิ่มขึ้น
เป็นประมาณร้อยละ 10 ในปี 2544 และร้อยละ 17 ในปี 2547  นอกจากนี้ กระแสของผู้ต้องการซื้อบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในปี 2546 และ 2547 มีความต้องการซื้อบ้านที่สร้างด้วยคอนกรีตมวลเบาสูงขึ้น

               ด้วยเหตุผลที่ความต้องการใช้คอนกรีตมวลเบามีสูงกว่าอัตรากำลังการผลิต ประกอบกับกำไรของผู้ประกอบการ
ทั้งสองรายในปีที่ผ่านมานั้นค่อนข้างสูงจึงทำให้มีนักธุรกิจและนักลงทุนหลายรายสนใจในการเข้ามาลงทุนในธุรกิจผลิต
คอนกรีตมวลเบา  โดยในปี 2548 คาดว่าบริษัท ผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี จำกัด (มหาชน) จะสร้างโรงงานเพื่อผลิตคอนกรีต
มวลเบา  

               สำหรับความต้องการใช้คอนกรีตมวลเบาในปี 2548 ยังมีแนวโน้มสูงกว่าอัตรากำลังการผลิตของผู้ประกอบการ
ผลิตคอนกรีตมวลเบา โดยในปี 2548 ผู้ประกอบการผลิตคอนกรีตมวลเบา 3 รายรวมกัน (รวมกำลังการผลิตของบริษัท 
ผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี จำกัด (มหาชน) ในกรณีที่สามารถผลิตได้เชิงพาณิชย์) จะสามารถผลิตคอนกรีตมวลเบาไม่เกิน 
15 ล้านตารางเมตร  ในขณะที่ บริษัทคาดว่าความต้องการใช้คอนกรีตมวลเบาในปี 2548 จะอยู่ที่ประมาณไม่ต่ำกว่า 19  
ล้านตารางเมตรต่อปี   

              อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการรายใหม่ที่จะเข้ามาลงทุนในธุรกิจประเภทนี้จะต้องประสบกับข้อจำกัดที่สำคัญ 
(Barrier of Entry) ได้แก่ เทคโนโลยีในการผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาเป็นเทคโนโลยีเฉพาะด้าน (Special 
Knowhow) รวมถึงต้องอาศัย ระยะเวลา ประสบการณ์ และการวิจัยสูตรการผลิต (Learning Curve) เพื่อปรับปรุงสูตร
การผลิตให้สามารถผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า สำหรับผู้ประกอบการที่มีเทคโนโลยี 
(Special Knowhow)  ที่ได้มาตรฐานในโลกมีเพียง 2 ราย ได้แก่ บริษัท XCELLA ประเทศเยอรมนี (ซึ่งเกิดจากการ
ควบรวมของ บริษัท HEBEL ประเทศเยอรมนี และบริษัท Y-TONG  ประเทศเยอรมนี) และบริษัท WEHRHAHN 
ประเทศเยอรมนี  

             นอกจากนี้ ธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาเป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนสูง การสร้างโรงงานผลิต จะต้องใช้
เงินลงทุนประมาณ 650 - 800 ล้านบาท อีกทั้งยังต้องใช้เวลาในการสร้างโรงงาน การสั่งซื้อเครื่องจักร และการติดตั้ง
เครื่องจักร รวมถึงการทดสอบการผลิตสินค้าไม่ต่ำกว่า 1 ปี ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินก่อนโรงงานจะสามารถ
ผลิตสินค้าเชิงพาณิย์สูง ดังนั้นการลงทุนจึงมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงในช่วงเริ่มต้นสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่  บริษัท
เชื่อว่าแม้จะมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาในอุตสาหกรรมนี้ อาจจะกระทบต่อบริษัทบ้างแต่ไม่มากนัก เนื่องจากบริษัท
มีศักยภาพในการแข่งขันสูง โดยปัจจุบันสินค้าของบริษัทเป็นสินค้าที่มีคุณภาพระดับสูงสุดในประเทศ บริษัทผลิต
ผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาเกรด 4 ซึ่งเป็นเกรดคอนกรีตมวลเบาที่เป็นที่ต้องการของลูกค้า ทั้งผู้ประกอบการ
อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้แก่ โครงการที่อยู่อาศัย โครงการอาคารสูง ผู้ประกอบการโรงแรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงาน
รัฐบาลซึ่งมีนโยบายในการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ช่วยประหยัดพลังงานและมีความปลอดภัยสูง เช่นวัสดุก่อสร้างที่มี
คุณสมบัติที่สามารถทนไฟได้นาน ผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาของบริษัทยังได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรม เลขที่ มอก.1505-2541 เป็นรายแรกในอุตสาหกรรมคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำ และยังได้รับการรับรอง
มาตรฐาน ISO 9001:2000 เป็นรายแรกและรายเดียวในอุตสาหกรรมคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำ ซึ่งเป็นมาตรฐาน
รับรองคุณสมบัติระดับโลก และบริษัทยังเป็นผู้ประกอบการรายเดียวในประเทศไทยที่สามารถส่งคอนกรีตมวลเบา
เกรด 4 ไปจำหน่ายในต่างประเทศ

             บริษัทเชื่อมั่นว่าความเสี่ยงจากการเข้ามาของคู่แข่งขันรายใหม่มีน้อยมากและ ในกรณีที่มีผู้ประกอบการใหม่
เข้าในอุตสาหกรรมนี้ ก็จะกระทบต่อบริษัทน้อยมากเนื่องจากบริษัทมีศักยภาพในการแข่งขันสูง

         2.   ความเสี่ยงจากความผันผวนด้านราคาของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
               วัตถุดิบที่ต้องใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาประกอบด้วย  ปูนซีเมนต์ ปูนขาว ยิปซั่ม เหล็กเส้น 
สารกระจายฟองอากาศ และทราย  วัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาได้แก่ ปูนขาว ปูนซีเมนต์  
และทราย เนื่องด้วยเป็นสัดส่วนที่ใช้มากเมื่อเทียบกับวัตถุดิบอื่นๆ

              ตั้งแต่บริษัทเริ่มดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาในปี 2539 จนถึงปัจจุบัน บริษัทซื้อปูนขาวจาก
ผู้ประกอบการ 2 ราย และซื้อปูนซีเมนต์จากผู้ประกอบการ 1 รายได้แก่ตัวแทนจำหน่ายของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด 
(มหาชน) โดยในระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา บริษัทและผู้ประกอบการมีความสัมพันธ์ที่ดีมาตลอด บริษัทยังไม่เคยประสบ
ปัญหาในการซื้อปูนขาว และ/หรือ ปูนซีเมนต์ ทั้งทางด้านปริมาณและราคา

             บริษัทคาดว่าแนวโน้มความต้องการใช้ปูนขาวและ/หรือปูนซีเมนต์จะมีสูงขึ้นในอนาคต สืบเนื่องมาจาก  (1) 
การเพิ่มกำลังการผลิตของบริษัทที่เกิดขึ้นจากประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเครื่องจักร (2) การขยายกำลังการผลิต
โรงงานที่ 2 และโรงงานที่ 3 ของบริษัท (3) การขยายกำลังการผลิตของคู่แข่งและ  (4) แนวโน้มของผู้ประกอบการ
รายใหม่ในอนาคต การขยายกำลังการผลิตของแต่ละฝ่ายจะส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนขาว และ/หรือ ปูนซีเมนต์
มากขึ้น อย่างไรก็ตามปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบไม่น่าจะเกิดขึ้นโดยในส่วนของปูนซิเมนต์จากสถิติปริมาณการ
ผลิตปูนซิเมนต์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ( ปี 2544-2546 ) รวมถึงตัวเลขประมาณการของปี 2547 มีมากกว่าปริมาณความ
ต้องการมาโดยตลอด

             สำหรับปูนขาวคาดว่าไม่น่าจะมีปัญหาการขาดแคลนเช่นเดียวกันเนื่องจากในปี 2546 และปี 2547 มีผู้ประกอบการ
รายใหม่ๆที่ผลิตปูนขาวเฉพาะทาง (ปูนขาวที่สามารถนำมาใช้สำหรับการผลิตคอนกรีตมวลเบาเท่านั้น) เพิ่มขึ้นจำนวน 
2 ราย ส่งผลให้มีอุปทานของปูนขาวเพิ่มมากขึ้นในตลาด โดยปริมาณปูนขาวที่เพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับความต้องการใช้ปูนขาว
ในการผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ดังนั้นบริษัทเชื่อว่าโอกาสที่ผู้ประกอบการที่ผลิตปูนขาวเฉพาะ
ทางจะไม่ขายปูนขาวให้กับบริษัทมีน้อยมาก

            แม้ว่าบริษัทจะไม่มีความเสี่ยงด้านการขาดแคลนวัตถุดิบ แต่ในบางช่วงเวลาบริษัทมีโอกาสประสบภาวะความผันผวน
ด้านราคาของวัตถุดิบทั้ง 2 ชนิดเช่นเดียวกับราคาวัสดุก่อสร้างทั่วไปในตลาด  

             บริษัทคาดว่าบริษัทสามารถควบคุมความเสี่ยงด้านความผันผวนของราคาวัตถุดิบได้เนื่องจากบริษัทมีแผนเพื่อป้องกัน
และควบคุมความเสี่ยงจากการขาดแคลนซึ่งส่งผลกระทบต่อการขึ้นราคาของปูนขาว และ/หรือ ปูนซีเมนต์ โดยรายละเอียด
มีดังนี้ 
             (1)   บริษัทได้ดำเนินการซื้อปูนขาวเฉพาะทางจากผู้ประกอบรายอื่นๆเพื่อให้บริษัทไม่ต้องพึ่งผู้ประกอบการเพียง 
2 ราย  นอกจากนี้ ผู้ขายปูนขาวให้บริษัทรายปัจจุบัน ได้ส่งหนังสือเสนอราคาซื้อขายในระยะเวลา 1 ปี ให้แก่บริษัท ซึ่งทำให้
บริษัทสามารถควบคุมราคาซื้อปูนขาวล่วงหน้าได้

             (2)  บริษัทได้ติดต่อกับตัวแทนจำหน่ายปูนซีเมนต์รายอื่นๆ ได้แก่ ตัวแทนจำหน่ายของบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง 
จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ปูนซีเมนต์เอเชีย จำกัด (มหาชน) เพื่อซื้อปูนซีเมนต์ส่งผลให้บริษัทไม่ต้องพึ่งผู้ประกอบการ
รายเดียว

                   ด้วยเหตุผลดังกล่าว  บริษัทคาดว่าความเสี่ยงจากการขาดแคลนซึ่งส่งผลต่อการขึ้นราคาของวัตถุดิบ ปูนขาว 
และปูนซีเมนต์อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถควบคุมได้  

         3.   ความเสี่ยงจากการลงทุนในบริษัทย่อยซึ่งยังไม่มีผลประกอบการในเชิงพาณิชย์
              บริษัทมีแผนที่จะสร้างโรงงานที่ 3 ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย  โดยบริษัทได้ก่อตั้งบริษัท ซุปเปอร์   บล๊อก 
เซาท์ จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 เพื่อดำเนินการโรงงานที่ 3 บริษัทคาดว่าโรงงานที่ 3 จะใช้เงินลงทุน
ประมาณ 265 ล้านบาท (อาคารและที่ดินประมาณ 40 ล้านบาท และเครื่องจักรบางส่วนจากต่างประเทศ และเครื่องจักร
บางส่วนในประเทศไทยประมาณ 210 ล้านบาท และอื่นๆ ประมาณ 15 ล้านบาท) โดยบริษัทจะใช้แหล่งเงินทุนจากการ
เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนในครั้งนี้   อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโรงงานที่ 3 ยังไม่มีการประกอบธุรกิจในเชิงพาณิชย์ 
ดังนั้น บริษัทอาจมีความเสี่ยงด้านการผลิต และด้านการตลาด  กล่าวคือ บริษัทอาจไม่สามารถผลิตได้ตามแผนการลงทุน
ของบริษัท   อย่างไรก็ตามบริษัทเชื่อว่าโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงด้านการผลิต มีไม่มากนัก เนื่องจากบริษัทมีวิศวกร และ
ผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีประสบการณ์ ความรู้ความชำนาญในการผลิตคอนกรีตมวลเบามานานกว่า 10 ปี    สำหรับความเสี่ยง
ด้านการตลาด บริษัทเชื่อว่ามีความเสี่ยงไม่มากเช่นกัน  เนื่องจากในเขตพื้นที่ภาคใต้ ยังไม่มีผู้ประกอบการผลิตคอนกรีต
มวลเบา  ดังนั้น การที่บริษัทตัดสินใจสร้างโรงงานผลิตคอนกรีตมวลเบาในพื้นที่ดังกล่าว ทำให้โรงงานที่ 3 มีต้นทุนการ
ดำเนินงานของบริษัทลดลง เนื่องจากบริษัทสามารถประหยัดต้นทุนค่าขนส่ง  นอกจากนี้  บริษัทได้ส่งทีมขาย และทีม
การตลาดเพื่อทำการตลาดในเขตพื้นที่ภาคใต้กับฐานลูกค้าปัจจุบันของบริษัท และทำการตลาดเพื่อเพิ่มฐานตัวแทนจำหน่าย
ผู้รับเหมาก่อสร้าง และเจ้าของโครงการ เป็นต้น อีกทั้งบริษัทเชื่อว่า พื้นที่ในเขตภาคใต้ ยังมีความต้องการสูง  

         4.  ความเสี่ยงจากการที่บริษัทไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาเงินกู้
              ในเดือนสิงหาคม 2547 บริษัทได้ลงนามในสัญญาเงินกู้กับสถาบันการเงินไทยจำนวน 610 ล้านบาท โดยแบ่ง
เงินกู้ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 สำหรับการใช้คืนเงินกู้เดิมที่มีกับบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ส่วนที่ 2 สำหรับขยายกำลัง
การผลิต เพื่อสร้างโรงงานแห่งที่ 2 และซื้อเครื่องจักร และส่วนที่ 3 สำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียน โดยมีระยะเวลาชำระเงิน
รายงวดเป็นเวลา 66 เดือน    ทั้งนี้ หลักประกันสำหรับเงินกู้ดังกล่าว ได้แก่ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างและเครื่องจักร รวมถึงโรงงาน
ทั้งหมดของบริษัท     นอกจากนี้ บริษัทต้องรักษาเงื่อนไขตลอดระยะเวลาการกู้เงินดังนี้
             -  บริษัทต้องดำรงอัตราส่วนความสามารถการชำระดอกเบี้ย (Interest Coverage Rate) นับตั้งแต่ปี 2547 ไม่น้อย
กว่า 9.50 เท่า
            -   บริษัทต้องดำรงอัตราส่วนความสามารถการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย (Debt Service Coverage Rate) นับตั้งแต่
ปี 2547 ไม่น้อยกว่า  2.00 เท่า
            -   บริษัทต้องดำรงอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt to Equity Ratio) ภายหลังปี 2547 เป็นต้นไป 
ไม่น้อยกว่า  2.00 เท่า  

           ทั้งนี้ เจ้าหนี้สถาบันการเงินได้มีหนังสือฉบับลงวันที่ 8 มีนาคม 2548 แจ้งว่าหลังจากเจ้าหนี้สถาบันการเงินพิจารณา
งบการเงินประจำปี 2547 ของบริษัท ที่ตรวจสอบโดย บริษัท เอเอ็นเอส ออดิท จำกัด โดยผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
เลขทะเบียน 4917 ปรากฏว่าบริษัทยังคงสามารถรักษาอัตราส่วนความสามารถการชำระดอกเบี้ย และอัตราส่วนความ
สามารถการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยได้ตามเงื่อนไขในสัญญาวงเงินสินเชื่อดังกล่าวข้างต้นทุกประการ  ในส่วนอัตราส่วน
หนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้สถาบันการเงินจะเริ่มพิจารณาหลังปี 2547 เป็นต้นไป  

             ทั้งนี้ หากพิจารณาหนี้สินรวม และ ส่วนของผู้ถือหุ้น สิ้นสุด ณ 31 ธันวาคม 2547 โดยหนี้สินรวมจะนับรวม
ภาระหนี้ที่อาจเกิดขึ้นหากบริษัทเบิกใช้วงเงินกู้จากสถาบันการเงินครบวงเงินซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 145.31 ล้านบาท 
และ ส่วนของผู้ถือหุ้นจะนับรวม เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนในครั้งนี้ประมาณ 441 ล้านบาท  บริษัท
จะยังคงสามารถรักษาอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นตามเงื่อนไขสัญญาเงินกู้ดังกล่าวข้างต้น 

             วงเงินสนับสนุนจากสถาบันการเงินจำนวน 610 ล้านบาทที่กล่าวในข้างต้น ส่งผลให้บริษัทมีภาระที่จะต้อง
ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับสถาบันการเงินทุกเดือนโดย ณ 31 ธันวาคม 2547 บริษัทมียอดเงินกู้ยืมที่จะถึงกำหนด
ชำระคืนใน 1 ปี 42 ล้านบาท (เฉพาะเงินต้นไม่รวมดอกเบี้ย)  

             จากการพิจารณาเงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน ปี 2547 ซึ่งมียอดเงินสด 142.02 ล้านบาท หากในปี 2548 
บริษัทมีผลประกอบการเท่าเดิมบริษัทน่าจะอยู่ในสถานะที่สามารถชำระคืนเงินต้นรวมถึงดอกเบี้ยสำหรับใน  1 ปีข้างหน้าได้

         5.  ความเสี่ยงจากนโยบายการลงทุนระยะยาว และประสบการณ์ของผู้ถือหุ้นรายใหญ่
              นายจอมทรัพย์ โลจายะ ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทโดยตรง และถือหุ้นผ่านบริษัท แอ็ดวานซ์ แอสเซท 
แมเนจเมนท์ เซอร์วิส จำกัด  รวมร้อยละ 66.19 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนครั้งนี้ 
(ทุนจดทะเบียนไม่นับรวมหุ้นที่ออกเพื่อรองรับการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) มีประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาด้านการเงิน 
การปรับโครงสร้างหนี้ และการควบรวมกิจการ  จากประสบการณ์ดังกล่าวอาจทำให้มีความเสี่ยงจากนโยบายการลง
ทุนระยะยาวในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่   เนื่องจาก นายจอมทรัพย์ โลจายะ มิได้มีข้อผูกพันที่จะถือหุ้นเมื่อพ้นระยะเวลาห้ามขาย
ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์  อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจากนโยบายการลงทุนระยะยาวของ นายจอมทรัพย์ โลจากยะ
ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ไม่น่าเกิดขึ้น  เนื่องจากนายจอมทรัพย์ โลจายะมีนโยบายลงทุนระยะยาวในบริษัท โดยนายจอมทรัพย์ 
โลจายะ ได้แสดงความตั้งใจในการลงทุนระยะยาวโดยการนำหุ้นของบริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน) ที่ถือส่วนตัว
จำนวน107,100,000 หุ้น เข้าทำการค้ำประกันเงินกู้ตลอดอายุสัญญากู้ซึ่งมีอายุ 66 เดือน  รวมถึงการเข้าค้ำประกันหนี้ดังกล่าว
ทั้งจำนวนด้วยตนเอง (Personal Guarantee) อีกทั้งบริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่มีศักยภาพในการ
ขยายธุรกิจในอนาคตและเป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนที่ดี  

              หากพิจารณาประสบการณ์ของนายจอมทรัพย์ โลจายะ ในฐานะกรรมการและกรรมการผู้จัดการของบริษัท 
ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีประสบการณ์ในธุรกิจผลิต และจำหน่ายคอนกรีตมวลเบา รวมถึงธุรกิจวัสดุก่อสร้าง
ไม่นาน  บริษัทอาจมีความเสี่ยงจากการบริหารงานโดยผู้ถือหุ้นรายใหญ่ซึ่งได้แก่นายจอมทรัพย์ โลจายะ   อย่างไรก็ตาม 
ในการบริหารงานบริษัทภายหลังนายจอมทรัพย์ โลจายะเข้ามาบริหารงาน นายจอมทรัพย์ โลจายะ และทีมของนาย
จอมทรัพย์ โลจายะ ได้ร่วมบริหารงานกับผู้บริหารชุดเดิม ซึ่งมีประสบการณ์และทำงานกับบริษัทมานานกว่า 10 ปี  
จากประสบการณ์ด้านที่ปรึกษาทางการเงินของนายจอมทรัพย์ โลจายะ และทีมของนายจอมทรัพย์ โลจายะ ร่วมกับ
ผู้บริหารชุดเดิม ประกอบกับปี 2547 ซึ่งเป็นปีที่อุปสงค์ของคอนกรีตมวลเบามีปริมาณสูงกว่าอุปทานคอนกรีตมวลเบา
ส่งผลให้ผลบริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานปี 2547 เท่ากับ 93.43 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2546  จาก
ผลการดำเนินงานในปี 2547 ดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่า  บริษัทมีความเสี่ยงด้านประสบการณ์ของนายจอมทรัพย์ 
โลจายะ ซึ่งผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายใหม่ ไม่มากนัก 

         6.  ความเสี่ยงจากการมีกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงาน
              ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปครั้งนี้ บริษัทมีกลุ่มนายจอมทรัพย์ โลจายะ   เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ที่ถือหุ้นในบริษัทจำนวน 198.56 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 66.19 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมดจำนวน 300 ล้านหุ้น 
(ไม่นับรวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) หรือคิดเป็นร้อยละ 63.34 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมดจำนวน 313.5 ล้านหุ้น 
(นับรวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน หากผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ใช้สิทธิซื้อหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัท) ซึ่งมากกว่าร้อยละ 
50 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทในทั้ง 2 กรณี การถือหุ้นจำนวนดังกล่าวอาจทำให้กลุ่มผู้ถือหุ้น
กลุ่มนี้มีอำนาจในการควบคุมและมีอิทธิพลต่อการดำเนินงาน รวมถึงการควบคุมมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นสำหรับการ
ดำเนินงานตามปกติได้ แต่ไม่สามารถควบคุมมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นกรณีสำคัญที่ต้องได้รับเสียง 3 ใน 4 จากที่ประชุม
ผู้ถือหุ้น

            บริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญของการถ่วงดุลอำนาจ จึงมีมาตรการควบคุมไม่ให้บุคคลดังกล่าวมีอำนาจโดย
ไม่จำกัด โดยจัดให้มีกรรมการทั้งหมด 6 ท่าน โดยเป็นกรรมการที่ไม่ได้มาจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ รวม 4 ท่านซึ่งคิดเป็น
ร้อยละ 66.67 ของกรรมการทั้งคณะ เป็นกรรมการอิสระ 3 ท่าน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50 ของกรรมการทั้งคณะ  อย่างไรก็ตาม
การมีผู้ถือหุ้นใหญ่ตามลักษณะข้างต้นจะส่งผลให้การบริหารและการดำเนินงานของบริษัทมีความมั่นคง ตลอดจนส่งเสริม
และสนับสนุนให้ธุรกิจของบริษัทดำเนินไปอย่างราบรื่น

กรณีพิพาท 
         ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547  บริษัทมีคดีวามจากการถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในคดีแรงงาน 1 คดี มูลหนี้จำนวน 0.70 
ล้านบาท ซึ่งคดีอยู่ในระหว่างดำเนินการชั้นชั้นศาล  ซึ่งบริษัทเห็นว่าคดีความดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน
ของบริษัท

จำนวนพนักงาน             ณ วันที่ 31 เดือน ธันวาคม  พ.ศ. 2548  บริษัทมีพนักงานจำนวน 219 คน  

ประวัติความเป็นมาโดยสรุป            
         บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2537 โดยใช้ชื่อ บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด 
ภายใต้การสนับสนุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ด้วยทุนจดทะเบียน 150 ล้านบาท เพื่อดำเนินการผลิตและ
จำหน่ายผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบา (Autoclaved Aerated Concrete) เกรด 4 ซึ่งประกอบด้วย บล็อกก่อผนัง แผ่นผนัง
สำเร็จรูป และ เสาเอ็นทับหลังสำเร็จรูป โดยใช้เครื่องจักรซึ่งเป็นเทคโนโลยีของ WEHRHAHN จากประเทศเยอรมนี

         บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญในส่วนเกี่ยวกับโครงสร้างการถือหุ้น และการเพิ่มทุน / ลดทุน ที่สำคัญ
ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ดังนี้         
          ปี                                                                                  เหตุการณ์ที่สำคัญ
ตุลาคม 2544       บริษัทเจรจาเพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้รายหนึ่งซึ่งต่อมาภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ สถาบันการเงิน
                           ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทรายดังกล่าวได้ขายยอดหนี้ที่บริษัทอยู่ในฐานะลูกหนี้ให้แก่บรรษัทบริหาร
                           สินทรัพย์ไทย (บสท.)
มกราคม 2545    บริษัทเริ่มเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับ บสท. โดยได้ยื่นแผนการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับ บสท. พิจารณา 
กันยายน 2545     บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่ จาก บริษัท ทีทีเอฟ ลิสซิ่ง จำกัด (บริษัท ทีทีเอฟ ลิสซิ่ง 
                           จำกัด เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท วิคตอรี่-เอส จำกัด และบริษัท ซองแลนด์ จำกัด ในวันที่ 22 มีนาคม 2543 และ 
                           28 สิงหาคม 2545 ตามลำดับ) บริษัท โพรฟิต รันเนอร์ กรุ๊ป จำกัด และบริษัท โกลด์ คร็อบ อินเวสต์ เมนต์ 
                           กรุ๊ป จำกัด  ซึ่งถือหุ้นรวม 185,842,500 บาท (123,895 หุ้นหรือคิดเป็นร้อยละ 88.49 ) เป็น บริษัท ซองแลนด์ 

                          จำกัด โดยกลุ่มนางสาวพรเพ็ญ สุขสมบูรณ์วงศ์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นข้างต้น
                          ยังคงอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
มีนาคม 2547     บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น  จากบริษัทซองแลนด์จำกัดโดยกลุ่มคุณพรเพ็ญ สุขสมบูรณ์วงศ์
                          ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมด 185,842,500 บาท (คิดเป็น 123,895 หุ้น) ให้แก่บริษัท แอ็ดวาน
ซ์  
                          แอสเซท  แมเนจเม้นท์ เซอร์วิส จำกัดซึ่ง คุณจอมทรัพย์ โลจายะ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ภายหลังการเปลี่ยน
                          แปลงผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้ดำเนินการดังนี้
                          (1)   เปลี่ยนแปลงกรรมการผู้จัดการของบริษัท โดยแต่งตั้ง นายจอมทรัพย์ โลจายะ เป็นกรรมการผู้จัดการ 
                          (2)   เว้นแต่นางสาวพรเพ็ญ สุขสมบูรณ์วงศ์  ผู้บริหารระดับสูงทุกคนยังเป็นชุดบริหารเดิม ซึ่งบริหารบริษัท
                                 มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง 
                          (3)  ผู้ถือหุ้นรายใหม่ยังคงดำเนินการประกอบธุรกิจในการเป็นผู้ผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์คอนกรีต
                                มวลเบาเช่นเดิม ทั้งนี้ คุณจอมทรัพย์  โลจายะ มีประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาด้านการเงิน การปรับ
                                โครงสร้างหนี้ และการควบรวมกิจการ  

                            ด้วยประสบการณ์ดังกล่าวจะทำให้บริษัทสามารถบริหารเงินทุนของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อีกทั้ง
                            บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่มีศักยภาพในการขยายธุรกิจในอนาคต ประกอบกับเป็น
                            ธุรกิจให้ผลตอบแทนที่ดี  ดังนั้น คุณจอมทรัพย์ โลจายะ จึงมีนโยบายลงทุนในบริษัทในระยะยาว  
พฤษภาคม 2547   บริษัทได้เรียกชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 39 ล้านบาททำให้บริษัทมีทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้ว
                             จาก 171 ล้านบาทเป็น 210 ล้านบาท
มิถุนายน 2547     บริษัทประสบความสำเร็จในการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับ บสท.  และได้ลงนามสัญญาปรับโครงสร้าง
                             หนี้กับ บสท. 
สิงหาคม 2547     บริษัทได้มติเพิ่มทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้วจาก 210 ล้านบาท เป็น 330 ล้านบาทโดยขายให้แก่
                            ผู้ถือหุ้นเดิมในมูลค่าที่ตราไว้ (Par)  
กันยายน 2547     บริษัทได้มีมติผู้ถือหุ้นให้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนและได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก 
                            จำกัด (มหาชน)
กันยายน 2547     บริษัทได้มีมติผู้ถือหุ้นให้เปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 1,500 บาท เป็นหุ้นละ 1 บาท
ตุลาคม 2547       บริษัทได้มีมติลดทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้วจาก 330 ล้านบาทเหลือ 210 ล้านบาท    เพื่อล้าง
                            ขาดทุนสะสมอันเป็นผลขาดทุนเสียหายจากอัตราแลกเปลี่ยนในวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 
2 มีนาคม 2548    บริษัทมีมติเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 210 ล้านบาท เป็น 313.50  ล้านบาท (313.50 ล้านหุ้น) ในการเพิ่มทุน
                            จดทะเบียนครั้งนี้บริษัททำการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน 90 ล้านบาท (90 ล้านหุ้น) ส่วนที่เหลือ 13.5 
                            ล้านบาท (13.5 ล้านหุ้น ) จัดสรรเพื่อรองรับการใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ในกรณี
                            ของการจัดสรรหุ้นส่วนเกินตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง

เงินลงทุนในบริษัทย่อย            ณ วันที่ 7 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548  ปรากฏดังนี้ 
                                            ประเภทกิจการ                                      มูลค่าเงินลงทุน 
      ชื่อบริษัท                    และลักษณะธุรกิจ       ทุนชำระแล้ว         ร้อยละของหุ้นที่ถือ          (ตามราคาทุน)            

บจ.ซุเปอร์บล๊อก เซาท์      ผลิตและจำหน่าย        1,000,000 บาท                 99.99                  1,000,000 บาท
                                         คอนกรีตมวลเบา       

การเพิ่ม (ลด) ทุนในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา  :       
วัน / เดือน / ปี        ทุนที่เพิ่ม (ลด)              หลังเพิ่ม (ลด) ทุน                                         หมายเหตุ
17 สิงหาคม 2547   120,000,000                  330,000,000           เพื่อเสนอขายต่อผู้ถือหุ้นเดิม
4 มกราคม 2548    (120,000,000)                 210,000,000          เพื่อลดขาดทุนสะสม
12 มกราคม 2548     90,000,000                   300,000,000         เพื่อเสนอขายต่อประชาชน
11 มีนาคม 2548     (90,000,000)                  210,000,000         ลดทุนในส่วนที่ยังไม่ได้ชำระ
14 มีนาคม 2548     103,500,000                  313,500,000         เพื่อเสนอขายต่อประชาชนจำนวน 90 ล้านหุ้น และสำรอง
                                                                                                  เพื่อการจัดสรรหุ้นส่วนเกินจำนวน 1
3.5 ล้านหุ้น โดยผู้จัดหา
                                                                                                  หุ้นส่วนเกินได้ยืมหุ้นจากผู้ถือหุ
้นเดิม เพื่อส่งมอบหุ้นให้แก่
                                                                                                  ผู้ได้รับการจัดสรร ทั้งนี้ ผู้จัด
หาหุ้นส่วนเกิน จะดำเนินการจัดหา
                                                                                                  หุ้นภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วั
นแรกที่หุ้นสามัญของ
                                                                                                  บริษัทเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักท
รัพย์ เพื่อส่งคืนให้แก่
                                                                                                  ผู้ถือหุ้นเดิม โดย 1) ซื้อหุ้นในต
ลาดหลักทรัพย์ และ/หรือ 2) 
                                                                                                  ใช้สิทธิซื้อหุ้นจาก บมจ. ซุปเปอร์
บล๊อก  โดยบมจ.ซุปเปอร์
                                                                                                  บล๊อก จะออกหุ้นเพิ่มทุนเพื่อรองรั
บการใช้สิทธิของผู้จัดหาหุ้น
                                                                                                  ส่วนเกินดังกล่าวข้างต้น

รอบระยะเวลาบัญชี                  1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม           

ผู้สอบบัญชี                              ชื่อ นายประวิทย์ วิวรรณธนานุตร์   
                                                 ทะเบียนเลขที่ 4917
                                                 สำนักงาน เอเอ็นเอส ออดิท จำกัด 

นายทะเบียนหุ้น                        บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด 

ที่ปรึกษาทางการเงิน                 บริษัท ทรีนีตี้ แอ๊ดไวซอรี่ 2001 จำกัด            

นโยบายการจ่ายเงินปันผล     
         บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิในแต่ละปี           

บัตรส่งเสริมการลงทุน          
         บริษัทได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีสำหรับโรงงานที่ 1 ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ออกให้โดย
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามบัตรส่งเสริมเลขที่ 1168/2538 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2538 เพื่อส่งเสริมการลงทุนในการ
ผลิตแผ่นผนังและพื้นคอนกรีต (น้ำหนักเบา) สำเร็จรูป โดยอายุบัตรสิทธิพิเศษตามบัตรส่งเสริมดังกล่าวจะสิ้นสุดในวันที่ 31
สิงหาคม 2552  ทั้งนี้ สามารถสรุปรายละเอียดของสิทธิพิเศษดังนี้
         1.  ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรที่นำเข้า ตามที่คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ
         2.   ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล    สำหรับกำไรสุทธิที่ได้รับจากการลงทุนในอัตราร้อยละห้าสิบของอัตราปกติ
มีกำหนด 5 ปี นับจาก 31 สิงหาคม 2547 

จำนวนผู้ถือหุ้น                   ณ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2548  ปรากฏดังนี้ 
                                                                                                          จำนวนราย   จำนวนหุ้น ร้อย
ละของทุนชำระแล้ว
1.  ผู้ถือหุ้นสามัญที่เป็น Strategic shareholders
     1.1     รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ                                1             5,440,909                1.81
     1.2     กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง               2          185,056,909             61.69   
               และบุคคลที่มีความสัมพันธ์
     1.3    ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5 % โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย                 -                   -                         
  -
     1.4    ผู้มีอำนาจควบคุม                                                                      -                   -            
               -
     1.5    ผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงในการห้ามขายหุ้นภายในเวลาที่กำหนด     -                   -                           -
2.  ผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยที่ถือไม่ต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย               3,412        109,502,182             36.50 
3.  ผู้ถือหุ้นสามัญที่ถือต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย                                     -                   -                       
   -
      รวมผู้ถือหุ้นสามัญทั้งสิ้น                                                              3,415        300,000,000           10
0.00

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่                ณ วันที่ 8 เดือน เมษายน พ.ศ. 2548  
ลำดับที่                             ชื่อผู้ถือหุ้น                                                    จำนวนหุ้น      สัดส่วนการถือ
หุ้น(ร้อยละ)
   1           นายจอมทรัพย์ โลจายะ                                                         93,600,000                  31.20
   2           บริษัท แอ็ดวานซ์ แอสเซท แมเนจเมนท์ เซอร์วิส จำกัด       91,456,909                  30.49
   3           บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด               19,502,182                   6.50
   4           ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)                                             5,440,909                  1.81
   5           นางสุภัทรา  เชื้อรอด                                                                2,040,000                  0.68
                รวม                                                                                      212,040,000               
70.68
หมายเหตุ :       ผู้ถือหุ้นที่เป็นกลุ่มเดียวกัน:  คุณจอมทรัพย์  โลจายะ และ บริษัท แอ็ดวานซ์ แอสเซท แมนเนจเมนท์
                        เซอร์ จำกัด (คุณจอมทรัพย์ถือหุ้นบริษัท สำนักงานที่ปรึกษากฎหมายโลจายะ จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 
                        99.99 ซึ่งบริษัท สำนักงานที่ปรึกษากฎหมายโลจายะ จำกัด ถือหุ้นในบริษัท มีชัยไทยแลนด์ จำกัด ใน
                        สัดส่วนร้อยละ 99.99 และบริษัท มีชัยไทยแลนด์ จำกัด ถือหุ้น แอ็ดวานซ์ แอสเซท แมเนจเม้นท์  เซอร์วิส 
                       จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 99.99)    

ผู้ถือหุ้นต่างด้าว                  ณ วันที่ 8 เดือน เมษายน พ.ศ. 2548   
                                         บริษัทมีผู้ถือหุ้นต่างด้าว 13 ราย 
                                         ถือหุ้นรวมกัน 261,300  หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.09 ของทุนจดชำระแล้ว

                                         หมายเหตุ  หุ้นของบริษัทสามารถโอนได้โดยไม่มีข้อจำกัด เว้นแต่การโอนหุ้นนั้นเป็นเหตุให้มี
                                                          บุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นอยู่ในบริษัทมีจำนวนมากกว่าร้อยละ 49 ของจำนว
นหุ้น
                                                           ที่จำหน่ายได้ทั้งหมด การโอนหุ้นรายใดที่จะทำให้อัตราส่วนการถือหุ้นของบุคค
ลที่
                                                           ไม่มีสัญาชาติไทยของบริษัทเกินอัตราส่วนข้างต้น  บริษัทมีสิทธิปฏิเสธโอนหุ้
นของ
                                                           บริษัทรายนั้นได้ 

คณะกรรมการ              
                  ชื่อ                                                                  ตำแหน่ง                                    
                        วันที่ดำรงตำแหน่ง
1.  นายมีชัย ฤชุพันธุ์                    ประธานคณะกรรมการบริษัทและประธานกรรมการตรวจสอบ              29 กันยายน 2547
2.  นายกำธร  อุดมฤทธิรุจ           รองประธานคณะกรรมการบริษัทและรองประธานกรรมการตรวจสอบ  29 กันยายน 2547
3.  นางไตรทิพย์  ศิวะกฤษณ์กุล  กรรมการบริษัท และกรรมการตรวจสอบ                                                 29 กันยายน 2547
4. นายจอมทรัพย์ โลจายะ            กรรมการบริษัท และกรรมการผู้จัดการ                                                   29 กันยายน 25
47
5. นายขุมทรัพย์ โลจายะ               กรรมการบริษัทและรองกรรมการผู้จัดการ                                            2 มีนาคม 2548
6. นายโยธิน  อึ่งกูล                      กรรมการบริษัทและรองกรรมการผู้จัดการ                                            29 กันยายน
 2547
         โดยมี นางสาวดวงกมล โรจนนาวิน เป็นเลขานุการคณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการตรวจสอบ        ที่ประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2547เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2547  ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ 

รายนามคณะกรรมการตรวจสอบ 
         1.  นายมีชัย ฤชุพันธุ์                    ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 
         2.  นายกำธร  อุดมฤทธิรุจ           รองประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 
         3.  นางไตรทิพย์  ศิวะกฤษณ์กุล   กรรมการตรวจสอบ 

         โดยมี นางสาวดวงกมล โรจนนาวิน  เป็นเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ
         1.  สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยอย่างเพียงพอ
         2.  สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (internal control) และการตรวจสอบภายใน (internal audit) ที่เหมาะสม
และมีประสิทธิผล
         3.  สอบทานการปฏิบัติงานของบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนด
ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมถึงกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
         4.  พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้ง และเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของบริษัท
         5.  พิจารณาเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทและ / หรือ พิจารณาความเหมาะสมในกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกัน
และรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ทั้งนี้การพิจารณาเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลและ / หรือ การให้ความเห็นตาม
ข้างต้นให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการของบริษัท กฏหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมถึงกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
         6.   จัดทำรายงานการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท เพื่อ
นำเสนอต่อผู้ถือหุ้น
         7.   ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย และด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ

วาระการดำรงตำแหน่ง       กรรมการตรวจสอบมีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี

เงื่อนไขในการรับหลักทรัพย์    -  ไม่มี  -     

ระยะเวลาห้ามจำหน่ายหุ้น     
         ผู้ถือหุ้นเดิมก่อนเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปที่ถือหุ้นจำนวน 195,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 65 ของทุนชำระแล้ว
หลังเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป ให้คำรับรองต่อตลาดหลักทรัพย์ว่าจะไม่นำหุ้นจำนวนดังกล่าวออกจำหน่ายเป็นระยะเวลา 
1 ปี  6 เดือน นับแต่วันที่หลักทรัพย์ของบริษัทเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยเมื่อครบกำหนดระยะเวลาทุกๆ 6 
เดือน  ผู้ถือหุ้นดังกล่าวได้รับการผ่อนผันให้ทยอยขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่ถูกสั่งห้ามขายได้ในจำนวนร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้น
หรือหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ถูกสั่งห้ามขาย และเมื่อครบกำหนด 1 ปี 6 เดือนสามารถขายส่วนที่เหลือได้ทั้งหมด

การผ่อนผันของตลาดหลักทรัพย์  -  ไม่มี -

อื่น ๆ ที่สำคัญ (ถ้ามี)                   -  ไม่มี -

สถิติ 
                                                            บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน) 
              |  ------------------- พันบาท -----------------|----------------------บาท/หุ้น *     ------------------------|
ปี         รายได้จากการขาย        กำไร(ขาดทุน)สุทธิ   กำไร(ขาดทุน)สุทธิ   เงินปันผล   มูลค่าหุ้นตามบัญชี   เงินปันผลต่อกำไร(%)
2545       221,498                           (55,327)                      (0.26)                       -                     (4.89
)                         -
2546       236,322                            31,215                          0.20                        -                     (4.
74)                        -
2547       360,608                         1,065,670                       6.12                         -                       0.7
4                           -

                 * มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท 

                                                                     บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน)
                                                                                             งบดุล
                                                               ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2545, 2546 และ  2547
                                                                                                                                   
                         หน่วย : พันบาท
                                                                                                                     2545          
     2546                     2547
สินทรัพย์หมุนเวียน   
    เงินสดและเงินฝากธนาคาร                                                                  15,010.92         8,170.63             
  38,209.41 
    เงินลงทุนชั่วคราว                                                                                     188.77            229.65 
                   190.84 
    ลูกหนี้การค้า – สุทธิ                                                                            25,600.32       20,211.77     
           49,153.71 
        ลูกหนี้การค้า                                                                                    43,562.35       41,441.94 
              70,817.90 
        หัก: หนี้สงสัยสูญ                                                                           (17,962.03)    (21,230.17)     
          21,664.19 
    เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่ เกี่ยวข้องกัน - สุทธิ                                 916.77                  -              
               -   
    เงินให้กู้ยืมระยะสั้นอื่น                                                                                 -                   1
00.00                   100.00 
    สินค้าคงเหลือ – สุทธิ                                                                          11,314.66        31,275.45      
         18,087.10
    สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น                                                                        14,344.44          4,074.08      
          29,427.85 
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน                                                                          67,375.88        64,061.59          
    135,168.90 
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 
    เงินฝากประจำมีภาระผูกพัน                                                                        -                 2,226.93     
            2,226.93 
    เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บุคคลที่ เกี่ยวข้องกัน                                               -                    500.00        
                -   
    ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ – สุทธิ                                                         231,509.72     248,106.12             66
0,224.37 
    ต้นทุนแหล่งทราย – สุทธิ                                                                                                        
                     9,165.20 
    สิทธิบัตร – สุทธิ                                                                                    5,608.46                  
 -                          -
    สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น                                                                           88.69          4,919.01    
            1,426.31 
รวมสินทรัพย์                                                                                         304,582.75      319,813.64    
        808,211.71 
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น      
หนี้สินหมุนเวียน     
    เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ระยะสั้นจาก สถาบันการเงิน                       50,210.17          50,210.17             20,000.00 
    เจ้าหนี้การค้า                                                                                       27,861.54            7,697
.85              25,010.51 
    เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนด ชำระภายใน 1 ปี                                  511,432.48        933,026.91              42,000.0
0 
    เจ้าหนี้เช่าซื้อส่วนที่ครบกำหนดชำระภายใน 1 ปี                                        -                      702.89             
      560.66 
    เงินทดรองกรรมการ                                                                                   -                          -
                       350.50 
    เจ้าหนี้อื่น                                                                                                     -             
            -                  40,954.83 
    หนี้สินหมุนเวียนอื่น                                                                            5,425.87              6,219.31 
           11,518.57 
รวมหนี้สินหมุนเวียน                                                                          594,930.06           997,857.12       
   140,395.08 
เงินกู้ยืมระยะยาว                                                                                 421,594.43                     - 
                422,689.55 

                                                                                                                                   
                           หน่วย : พันบาท
                                                                                                                  2545             
       2546                  2547
เจ้าหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน                                                            315,000.00          315,000.00               
      -   
เจ้าหนี้เช่าซื้อ                                                                                                -                  
    1,443.35                734.45 
รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน                                                                      736,594.43          316,443.35         
 423,424.00 
รวมหนี้สิน                                                                                       1,331,524.49        1,314,300.47  
       563,819.08 
ส่วนของผู้ถือหุ้น     
    ทุนจดทะเบียน                                                                                 210,000.00           210,000.00   
        330,000.00 
    ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว                                                            156,750.92           156,791.02          3
30,000.00 
    กำไร(ขาดทุน)สะสม                                                                  (1,183,692.65)       (1,152,477.84)        (8
5,607.37)
    หัก ปรับปรุงรายการแก้ไขข้อผิดพลาด                                                    -                         1,200.00        
         -
     กำไร(ขาดทุน)สะสมหลังรายการแก้ไขข้อผิดพลาด                   (1,183,692.65)       (1,151,277.84)         (85,607.37)
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น                                                                     (1,026,941.73)          (994,486.82)      
   244,392.63 
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น                                                         304,582.76            319,813.65          80
8,211.71

                                                           บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน)
                                                                         งบกำไรขาดทุน
                                         สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2545, 2546 และ 2547
                                                                                                                                   
                        หน่วย : พันบาท
                                                                                                               2545                
      2546                   2547
รายได้   
    รายได้จากการขาย                                                                          221,497.90             236,322.12     
      360,608.27 
    รายได้อื่น                                                                                              489.59               11
,769.80               2,313.10 
รวมรายได้                                                                                          221,987.49            248,091.92
           362,921.37 
ค่าใช้จ่าย 
    ต้นทุนขาย                                                                                      183,600.29            136,551.29
           180,134.45 
    ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร                                                  63,713.88              80,325.83             84
,903.85 
รวมค่าใช้จ่าย                                                                                      247,314.17            216,877.12
           265,038.30 
กำไร (ขาดทุน) ก่อนดอกเบี้ยจ่าย                                                         (25,326.68)             31,214.80           
  97,883.07 
ดอกเบี้ยจ่าย                                                                                           30,000.00                   
   -                     4,449.66 
กำไร (ขาดทุน) จากกิจกรรมปกติ                                                        (55,326.68)            31,214.80               
93,433.41 
กำไรจากการยกเลิกสัญญาต่างตอบแทน                                                      -                              -              
     315,000.00 
กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้                                                                   -                             -      
             657,237.07 
ภาษีเงินได้นิติบุคคล                                                                                  0.66                         
  -                           -   
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ                                                                          (55,326.68)             31,214.80     
      1,065,670.48 

                                                                 บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน)
                                                                                   งบกระแสเงินสด
                                                  สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2545, 2546 และ 2547
                                                                                                                                   
                          หน่วย : พันบาท
                                                                                                               2545                
      2546                   2547
เงินสดสุทธิได้มา(ใช้ไป)จากกิจกรรมดำเนินงาน                              11,777.66          54,384.04               142,025.58 
เงินสดสุทธิได้มา(ใช้ไป)จากกิจกรรมลงทุน                                      (5,476.14)       (63,410.67)            (238,728.84)
เงินสดสุทธิได้มา(ใช้ไป)จากกิจกรรมจัดหาเงิน                                         -                  2,186.34               126,74
2.03 
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดลดลงสุทธิ                                      6,301.52         (6,840.29)                30,038.78 
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นปี                                               8,709.40         15,010.92                   8,17
0.63 
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นปลายปี                                    15,010.92           8,170.62                  38,209.41

จัดทำโดย                           บริษัท ทรีนีตี้ แอ๊ดไวซอรี่ 2001 จำกัด

super-t.txt




1