13:18:12 PM
  หัวข้อข่าว : SOLAR :สรุปข้อสนเทศ : SOLAR

                                                                        - สรุปข้อสนเทศ -  
                                                   บริษัทโซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน)   (SOLAR)  

ที่ตั้งสำนักงานใหญ่   
         เลขที่ 38 อาคารชวนิชย์ ชั้น 2 ซ. สาลีนิมิตร สุขุมวิท 69 แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพ 10110  
โทรศัพท์ (Tel.) 0-2392-0224-6, 0-2711-0698-700  โทรสาร (Fax) 0-2381-2971, 0-2381-0936  
Website www.solartron.co.th

ที่ตั้งศูนย์ผลิต       
         เลขที่ 88/8 หมู่ 10  ตำบลหนองน้ำแดง  อำเภอปากช่อง  จังหวัดนครราชสีมา 30130  โทรศัพท์ (Tel.) 0-4436-5651-3 
โทรสาร (Fax) 0-4436-5354

เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน          เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2548  (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 30 มีนาคม 2548)

ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน   หุ้นสามัญ 300,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท  รวม 300,000,000 บาท

ตลาดรอง                                  ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 

ราคาเสนอขาย     
         8.00 บาท (ในระหว่างวันที่ 22-23 มีนาคม 2548 บริษัทเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไป จำนวน 60,000,000 
หุ้น พร้อมกับการเสนอขายหุ้นสามัญเดิมของบริษัท โบนันซ่า  รีสอร์ท โฮเต็ล จำกัด จำนวน 10,000,000 หุ้น, บริษัท 
ทองหล่อ โฮลดิ้ง จำกัด จำนวน 4,000,000 หุ้น, บริษัท ดวงแก้ว เชียงใหม่ จำกัด จำนวน 2,500,000 หุ้น, บริษัท วอระชา  
โฮลดิ้ง จำกัด จำนวน 2,000,000 หุ้น และบริษัท ดาทรอนไทย จำกัด จำนวน 1,500,000 หุ้น รวมเป็นหุ้นสามัญเดิมทั้งสิ้น 
20,000,000 หุ้น)

ประเภทกิจการและลักษณะการดำเนินงาน    
         บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และให้บริการออกแบบและติดตั้ง
ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ธุรกิจผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์
         กระบวนการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งกระบวนการเริ่มจาก ซิลิคอน หล่อให้เป็นซิลิคอน Ingot  ตัดซิลิคอน 
Ingot ให้เป็นแผ่นเวเฟอร์ (Silicon wafer) ทำให้เกิดความสามารถในการนำไฟฟ้าจนกลายเป็นแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ 
(Solar Cell) และนำมาประกอบเป็นแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module)

         ในส่วนของบริษัทโซลาร์ตรอนนั้นดำเนินการผลิตโดยการนำเข้าแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิคอนจากต่างประเทศ
มาประกอบเป็นแผงเซลล์แสงอาทิตย์ มีกำลังการผลิตประมาณ 30 เมกะวัตต์ต่อปี  บริษัทผลิตและจำหน่ายแผงเซลล์แสงอาทิตย์
ตามคำสั่งซื้อ (Made to order) ของลูกค้า ซึ่งสามารถสั่งซื้อเฉพาะแผงเซลล์แสงอาทิตย์ หรือสั่งซื้อระบบผลิตไฟฟ้าจาก
พลังงานแสงอาทิตย์ทั้งระบบซึ่งประกอบด้วย แผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ เครื่อง
แปลงกระแสไฟฟ้า และอุปกรณ์ติดตั้ง ซึ่งสามารถนำไปติดตั้งและใช้งานได้ทันที 

         บริษัทเลือกใช้วัตถุดิบแผ่นเซลล์ที่ทำจากผลึกซิลิคอน ทั้งผลึกเดี่ยวและผลึกย่อย (Monocrystalline และ Polycrystalline) 
ซึ่งมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 12-15% ของพลังงานแสงอาทิตย์
ทั้งหมดที่ได้รับ มีอายุการใช้งานประมาณ 20-25 ปี    เทคโนโลยีการผลิตของเซลล์แสงอาทิตย์ประเภทนี้เป็นเทคโนโลยี
จากประเทศเยอรมันซึ่งบริษัทผู้ผลิตแผงเซลล์กว่า 85% ทั่วโลกนำไปใช้  

ธุรกิจให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
         บริษัทเป็นผู้ให้บริการแบบครบวงจรประกอบด้วย การสำรวจพื้นที่ การออกแบบระบบ การขนส่งแผงเซลล์และ
อุปกรณ์ และการเข้าไปติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับภาครัฐและภาคเอกชนมามากกว่า 3,000 
ระบบทั่วประเทศโดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลที่ระบบสายส่งไฟฟ้าเข้าไม่ถึง  และที่ผ่านมางานออกแบบและติดตั้งของ
บริษัทเกือบทั้งหมดเป็นโครงการของราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยเฉพาะหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการ
พัฒนาชนบท  และระบบส่วนใหญ่ที่บริษัทติดตั้งจะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่ระบบสายส่งไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ซึ่งกระจายอยู่ทั่ว
ทุกภาคของประเทศไทย 

         ผลงานออกแบบพร้อมติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผ่านมาของบริษัทสามารถแบ่งออกเป็น 7 
ระบบตามลักษณะการนำไปใช้งาน ดังต่อไปนี้ (1) ระบบสูบน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์ (2) ระบบประจุแบตเตอรี่พลังงาน
แสงอาทิตย์ (3) ระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาเพื่อจำหน่าย (4) ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อ
บ้านพักอาศัย ซึ่งตัวอย่างการนำระบบดังกล่าวไปใช้ได้แก่โครงการติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
สำหรับครัวเรือนชนบทที่ห่างไกล "โซลาร์โฮม" (รายละเอียดในสรุปสาระสำคัญของสัญญา) (5) ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
สาธารณะพลังงานแสงอาทิตย์ (6) ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในระบบสื่อสารโทรคมนาคม (7) ระบบผลิต
ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานแหล่งพลังงาน

         ตลาดของระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบ่งเป็น (1) ตลาดในส่วนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ซึ่งพลังงาน
แสงอาทิตย์มีความจำเป็น เพราะต้นทุนการติดตั้งต่ำกว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้า  ซึ่งระบบที่สนองความต้องการของตลาดนี้
ได้แก่ ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อบ้านพักอาศัย  ระบบสูบน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์  ระบบประจุแบตเตอรี่
พลังงานแสงอาทิตย์ ระบบไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะพลังงานแสงอาทิตย์  ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ใน
การสื่อสารโทรคมนาคม และระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานแหล่งพลังงาน เป็นต้น  (2) ตลาดที่ใช้
พลังงานแสงอาทิตย์ในฐานะพลังงานทดแทนซึ่งรัฐบาลกำลังมีการส่งเสริมการใช้งานอย่างจริงจังเพื่อแก้ไขปัญหาการ
พึ่งพิงการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ซึ่งระบบที่ตอบสนองความต้องการในตลาดนี้ได้แก่ ระบบผลิตและจำหน่าย
ไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาและเชื่อมต่อกับสายส่งของการไฟฟ้า  เป็นต้น

         ลูกค้าหลักของบริษัทคือหน่วยราชการกลางและหน่วยราชการท้องถิ่น ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 70 ของ
รายได้ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา สำหรับลูกค้าที่เป็นส่วนราชการกลางบริษัทใช้วิธีการขยายตลาดโดยการนำเสนอโครงการ
ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า  จัดอบรม สัมมนา ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจในการนำ
ไปใช้งาน สำหรับลูกค้าที่เป็นราชการส่วนท้องถิ่นบริษัทใช้วิธีการขายสินค้าผ่านพนักงานขายซึ่งแบ่งความรับผิดชอบ
เป็นภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ  และในส่วนของลูกค้าเอกชนทั่วไป  บริษัทมีการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการตลาด  ให้
ผลงานต่างๆของบริษัทให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง 

         ด้านการจัดหาผลิตภัณฑ์ วัตถุดิบของบริษัทสามารถแยกประเภทได้ดังนี้ 1) วัตถุดิบสำหรับการผลิตแผงเซลล์
แสงอาทิตย์ คือแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งบริษัทซื้อจากบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกจากหลายประเทศ เช่น เยอรมนี 
ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และ ออสเตรเลีย เป็นต้น ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับบริษัท  ราคาของเซลล์แสงอาทิตย์จะมีความ
ผันผวนอยู่ตลอดเวลาตามราคาตลาดโลก 2) อุปกรณ์ประกอบ เช่นอุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่ (Battery Charge 
Controller), เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter), แบตเตอรี่ (Battery), เครื่องสูบน้ำ (Water Pumping) เป็นวัตถุดิบที่
หาได้ทั่วไปในประเทศไทย 

         ภาวะอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็วจากการส่งเสริมของ
ภาครัฐบาลซึ่งเป็นลูกค้าหลักที่สำคัญของบริษัท อาทิเช่น (1) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 
(พ.ศ. 2545-2549) สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบการให้บริการไฟฟ้าแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดย
โครงการติดตั้งการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับครัวเรือนชนบทที่ห่างไกล (โครงการโซลาร์โฮมเฟส 1 
และ 2 มูลค่ารวม 7,630 ล้านบาท และ 1,337 ล้านบาท ตามลำดับ) ก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาฉบับนี้ (2) การ
กำหนดระเบียบบังคับ Renewable Portfolio Standard (RPS) ให้โรงไฟฟ้าที่ก่อสร้างใหม่ต้องมีโรงไฟฟ้าที่ใช้
พลังงานทดแทน จากพลังงานจาก น้ำ ลม แสงอาทิตย์ หรือชีวมวล เป็นส่วนหนึ่งของโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 
ของกำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่  (3) กำหนดมาตรการการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนขนาดเล็กมาก 
โดยจะต้องขายไฟฟ้าให้กับไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง เพื่อลดการผลิตไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการสูงสุด  ซึ่งจากการส่งเสริม
เหล่านี้ทำให้กระทรวงพลังงานคาดการณ์ว่าจะมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ประมาณ 250 เมกะวัตต์ภายใน
ปี 2554 จากเดิมที่มีอยู่ประมาณ 6 เมกะวัตต์ ณ สิ้นปี 2546

โครงสร้างรายได้ 
                             รายได้                                                     2545                             2546      
      งวด 9 เดือนแรกปี 2547
                                                                               (พันบาท)         ร้อยละ     (พันบาท)      ร้อยละ    
   (พันบาท)       ร้อยละ
1. รายได้จากการขายระบบผลิตไฟฟ้าจาก
    พลังงานแสงอาทิตย์
    1.1 ระบบสื่อสารโทรคมนาคม                          101,872.23       54.43      83,901.78       65.74          22,320.00       4.
83
    1.2 ระบบประจุแบตเตอรี่พลังงานแสงอาทิตย์     26,188.54       13.99      19,086.57       14.95            1,853.11       0.40
    1.3 ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์                   10,551.30         5.64      13,268.19       10.40            1,042.87       0
.23
    1.4 ระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน                           -                  -            3,457.94         2.71            6,836.54
       1.48
    1.5 ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง                                           -                  -                   -                 -     
          5,522.50        1.20
    1.6 ระบบผลิตไฟฟ้าบนหลังคา (Rooftop)                  -                  -                  -                 -             25,2
33.64         5.46
    1.7 ระบบไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์                     -                  -                  -                 -           324,9
66.03       70.33
         สำหรับบ้านพักอาศัย (โครงการโซลาร์โฮม)    
         รวม                                                              138,612.07       74.06      19,714.48       93.80       3
87,774.69      83.93
2. งานรับเหมาระบบประปา                                    41,296.73       22.07              -                 -                   
 -                  -
3. รายได้จากการขายแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 
    และอุปกรณ์ประกอบ
    3.1 ขายแผงเซลล์ (โครงการโซลาร์โฮม)                   -                   -                  -                 -            68,9
00.00       14.91
    3.2 โครงการอื่นๆ                                                7,239.19         3.87         7,912.26         6.20          5,
368.11         1.16
          รวมรายได้จากการขายและบริการ              187,148.00     100.00      127,626.75     100.00     462,042.80      100.00

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม       
         บริษัทดำเนินงานตามนโยบายหน่วยงานของราชการ เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อควบคุม
และจัดการกับของเสียจากกระบวนการผลิต  ซึ่งได้แก่ เศษพลาสติก เศษอลูมิเนียม เป็นต้น ซึ่งบริษัทได้จัดจ้างหน่วยงานรับ
กำจัดขยะที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อกำจัดเศษวัสดุเหล่านี้  นอกจากนั้นสำนักงานอุตสาหกรรม
จังหวัดนครราชสีมาจะเข้ามาสุ่มตรวจสอบโรงงาน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของอุปกรณ์การผลิต  ความปลอดภัยของ
โรงงาน รวมถึงจะเข้ามาตรวจสอบหากได้รับการร้องเรียนในเรื่องผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสภาพแวดล้อมและทรัพยากร
ธรรมชาติ  ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทไม่เคยได้รับการร้องเรียนแต่อย่างใด
        
         ทั้งนี้กระบวนการผลิตทุกขั้นตอนของบริษัทมุ่งเน้นการให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม  และบริษัทกำลังอยู่ในระหว่าง
การดำเนินการเตรียมการเพื่อขอการรับรองมาตรฐาน ISO 14000 ซึ่งคาดว่าจะได้รับการรับรองในช่วงกลางปี 2548

สรุปสาระสำคัญของสัญญา      
         1. โครงการโซลาร์โฮม ของกระทรวงมหาดไทย  
             บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) ชนะการประกวดราคาเฟส 1 ในโครงการติดตั้งระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วย
พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Home System)ของกระทรวงมหาดไทย  สำหรับบ้านเรือนที่การไฟฟ้าไม่อาจปักเสาพาดสายได้  
โดยพื้นที่เป้าหมายสำหรับโครงการโซลาร์โฮมทั้งโครงการมีจำนวนทั้งสิ้น 290,716 ครัวเรือน 

             ทั้งนี้สำหรับเฟส 1 บริษัทต้องให้บริการติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จำนวนรวม 54,400 ระบบ คิดเป็น
มูลค่ารวมประมาณ 1,360,000,000 บาท  มีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2548  นอกจากนั้นบริษัทได้รับการสั่งซื้อ
แผงเซลล์แสงอาทิตย์จากผู้ชนะการประกวดราคาส่วนอื่นๆเป็นจำนวนทั้งสิ้น 76,834 แผง คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 
1,000,000,000 บาท  ซึ่งมีกำหนดส่งจนถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2548 

            ในการจัดหาวัตถุดิบในโครงการโซลาร์โฮม  บริษัทสั่งจองสินค้าและกำหนดราคาล่วงหน้าไว้กับผู้แทนจำหน่าย
เซลล์แสงอาทิตย์ชั้นนำของโลก เช่น Q-Cell, BP Solar และ Kyocera เพื่อให้ส่งวัตถุดิบตามปริมาณที่ตกลงกันไว้ทุกเดือน
เป็นเวลา 10-14 เดือน  บริษัทจะสั่งซื้อวัตถุดิบที่สั่งจองไว้เป็นระยะโดยการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตามราคาที่กำหนดใน
ตอนต้น  ซึ่งวิธีการนี้สามารถลดผลกระทบจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบ  รวมทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บวัตถุดิบ
โดยซัพพลายเออร์จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในกรณีที่ไม่สามารถจัดหาวัตถุดิบให้กับบริษัทได้

เงื่อนไขที่สำคัญของสัญญามีดังนี้
         -   บริษัทต้องเสนอแผนการติดตั้งภายใน 30 วันนับแต่ลงนามในสัญญา
         -   หากบริษัทดำเนินการช้ากว่าแผนฯเกินกว่า 90 วัน หรือติดตั้งได้น้อยกว่าแผนฯมากกว่า 50% ติดต่อกัน 3 เดือน กฟภ.
มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
         -   หากบริษัทไม่สามารถส่งมอบตามกำหนด ต้องเสียค่าปรับรายวัน 0.1% ของราคาค่าจ้างและติดตั้งระบบที่ยังไม่
ส่งมอบ นับจากวันที่เกินกำหนดเวลาจนถึงวันที่งานแล้วเสร็จ
         -   กฟภ.มีสิทธิเรียกค่าใช้จ่ายในการควบคุมงาน (เงินเดือน,เบี้ยเลี้ยง,ค่าที่พัก,ค่าล่วงเวลา ฯลฯ) นับจากวันที่เกิน
กำหนดเวลาจนถึงวันที่งานแล้วเสร็จ
         -   กฟภ.มีสิทธิเรียกค่าเสียหายอื่นๆอันเกิดจากการที่บริษัททำงานล่าช้า (ถ้ามี)
ความคืบหน้าของโครงการสามารถดูได้จาก www.solartron.co.th
         หมายเหตุ : หนังสือชี้ชวนส่วนที่ 2 หน้า 105 ตารางรายได้การขายแผงเซลล์แสงอาทิตย์พร้อมติดตั้งสำหรับโครงการโซลาร์โฮม
ในไตรมาสที่ 2/2548 เปลี่ยนต้นทุนขายจาก 266.35 ล้านบาท เป็น 226.35 ล้านบาท และเปลี่ยนกำไรขั้นต้นจาก 8.47 ล้านบาท เป็น
48.47 ล้านบาท

         2. โครงการสร้างโรงงานผลิตแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งได้มีการลงในสัญญาว่าจ้างกับ บริษัท M+W Zander (Thai) Ltd. 
เมื่อวันที่ 14  มีนาคม 2548 (รายละเอียดปรากฏในโครงการในอนาคต) 

การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการจัดการ        - ไม่มี -

โครงการดำเนินงานในอนาคต  
         (1)  โครงการสร้างโรงงานผลิตแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์  
               ในปัจจุบันบริษัทผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิคอนโดยการนำเข้าแผ่นเซลล์จากต่างประเทศ และนำมา
ประกอบเป็นแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และมีโครงการขยายกิจการโดยการสร้างโรงงานผลิตแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ กำลังผลิต
ประมาณ 20 เมกะวัตต์ต่อปี  โดยใช้วัตถุดิบเป็นแผ่นเวเฟอร์ (Wafer) นำมาผ่านกระบวนการผลิตให้เกิดความสามารถในการ
ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้คือแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์นี้สามารถนำไปใช้
เป็นวัตถุดิบในการประกอบแผงเซลล์ในกระบวนการผลิตเดิมของบริษัท  จัดเป็นการขยายการผลิตสู่อุตสาหกรรมต้นน้ำ 
(Up-stream) และเป็นโรงงานผลิตแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิคอนแห่งแรกในประเทศไทย ใช้เงินลงทุนประมาณ 
910 ล้านบาทและใช้เทคโนโลยีจากประเทศเยอรมนี  คาดว่าจะมีระยะเวลาในการคืนทุนประมาณ 3 ปี และทำให้ต้นทุนการ
ผลิตของบริษัทต่ำลงประมาณร้อยละ 20  

ข้อมูลทั่วไปของโรงงาน
ที่ตั้งโรงงาน                       ถนนธนะรัชต์  กม.6  อำเภอปากช่อง  จังหวัดนครราชสีมา
กิจกรรม                             ผลิตแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกมัลติคริสตัลไลน์ซิลิคอนโดยการแพร่ซึมสารเจือปนฟอสฟอรัส
                                          ลงบนแผ่นเวเฟอร์
พื้นที่โรงงาน                      ประมาณ 5 ไร่
พื้นที่อาคารโรงงาน            2,000 ตารางเมตร (รวมอาคารย่อยต่างๆ)
จำนวนเซลล์ที่ผลิตต่อปี      5.6 ล้านเซลล์
จำนวนพนักงานทั้งหมด     ประมาณ 80 คน (ฝ่ายโรงงาน ทำงาน 3 กะ)

         ในวันที่ 14 มีนาคม 2548 บริษัทได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างให้ บริษัท M+W Zander (Thai) Ltd. ("M+W Zander") 
ที่ปรึกษาชั้นนำในการจัดสร้างโรงงานอุตสาหกรรมผลิตแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์แบบ Turnkey ที่ทันสมัยที่สุดและดีที่สุด
ในโลกแห่งหนึ่ง เป็นผู้รับเหมาให้ดำเนินการออกแบบ ก่อสร้าง ติดตั้ง และถ่ายทอดเทคโนโลยีในลักษณะแบบเบ็ดเสร็จ 
(Turnkey Project) 

สรุปสาระสำคัญของสัญญา
         (1) มูลค่าสัญญา
               มูลค่ารวมของสัญญาคือ 910 ล้านบาท (ไม่รวม VAT) คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 51.7137 บาทต่อ 1 ยูโร ทั้งนี้ 
มูลค่าของสัญญาดังกล่าวรวมมูลค่าของการจัดทำ Concept Design เท่ากับ 7.9 ล้านบาท (ไม่รวม VAT) 

         (2) ภาระหน้าที่หลักของ M+W Zander
               M+W Zander จะรับผิดชอบต่อผลงาน การจัดการ การทำงาน และการส่งมอบงานต่อบริษัท รวมถึงการรับประกัน
ต่างๆในลักษณะของ Turnkey Project สำหรับการออกแบบและก่อสร้างโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิคอน อย่าง
ถูกต้องและเหมาะสมตามกำหนดเวลา และได้มาตรฐานตามวิชาชีพ ซึ่งหน้าที่ของ M+W Zander มีดังต่อไปนี้
              -  จัดทำ Concept Design และ Detail Design สำหรับโรงงาน
              -  ก่อสร้างโรงงาน  ติดตั้งเครื่องจักรและระบบสาธารณูปโภค ให้เสร็จตามเวลาที่กำหนดในข้อ (7)
              -  จัดหาและฝึกอบรมการทำงาน รวมทั้งควบคุมคุณภาพและตรวจสอบการทำงานของ Sub-contractors และ 
Suppliers ให้เป็นไปตามที่กำหนด
             -  จัดหาเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพการผลิตตามที่กำหนดในข้อ (8)
             -  ทำการทดสอบการเดินเครื่องจักร สอบเทียบ และออกใบรับรอง
             -  ฝึกอบรมพนักงานของบริษัททั้งในด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติ  ตั้งแต่การขนย้ายเครื่องจักรเข้าโรงงานจนกระทั่งถึง
การทดสอบขั้นสุดท้าย  ฝึกอบรมการเดินเครื่องจักรและการปรับกระบวนการผลิต  รวมถึงการฝึกอบรมการบำรุงรักษาและ
การซ่อมแซมเครื่องจักร
              -  ควบคุมดูแลการทดสอบการผลิต ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ (8)
              - ในการส่งมอบงาน M+W Zander จะส่งมอบคู่มือการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา  แบบแปลนโดยละเอียดของ
โรงงานทั้งหมด  และใบรับประกันคุณภาพให้บริษัท
              -  ในระหว่างการก่อสร้าง ควบคุมจัดการให้อาคารโรงงาน และเครื่องจักรอยู่ในสภาพสะอาดและพร้อมใช้ และบริหาร
จัดการในเรื่องการควบคุมความปลอดภัยของโรงงาน
               -  M+W Zander จะรายงานความคืบหน้าในการดำเนินโครงการต่อบริษัทเดือนละครั้ง  

         (3) การประกันภัย
               -  M+W Zander รับประกันความเสียหายของโรงงาน อุปกรณ์ เครื่องจักร และระบบสาธารณูปโภค ตามมูลค่าจริง
              -   M+W Zander รับประกันความเสียหายจากการบาดเจ็บของบุคคล และทรัพย์สินของบุคคลที่สาม เป็นจำนวนเงิน 2.5 
ล้านยูโรหรือ 129.3 ล้านบาท สำหรับความเสียหายหรือการบาดเจ็บแต่ละครั้ง โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ตลอดระยะเวลาของสัญญา

         (4)  การตรวจและทดสอบเบื้องต้นของเครื่องจักรและอุปกรณ์ทั้งหมดในการผลิต
               -  ก่อนที่จะจัดส่งเครื่องจักรออกจากโรงงานของผู้ผลิต  M+W Zander และบริษัทจะร่วมกันตรวจและทดสอบเบื้องต้น 
ณ สถานที่ผลิตเครื่องจักร เพื่อให้มั่นใจว่ามีประสิทธิภาพเป็นไปตามข้อกำหนดของเครื่องจักรและ M+W Zander จะมอบหนังสือ
รับรองผลการตรวจและทดสอบให้กับบริษัท เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องจักรทั้งหมดมีคุณภาพและประสิทธิภาพ  สามารถผลิตได้ตาม
ข้อกำหนดในสัญญา

         (5)  การส่งมอบงานและการออกใบรับรองการผลิต
               -  M+W Zander จะทำการทดสอบขั้นสุดท้าย (Final Acceptance Test) เพื่อการผลิตเป็นไปตามข้อกำหนดในข้อ (8)  
ซึ่งถ้าหากไม่ผ่านข้อกำหนด  M+W Zander สามารถจะทำการทดสอบขั้นสุดท้ายนี้อีกครั้งหนึ่ง  โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น 
เช่น ค่าวัตถุดิบต่างๆ  และถ้าในการทดสอบขั้นสุดท้ายครั้งที่สองนี้ยังไม่ผ่านข้อกำหนด M+W Zander จะรับผิดชอบชดเชย
ค่าเสียหายตามข้อ (9)

         (6) การจ่ายเงิน (Payment Schedule)
               -   การจ่ายเงินสำหรับ Concept Design จำนวน 7.9 ล้านบาท
                    +   25% จ่ายล่วงหน้า
                    +   50% จ่ายเมื่อ M+W Zander ส่ง Concept Design Report
                    +   25% จ่ายเมื่อบริษัทรับรอง Concept Design
              -   การจ่ายเงินสำหรับการออกแบบและก่อสร้างโรงงาน (รวมเครื่องจักร) จำนวน 902.1 ล้านบาท
                   +   25% จ่ายล่วงหน้าเมื่อยืนยันคำสั่งซื้อและสั่งจ้างก่อสร้าง  (โดยบริษัทได้รับ Performance Bond จาก M+W 
Zander ก่อนจ่ายเงิน)
                   + 50% จ่ายเมื่อเครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์พร้อมจะถูกจัดส่งออกจากประเทศผู้ผลิต
                   + 15% จ่ายเมื่อติดตั้งเครื่องจักรแล้วเสร็จ
                   + 10% จ่ายภายหลังจากการทดสอบขั้นสุดท้าย
             ทั้งนี้ รายละเอียดจำนวนงวดการจ่ายเงินและมูลค่าการจ่ายเงินจะระบุในรายงานผลการจัดทำ Concept Design

         (7) ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
               ลงนามในสัญญา                                 มีนาคม 2548
              จัดทำ Concept design                         มีนาคม – พฤษภาคม 2548
              จัดทำ Detailed design                         มีนาคม – พฤษภาคม 2548
              เริ่มก่อสร้าง                                         กันยายน 2548
              ก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จ                      เมษายน 2549
              นำเครื่องจักรเข้าโรงงานและติดตั้ง      พฤษภาคม 2549
              เริ่มการผลิต                                         กันยายน 2549

         (8) การรับประกันผลิตภัณฑ์โดย M+W Zander
               - ประสิทธิภาพการแปลงพลังงานของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกมัลติคริสตัลไลน์ซิลิคอนโดยเฉลี่ยร้อยละ 14.5
               -  กำลังการผลิตสูงสูด 20 เมกะวัตต์ (สำหรับเซลล์ขนาด 156 mm x 156 mm) 
               -  ประสิทธิภาพการผลิต (Yield) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 92 หรือมีปริมาณของเสียไม่เกินร้อยละ 8
               -   M+W Zander รับประกันอาคารและระบบสาธารณูปโภคเป็นเวลา 12 เดือนภายหลังจากที่แล้วเสร็จโดยสมบูรณ์  
และรับประกันเครื่องจักรเป็นเวลา 12 เดือน หลังจากการทดสอบขั้นสุดท้าย  ทั้งนี้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 22 เดือนภายหลังจาก
ที่ขนย้ายเครื่องจักรเข้าโรงงาน  
 
         (9) ค่าปรับ
              -   M+W Zander จะจ่ายค่าปรับกรณีเกิดความล่าช้า และผลงานไม่บรรลุข้อกำหนดดังต่อไปนี้  
                  +   ความล่าช้าในการนำเครื่องจักรเข้าโรงงานและติดตั้ง
                  +   ความล่าช้าในการเริ่มการผลิต
                  +  ประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ กำลังการผลิตและประสิทธิภาพการผลิตไม่เป็นไปตามที่กำหนด ทำให้ใช้
เวลาในการแก้ไข
             -   M+W Zander จะจ่ายค่าความเสียหายดังกล่าวในกรณีเกิดความล่าช้าเกินกว่า 8 สัปดาห์  โดยจะจ่ายค่าปรับเป็นมูลค่า
ร้อยละ 0.2 ของมูลค่าสัญญาหรือประมาณ 1.82 ล้านบาทต่อสัปดาห์  แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าสัญญาหรือประมาณ 91 
ล้านบาท ก่อนระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญาโดยสมบูรณ์
             -  M+W Zander จะออก Performance bond เป็นหนังสือรับรองจากธนาคารมูลค่าร้อยละ 10 ของสัญญาหรือประมาณ 
91 ล้านบาทเพื่อเป็นหลักประกันให้กับบริษัท ภายใน 21 วันหลังจากที่บริษัทลงนามในสัญญา Detailed Design and Construction 
Works และบริษัทจะคืนหนังสือรับรองธนาคารให้กับ M+W Zander ภายหลังที่บริษัทจ่ายเงินงวดสุดท้าย
             -  หลังจากที่การส่งมอบงานทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้ว M+W Zander จะออก Warranty bond เป็นมูลค่าร้อยละ 10 ของมูลค่า
โครงการจริงเพื่อเป็นหลักประกันของผลงาน  ซึ่งบริษัทจะคืนให้กับ M+W Zander 1 ปีหลังจากการส่งมอบงาน

การจัดหาวัตถุดิบและเครื่องจักร
         วัตถุดิบหลักสำหรับโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์คือแผ่นซิลิคอนเวเฟอร์ ซึ่งต้องอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศเช่นเดียว
กับเซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของบริษัทในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามบริษัทสามารถสั่งซื้อแผ่นซิลิคอนเวเฟอร์จาก
ซัพพลายเออร์รายเดิมได้  เนื่องจากซัพพลายเออร์เหล่านี้ผลิตทั้งแผ่นเวเฟอร์และเซลล์แสงอาทิตย์  นอกจากนั้นบริษัทยังสามารถ
สั่งซื้อแผ่นเวเฟอร์ได้จากบริษัทอื่นๆ ในประเทศญี่ปุ่น เยอรมนี  สหรัฐอเมริกา  นอร์เวย์ และไต้หวัน เป็นต้น

         สำหรับเครื่องจักร  บริษัทเลือกใช้เครื่องจักรผลิตเซลล์แสงอาทิตย์จากบริษัท  Centrotherm ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็น
ผู้ผลิตเครื่องจักรสำหรับการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีชื่อเสียงมากในปัจจุบัน 

แผนการใช้เงินและการจัดหาเงินทุน
              ระยะเวลา                         รายละเอียด                     ค่าใช้จ่าย (บาท)                          แหล่งเงินทุ
น  
ไตรมาสที่ 1 ปี 2548        ค่า Concept Design                          7,900,000           จากการเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นสามัญ
ไตรมาสที่ 2 ปี 2548        ค่าเครื่องจักรงวดที่  1                   169,143,750           จากการเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นสามัญ
                                       ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง งวดที่ 1    56,381,250           จากการเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นสามัญ
ไตรมาสที่ 4 ปี 2548        ค่าเครื่องจักรงวดที่ 2                    399,240,625           จากการเพิ่มทุนและกระแสเงินสดบริษัท
                                       ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง งวดที่ 2    51,809,375           เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
ไตรมาสที่ 3 ปี 2549       ค่าเครื่องจักรงวดที่ 3                       83,505,625           เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
                                      ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างงวดที่ 3       51,809,375          เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
ไตรมาสที่ 2 ปี 2550       การทดสอบขั้นสุดท้าย                     90,210,000          เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน

         (2)  โครงการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย (Dealer)  
                บริษัทมีแผนในการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายจำนวน 30 แห่งโดยให้ครอบคลุมพื้นที่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อขยายเครือข่ายการจำหน่ายระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายจะช่วย
ขยายส่วนแบ่งการตลาดไปสู่ส่วนภูมิภาคได้มากยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งมีจำนวน 6,740 แห่งทั่วประเทศ
ซึ่งช่วยการลดการพึ่งพิงลูกค้าจากภาครัฐบาล   

              สำหรับตัวแทนจำหน่าย  บริษัทจะซัพพลายให้เฉพาะอุปกรณ์หลักที่สำคัญเช่นแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เครื่องสูบน้ำ เป็นต้น
ส่วนอุปกรณ์ประกอบอื่นๆเช่นแบตเตอรี่ และโครงสร้างภายนอก ตัวแทนจำหน่ายจะเป็นผู้จัดหา โดยบริษัทจะทำการคัดเลือก
ตัวแทนจำหน่ายเหล่านี้เพื่อให้มั่นใจถึงคุณภาพของการติดตั้งระบบและการบริการหลังการขาย ซึ่งปัจจุบันบริษัทได้ทดลองแต่งตั้ง
ตัวแทนจำหน่าย 2 ตัวแทน  เพื่อทดสอบระบบในการกำหนดเงื่อนไขราคา และระบบการจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสม  และกำลัง
เปิดรับสมัครตัวแทนจำหน่ายในวงกว้าง อย่างไรก็ตามโครงการนี้มีความเสี่ยงในด้านการกำหนดเงื่อนไขราคาและค่าตอบแทน 
ซึ่งบริษัทกำลังทดสอบการกำหนดค่าตอบแทนให้มีความเหมาะสมและจูงใจเพียงพอ

รายการระหว่างกัน          
         ในช่วงปี 2546 และปี 2547 บริษัทมีการทำรายการกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งรายละเอียด สรุปได้ดังนี้ 
         1.   บริษัท เอ็น.เอส.เอ็ม.ที จำกัด ("NSMT")
               ความสัมพันธ์ : 
               มีผู้ถือหุ้นร่วมกัน โดยนางสาวกนกพร กุญชรยาคง และนายอานนท์ จันทะพันธ์ ซึ่งถือหุ้นรวมกันร้อยละ 99.99 ใน 
NSMT  เป็นญาติสนิทกับกลุ่มกุญชรยาคง และมีกรรมการร่วมกัน คือ นางสาววันดี กุญชรยาคง และ นายปรีดา ชวนิชย์ ซึ่งลา
ออกจากตำแหน่งกรรมการในวันที่ 10 กันยายน 2547
               (1)   ในปี 2546 บริษัทซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตแผงเซลล์จาก NSMT จำนวน 45,475 บาท ซึ่งราคาดังกล่าวเป็น
ราคาตลาด
               (2)   ปี 2546 บริษัทรับสินค้าจากผู้ถือหุ้นของ NSMT เพื่อชดเชยผลขาดทุนจากเงินลงทุนใน NSMT เป็นจำนวน 2.76 
ล้านบาท ซึ่งมูลค่าสินค้าที่รับคืนนั้นสูงเกินกว่ามูลค่าเงินลงทุนในครั้งแรก ทำให้บริษัทมีกำไรจากเงินลงทุน
               (3)  บริษัทให้ NSMT กู้ยืมเงินจำนวน 50,000 บาทเพื่อชำระรายจ่ายทางภาษีในปี 2546 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ซึ่ง
สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน (อัตราดอกเบี้ย MLR เฉลี่ยของสถาบันการเงิน ปี 2545 และ 2546 เท่ากับ 7% และ 
6.5%  ตามลำดับ) และบริษัทได้รับคืนทั้งจำนวนในปี 2547 โดย NSMT จ่ายดอกเบี้ยจำนวน 4,411 และ 2,082 บาทในปี 2546 
และ 2547 ตามลำดับ 

         2.  บริษัท ดาทรอนไทย จำกัด ("DT")
              ความสัมพันธ์ : 
              มีผู้ถือหุ้นร่วมกัน คือ ครอบครัวกุญชรยาคง โดยนางสาววันดี กุญชรยาคง และนายสมศักดิ์ กุญชรยาคง ถือหุ้นรวมกัน
ในดาทรอน ไทย ร้อยละ 99.96 และมีกรรมการร่วมกัน คือ นางสาววันดี กุญชรยาคง และ นายปรีดา ชวนิชย์ ซึ่งลาออกจาก
ตำแหน่งกรรมการในวันที่ 10 กันยายน 2547
              (1)  ในปี 2546 บริษัทซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตแผงเซลล์จาก DT จำนวน 10 ล้านบาทซึ่งเป็นราคาตลาด
              (2)  ในปี 2545 และ 2546 ธุรกรรมของบริษัทมีน้อยกว่าในปัจจุบันมากจึงได้ใช้พนักงานและพื้นที่ร่วมกับ DT และว่าจ้าง 
DT  บริหารงาน ซึ่งรวมถึงการใช้พนักงานร่วมกัน  บริหารค่าเช่าสำนักงาน และค่าสาธารณูปโภค โดยบริษัทจ่ายค่าจ้างบริหารงาน
ดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน 1.8 และ 1.5 ล้านบาทตามลำดับ อย่างไรก็ตามบริษัทได้ยกเลิกการจ้างบริหารงานตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2546
              (3) บริษัทเก็บค่าบริการค่าถ่ายเอกสาร ค่าโทรศัพท์และค่าโทรสารในราคาตามจริง  จาก DT เป็นจำนวน 22,799 บาท 
และ 33,089 บาทในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ เนื่องจากพนักงานดาทรอนไทยใช้เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องโทรศัพท์ และ
เครื่องโทรสารที่เป็นทรัพย์สินของบริษัท อย่างไรก็ตามรายการนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต
             (4)  บริษัทจ่ายค่าบริการถ่ายเอกสาร ค่าโทรศัพท์และค่าโทรสารในราคาตามจริงให้กับ DT เป็นจำนวน 215,796 และ 
99,998  บาท  ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ เนื่องจากพนักงานของบริษัทใช้เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องโทรศัพท์ และเครื่องโทรสาร
ที่เป็นทรัพย์สินของ DT รายการส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงที่บริษัท จัดเตรียมเอกสารเพื่อซองประกวดราคางานโซลาร์โฮม ซึ่งจำเป็น
ต้องถ่ายเอกสารจำนวนมาก จึงต้องขอใช้เครื่องถ่ายเอกสาร อย่างไรก็ตามรายการนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต
             (5)  บริษัทจ่ายค่าเช่ารถยนต์เป็นจำนวน 82,000 บาทให้กับ DT ในปี 2547 ซึ่งเป็นการเช่ารถยนต์เพื่อใช้ในกิจการของบริษัท
และราคาที่เช่าต่ำกว่าราคาตลาด อย่างไรก็ตามรายการนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต

         3.  บริษัท ชวนิชย์ จำกัด 
              ความสัมพันธ์ : 
              มีผู้ถือหุ้นร่วมกัน คือ ครอบครัวชวนิชย์ ถือหุ้นรวมกันในบริษัท ชวนิชย์ จำกัดร้อยละ 90.07 และมีกรรมการร่วมกัน คือ 
นายปรีดา ชวนิชย์ (กรรมการของบริษัทจนถึงวันที่ 10 กันยายน 2547)
              (1)  ในปี  2546 และ 2547 บริษัทซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นจำนวน  
20.33 ล้านบาท และ 4.65 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ราคาดังกล่าวเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ได้รับการเสนอจากบริษัทอื่น
             (2)  บริษัทเช่าอาคารชวนิชย์ แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ ส่วนชั้น 1 และชั้น 2 เพื่อใช้เป็นสำนักงานใหญ่ 
โดยจ่ายค่าเช่าเป็นจำนวน 0.59 และ 0.88 ล้านบาทในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ โดยอัตราค่าเช่าดังกล่าวเป็นอัตราที่ต่ำกว่า
ราคาค่าเช่าในบริเวณใกล้เคียง

         4.  บริษัท ชวกุลซัพพลาย จำกัด ("CS")
              ความสัมพันธ์ : 
              มีผู้ถือหุ้นร่วมกัน คือ นางสาววันดี กุญชรยาคง นายสมศักดิ์ กุญชรยาคง และ นายปรีดา ชวนิชย์ (กรรมการของบริษัท
จนถึงวันที่ 10 กันยายน 2547) ถือหุ้นรวมกันใน CS ร้อยละ 99.60 และมีกรรมการร่วมกัน คือ นางสาววันดี กุญชรยาคง 
นายสมศักดิ์ กุญชรยาคง และ นายปรีดา ชวนิชย์ (กรรมการของบริษัทจนถึงวันที่ 10 กันยายน 2547)
              (1)  บริษัทจ่ายค่าสาธารณูปโภคให้กับ CS เป็นจำนวน 0.37 และ 0.79 ล้านบาทในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ 
เนื่องจาก CS ทำหน้าที่บริหารงานในการเช่าอาคารให้กับ บริษัท ชวนิชย์ จำกัด  มีหน้าที่บริหารจัดการสาธารณูปโภคภายใน
อาคารชวนิชย์ ซึ่งเป็นอาคารที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัท  การจ่ายค่าไฟฟ้าและค่าประปาในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่กำหนด
โดยการไฟฟ้านครหลวงและการประปานครหลวง ถือเป็นรายการปกติสำหรับการเช่าอาคารเนื่องจาก CS นำไปเป็นค่าใช้จ่าย
ในการซ่อมแซมมิเตอร์
             (2)  บริษัทเก็บค่าบริการค่าถ่ายเอกสาร ค่าโทรศัพท์และค่าโทรสารในราคาตามจริง  จาก CS เป็นจำนวน 6 บาท และ 
790 บาท ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ เนื่องจากพนักงาน CSใช้เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องโทรศัพท์ และเครื่องโทรสาร
ที่เป็นทรัพย์สินของบริษัท อย่างไรก็ตามรายการนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต

         5.  บริษัท ชูเตอร์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด 
              ความสัมพันธ์ : 
              มีกรรมการร่วมกัน คือ นางพรรณี เตชะณรงค์
               (1)  บริษัทซื้อแผงไม้ที่ใช้ในการติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับโครงการโซลาร์โฮมเฟส 1 
เป็นจำนวน 2.28 ล้านบาทในปี 2547 โดยราคาสินค้าที่ซื้อจากบริษัท ชูเตอร์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ต่ำกว่าราคาของบริษัทอื่น 
และรายการนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกหลังจบโครงการ
              (2)   บริษัทจ่ายค่าเจาะรูแผงไม้ของรายการซื้อข้างต้นเป็นจำนวน 0.12 ล้านบาทในปี 2547

         6.  นายไพวงษ์ เตชะณรงค์
               ความสัมพันธ์ : 
               ถือหุ้นในบริษัทร้อยละ 30.42  และดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท
               (1)  นายไพวงษ์ซื้อระบบไฟฟ้าแสงสว่างเพื่อติดตั้งในบริเวณ โบนันซ่า รีสอร์ท แอนด์ โฮเต็ล  จ.นครราชสีมา เป็น
จำนวน 9.10 ล้านบาท ในปี 2547 ซึ่งเป็นรายการค้าปกติ

         7.   นางสาวสมปอง กุญชรยาคง
               ความสัมพันธ์ :   
               ถือหุ้นในบริษัทร้อยละ 18.08
               บริษัทกู้ยืมเงินจากนางสาวสมปองเพื่อใช้เป็นเงินหมุนเวียนในกิจการ เป็นจำนวนเงิน 9 ล้านบาทในปี 2546 และ 2 
ล้านบาทในปี 2547 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน ทั้งนี้บริษัทได้ชำระคืนเงินกู้
ทั้งจำนวนในปี 2547 โดยจ่ายดอกเบี้ยเป็นจำนวน 23,836 บาท และ 42,493 บาทในปี 2546 และปี 2547 ตามลำดับ  

         8.  นางสาววันดี กุญชรยาคง
              ความสัมพันธ์ : 
              ถือหุ้นในบริษัทร้อยละ 10.75 และดำรงตำแหน่งกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
              (1) นางสาววันดีซื้อระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อติดตั้งที่บ้านพักตากอากาศ เป็นจำนวน 1.28 ล้านบาท
ในปี 2546 ซึ่งเป็นรายการค้าปกติ
             (2) บริษัทจ่ายเงินทดรองเพื่อการติดต่อประสานงานกับภาครัฐ และการสำรวจติดตั้งระบบ โดยมียอดคงค้างในปี 2546 
เป็นจำนวน 3.48 ล้านบาท  ซึ่งรายการดังกล่าวได้มีการเคลียร์เป็นค่าใช้จ่ายแล้วทั้งหมด
             (3) บริษัทกู้ยืมเงินจากนางสาววันดีเพื่อใช้เป็นเงินหมุนเวียนในกิจการ เป็นจำนวนเงิน 10.7 ล้านบาทในปี 2546 อัตรา
ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน ทั้งนี้บริษัทได้ชำระคืนเงินกู้ทั้งจำนวน 1.7 ล้านบาท
ในปี 2546 และจ่ายคืนส่วนที่เหลือทั้งหมดในปี 2547 โดยจ่ายดอกเบี้ยเป็นจำนวน 33,485 บาท และ 37,726 บาทในปี 2546 และ
ปี 2547 ตามลำดับ 
             (4) ในปี 2545 นางสาววันดีกู้ยืมเงินจากบริษัทเพื่อชำระค่าหุ้นจำนวน 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ซึ่งเป็นอัตราที่
สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน โดยชำระคืนเงินกู้ทั้งหมดในปี 2546 และจ่ายดอกเบี้ยเป็นจำนวน 26,849 บาทในปี 2546

         9.  นายปรีดา ชวนิชย์
              ความสัมพันธ์ : 
              เป็นกรรมการบริษัทจนถึงวันที่ 10 กันยายน 2547
             ในปี 2545 นายปรีดากู้ยืมเงินจากบริษัทเพื่อชำระค่าหุ้นจำนวน 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่า
อัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน โดยจ่ายดอกเบี้ยเป็นจำนวน 30,465 บาทในปี 2546 และชำระคืนเงินกู้ทั้งหมดในปี 2546

         10.  นายวิโรจน์ ปรีชาว่องไวกุล
                ความสัมพันธ์ : 
                เป็นญาติสนิทกับนางสาวนงนุช ปรีชาว่องไวกุล ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท (ขายหุ้นออกไปแล้วในปี 2546)
                บริษัททำสัญญาเงินกู้ยืมระยะยาวกับธนาคารเพื่อนำมาให้ นายวิโรจน์ กู้ยืมต่อจำนวน 20 ล้านบาทในเดือนพฤษภาคม 
2544  อัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด โดยนายวิโรจน์ เป็นผู้วางหลักประกันกับทางธนาคาร และเป็นผู้รับผิดชอบ
ชำระหนี้ทั้งหมด ทั้งนี้เงินกู้ค้างชำระจากปี 2544 มีจำนวน 12.75 ล้านบาทโดยในปี 2545 นายวิโรจน์จ่ายคืนเงินกู้เป็นจำนวน 
10.44 ล้านบาท และชำระคืนส่วนที่เหลือทั้งหมดในปี 2546 โดยมีดอกเบี้ยจ่ายเป็น 40,697 บาทในปี  2546 

         11. นายสมศักดิ์ กุญชรยาคง
                ความสัมพันธ์  :  
                ถือหุ้นในบริษัทร้อยละ 2.08 และดำรงตำแหน่งกรรมการ และ กรรมการบริหารของบริษัท
                บริษัทจ่ายเงินทดรองเพื่อการติดต่อประสานงานกับภาครัฐ และการสำรวจติดตั้งระบบ โดยมียอดคงค้างในปี 2546 
เป็นจำนวน 37,000 บาท  ซึ่งรายการดังกล่าวได้มีการเคลียร์เป็นค่าใช้จ่ายแล้วทั้งหมด

ภาระผูกพัน                       
         ณ 30 กันยายน 2547 บริษัทมีภาระผูกพันดังต่อไปนี้ 
         (1)  ที่ดินที่ตั้งศูนย์ผลิต เนื้อที่ 15 ไร่ 2 งาน 15 ตารางวา อาคารโรงงาน และเครื่องจักร  รวมมูลค่า 64,431,683 บาท มี
ภาระจำนองเพื่อค้ำประกันวงเงินกู้ยืมธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง รวมวงเงิน 301 ล้านบาท
         (2)   เครื่องตกแต่งติดตั้งและอุปกรณ์สำนักงาน มีภาระตามสัญญาเช่าซื้อ จำนวน 210,000 บาท   
         (3)   ยานพาหนะ มีภาระตามสัญญาเช่าซื้อ จำนวน 14,268,265 บาท 

ปัจจัยเสี่ยง
         1.  ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงงานจากลูกค้าภาคราชการ
              ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2542-2546)  รายได้ประมาณร้อยละ 70 ของบริษัทมาจากโครงการติดตั้งระบบ
ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับโครงการของหน่วยงานราชการกลางและหน่วยงานราชการท้องถิ่น    ดังนั้นหากในอนาคต
รัฐบาลมีการชะลอหรือยกเลิกโครงการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์  หรือบริษัทไม่สามารถ
ประมูลงานจากภาครัฐได้  อาจทำให้รายได้ในอนาคตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
             
              ธุรกิจการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการลงทุนทางด้านการพัฒนาสาธารณูปโภคของ
ภาครัฐ  ทำให้บริษัทต้องพึ่งพางานจากภาคราชการ อันเป็นลักษณะปกติของธุรกิจ และอุปสงค์จากภาครัฐมีอยู่อย่างต่อเนื่อง  
อาทิเช่น นโยบายส่งเสริมการให้บริการไฟฟ้าแก่ประชาชนในพื้นที่ที่ห่างไกลอย่างทั่วถึงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549)  ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์เป็นทางเลือกที่สำคัญ  ดังจะเห็นได้จากการอนุมัติการเร่งรัด
ขยายบริการไฟฟ้าโดยระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับครัวเรือน (โซลาร์โฮม) 

             นอกจากนี้รัฐบาลต้องการสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน แทนพลังงานจากเชื้อเพลิงธรรมชาติ  ทำให้
รัฐบาลประกาศนโยบายที่ชัดเจนเป็นแผนพัฒนาพลังงานทดแทนในการประชุมยุทธศาสตร์พลังงาน  ซึ่งในระยะเริ่มต้นของ
การนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์  ภาครัฐจะเป็นหน่วยงานหลักในการริเริ่มและลงทุนเพื่อกระตุ้นการบริโภคและ
สร้างขนาดตลาดดังที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น เยอรมันและญี่ปุ่น เป็นต้น อาทิเช่น การสนับสนุนการ
ติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านเพื่อจำหน่าย (Roof Top) 

           ที่ผ่านมาบริษัทเป็นผู้ติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับโครงการของภาครัฐประมาณร้อยละ 80 
ของโครงการทั้งหมดที่รัฐให้การสนับสนุน  แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการประมูลโครงการและความสัมพันธ์อันดีกับ
หน่วยราชการ  นอกจากนั้นในอนาคตการพึ่งพางานจากราชการจะลดลงจากการเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นของภาคเอกชน 
อาทิเช่น การรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนขนาดเล็กมาก (VSPP)  และจากนโยบายพัฒนาพลังงานทดแทน  ซึ่งหมายถึงการ
ให้เอกชนติดตั้งพลังงานทดแทนในสัดส่วนร้อยละ 5 ของกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นใหม่ (Renewable Portfolio 
Standard) ในปี 2554 นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อส่งออกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อีกด้วย 
        
         2.  ความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ
             ในการประกอบธุรกิจของบริษัทจากอดีตถึงปัจจุบัน ตลาดของระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนใหญ่
เป็นการติดตั้งระบบให้กับหน่วยราชการในท้องถิ่นที่ห่างไกลที่ไม่มีไฟฟ้าใช้  ซึ่งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็น
ทางเลือกที่เหมาะสม  แต่สำหรับตลาดในส่วนพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าถึงแล้ว การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีต้นทุนที่ค่อน
ข้างสูงเมื่อเทียบกับค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทำให้เกิดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ  ทั้งนี้ 
แต่เดิมบริษัทมีขนาดค่อนข้างเล็ก ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ณ สิ้นปี 2546 เท่ากับ 30 ล้านบาท ซึ่งในกรณีที่ผลประกอบการ
ของบริษัทต่ำกว่าเป้าหมาย ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะยังจำกัดอยู่เฉพาะในวงแคบ  อย่างไรก็ตามในปัจจุบันบริษัทมีการขยายกิจการ
อย่างรวดเร็ว ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ณ สิ้นปี 2547 เท่ากับ 240 ล้านบาท  และจะเพิ่มเป็น 300 ล้านบาทภายหลังจากที่เข้า
จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  นอกจากนั้นบริษัทยังมีแผนที่จะขยายการผลิตสู่ Upstream โดยใช้เงินลงทุน
ประมาณ 910 ล้านบาท ในขณะที่ตลาดและลูกค้าของบริษัทยังคงเป็นภาครัฐ และยังคงมีความเสี่ยงในเรื่องต้นทุนที่สูงกว่า 
ดังนั้นหากรายได้ของบริษัทไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ อาจมีผลต่อการดำเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ และกระทบ
ต่อผู้ถือหุ้นในวงกว้าง  

             อย่างไรก็ตามการดำเนินธุรกิจของบริษัทมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดตามแนวโน้มอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้า
จากพลังงานแสงอาทิตย์  เนื่องจากในประเทศไทยอุตสาหกรรมนี้กำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงจากที่เคยถูกใช้งานในวงจำกัด
ในฐานะพลังงานที่จำเป็นสำหรับพื้นที่ที่ห่างไกลที่สายส่งของการไฟฟ้าเข้าไม่ถึง  มาเป็นการใช้งานอย่างกว้างขวางในรูปแบบของ
พลังงานทดแทน  ซึ่งทำให้การเติบโตของอุตสาหกรรมและธุรกิจของบริษัทในอนาคตขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆต่อไปนี้
            (1)  ภาวะการขาดแคลนพลังงาน  การใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของภาคการผลิต  และราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่าง
รวดเร็วจากภาวะน้ำมันขาดแคลนทำให้ประเทศไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดหาพลังงานเพิ่มมากขึ้นทุกปี  ดังนั้นรัฐบาลจึงตั้ง
เป้าหมายในการใช้พลังงานทดแทนเป็นร้อยละ 8 ของพลังงานในเชิงพาณิชย์ภายในปี 2554 จากร้อยละ 0.5 ในปี 2545 โดยมีเป้าหมาย
ของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ที่ 250 เมกะวัตต์  ทำให้บริษัทมีโอกาสทางการตลาดเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

             (2)  การกำหนดสัดส่วนการผลิตพลังงานทดแทน (Renewable Portfolio Standard  "RPS")  แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า
ในปี 2547-2558 (PDP 2004) กำหนดให้โรงไฟฟ้าใหม่ที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลต้องผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็นส่วนหนึ่ง
ของโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของกำลังการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงจากฟอสซิลตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นไป  ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
ได้ประมาณการไว้ว่าภายในปี 2558 ประเทศไทยจะมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรวมกันประมาณ 630 เมกะวัตต์ (รายละเอียด
ในภาวะและแนวโน้มอุตสาหกรรม ส่วนที่ 2 หน้า 23) ซึ่งส่งผลให้โอกาสทางธุรกิจเปิดกว้างขึ้นอย่างมาก

            (3)  ความจำเป็นของไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง  เนื่องจากพลังงานแสงอาทิตย์สามารถติดตั้งได้
สะดวกและรวดเร็ว  ต้นทุนในการติดตั้งต่ำกว่าการปักเสาพาดสายของการไฟฟ้า อีกทั้งช่วยลดการรับภาระต้นทุนค่าไฟฟ้าของภาครัฐ  
ทำให้เป็นพลังงานทางเลือกที่สำคัญสำหรับพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง  เช่น เกาะแก่งต่างๆ  อุทยานแห่งชาติ เป็นต้น  

            (4)  ความเหมาะสมของพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเป็นพลังงานส่วนกลาง  ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าถึงแล้ว  การติดตั้งระบบการ
ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบต่างๆ เช่น ระบบสูบน้ำ  ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง  ระบบสื่อสารโทรคมนาคมไว้เป็น
สาธารณูปโภคส่วนกลางมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง  เนื่องจากประชาชนในท้องถิ่นไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายรายเดือน  โดย
งบประมาณในการติดตั้งจะได้รับการจัดสรรมาจากส่วนราชการกลาง ซึ่งจัดสรรให้กับองค์กรท้องถิ่นเพื่อนำไปพัฒนาความ
เจริญในท้องถิ่นของตน ดังนั้นธุรกิจของบริษัทในอนาคตยังสามารถเติบโตได้อีกมากจากการตอบสนองความต้องการขององค์กร
ต่างๆเหล่านี้ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากทั่วประเทศ  

             (5) ต้นทุนที่ลดลง  ในปัจจุบันต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีต้นทุนที่สูงกว่าค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านพัก
อาศัยของการไฟฟ้านครหลวงเพียงร้อยละ 40 (รายละเอียดในภาวะและแนวโน้มอุตสาหกรรม ส่วนที่ 2 หน้า 23) จากการที่ราคา
น้ำมันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและการเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในตลาดโลก 
ทำให้ต้นทุนของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง  ซึ่งการลดลงนี้จะเป็นตัวกระตุ้นการเติบโต
ของอุตสาหกรรมนี้ได้เป็นอย่างดี

            ดังนั้นการที่บริษัทเร่งขยายกำลังการผลิตในปัจจุบันเป็นการตัดสินใจที่สอดคล้องกับสภาพการณ์  ความต้องการการผลิต
ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มลดลงจะช่วยลดความเสี่ยงในการขยายธุรกิจ  
และการขยายตัวสู่ Upstream production เป็นรายแรกในประเทศไทยจะทำให้ต้นทุนการผลิตโดยรวมของบริษัทลดลงประมาณ
ร้อยละ 20-30 ซึ่งเป็นการสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน  นอกจากนี้ผู้บริหารและทีมประชาสัมพันธ์ของบริษัทจะดำเนินการ
ให้ความรู้ต่อประชาชนในเรื่อง Energy Awareness เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของพลังงานทดแทนโดยเฉพาะ
พลังงานแสงอาทิตย์  ซึ่งจะช่วยกระตุ้นตลาดในส่วนที่ไฟฟ้าเข้าถึงแล้วได้อีกทางหนึ่ง   

         3.  ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของรายได้
              การดำเนินธุรกิจปกติของบริษัทคือการรับเหมาติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในโครงการต่างๆทั้ง
จากภาครัฐและเอกชน  เช่น โครงการติดตั้งโทรศัพท์ทางไกลในชนบท  โครงการติดตั้งระบบสูบน้ำ เป็นต้น ซึ่งโครงการเหล่านี้
ส่วนใหญ่เป็นโครงการระยะสั้น  ดังนั้นรายได้ในอนาคตของบริษัทจึงมีความไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับโครงการที่จะมีเข้ามาในแต่ละปี
ทำให้ผลการดำเนินงานในอดีตไม่สามารถบ่งบอกถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้  ทั้งนี้รายได้ของบริษัทอาจลดลงได้ถ้าหากในอนาคต
โครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีน้อยลง

             อย่างไรก็ตาม  บริษัทเชื่อว่ารายได้ของบริษัทในอนาคตจะแปรผันตามแนวโน้มอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน
แสงอาทิตย์ที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ  จากเป้าหมายในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสง
อาทิตย์ 250 เมกะวัตต์ในปี 2554 ของรัฐบาลตามยุทธศาสตร์พลังงาน  และเป้าหมายในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน 630 
เมกะวัตต์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตตาม PDP 2004  รวมถึงการรักษาตลาดเดิมของบริษัทคือการให้บริการกับหน่วยราชการใน
โครงการต่างๆ  ทำให้บริษัทมั่นใจว่ารายได้ของบริษัทจะเติบโตอย่างต่อเนื่องต่อไปในอนาคต

         4.  ความเสี่ยงจากการที่มีผู้จัดจำหน่ายเซลล์แสงอาทิตย์น้อยราย
              เซลล์แสงอาทิตย์ที่เป็นวัตถุดิบหลักของบริษัทผลิตจากผลึกซิลิคอนซึ่งเป็นสินค้าที่มีผู้ผลิตน้อยราย  และซิลิคอนเป็น
วัตถุดิบที่มีความต้องการสูงในตลาดโลกเพราะใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเป็นสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor)  ที่มีการใช้งาน
อย่างแพร่หลายในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป  ทำให้บริษัทมีความเสี่ยงดังต่อไปนี้
            (1)  ความเสี่ยงจากการจัดหาเซลล์แสงอาทิตย์  ในปัจจุบันการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้า
จากพลังงานแสงอาทิตย์ส่งผลให้กำลังการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ไม่เพียงพอกับความต้องการในตลาด  ดังนั้นหากบริษัทไม่
สามารถจัดหาเซลล์แสงอาทิตย์ให้เพียงพอและสอดคล้องกับกำหนดเวลาที่ต้องส่งมอบงาน อาจทำให้การส่งมอบงานล่าช้า
กว่ากำหนด ส่งผลให้ขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนและกระทบต่อความไว้วางใจของลูกค้าได้

                  ที่ผ่านมาบริษัทมีความสัมพันธ์อันดีในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจกับผู้ผลิตชั้นนำของโลกหลายราย คือ  BP Solar, 
Kyocera Corporation, Shell Solar, Q-Cell และอื่นๆ ทำให้บริษัทมิได้เกิดภาวะพึ่งพิงซัพพลายเออร์รายใดรายหนึ่ง  นอกจากนั้น
บริษัทยังสามารถตรวจสอบความเพียงพอของเซลล์แสงอาทิตย์และวัตถุดิบที่สำคัญ และกำหนดระยะเวลาการจัดส่งที่แน่นอนได้  
เช่นในโครงการโซลาร์โฮม บริษัทมีการกำหนดราคาและระยะเวลาการจัดส่งวัตถุดิบล่วงหน้าเป็นเวลานานถึง 14 เดือน ส่งผล
ให้บริษัทไม่เคยเกิดปัญหาจากการขาดแคลนเซลล์แสงอาทิตย์  

            (2) ความเสี่ยงจากการความผันผวนของราคาเซลล์แสงอาทิตย์   ราคาเซลล์แสงอาทิตย์มีแนวโน้มลดลงตลอดระยะเวลา 
20 ปีที่ผ่านมาตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น  อย่างไรก็ตามในช่วง 5 ปีหลังความต้องการเซลล์แสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ
20-25 ต่อปีทำให้เกิดภาวะความต้องการเซลล์แสงอาทิตย์มากกว่ากำลังผลิตในปัจจุบัน  ส่งผลให้ราคาของเซลล์แสงอาทิตย์
เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางปี 2547 ซึ่งอาจทำให้บริษัทมีกำไรลดลงหรือขาดทุนจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น  

              อย่างไรก็ตามบริษัทป้องกันความเสี่ยงโดยการจองซื้อและกำหนดราคาเซลล์แสงอาทิตย์ล่วงหน้า  ทำให้สามารถ
ควบคุมต้นทุนวัตถุดิบได้   ทั้งนี้ในระยะยาว ราคาของเซลล์แสงอาทิตย์มีแนวโน้มที่จะลดลง  เนื่องจากผู้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์
ชั้นนำของโลกหลายรายกำลังเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น

             โครงการสร้างโรงงานผลิตแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ทำให้วัตถุดิบหลักของบริษัทเปลี่ยนจากแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์เป็น
แผ่นซิลิคอนเวเฟอร์ ซึ่งมีความเสี่ยงจากการที่มีผู้ผลิตน้อยรายเช่นเดียวกัน  อย่างไรก็ตามซัพพลายเออร์ปัจจุบันของบริษัทมี
การผลิตและจำหน่ายทั้งแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์และแผ่นซิลิคอนเวเฟอร์  ดังนั้นในอนาคตบริษัทจึงสามารถกำหนดราคาซื้อ
ล่วงหน้าและระยะเวลาในการจัดส่งแผ่นเวเฟอร์ได้เช่นเดียวกัน

         5.  ความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 
              บริษัทมีการนำเข้าวัตถุดิบหลักคือเซลล์แสงอาทิตย์และวัตถุดิบบางชนิดที่ใช้ในการผลิตแผงเซลล์จากต่างประเทศ  
ในงวด 9  เดือนแรกของปี 2547 คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าร้อยละ 92.74 ของต้นทุนค่าวัตถุดิบ  การเสนอราคาและการชำระเงิน
จะใช้เงินเหรียญสหรัฐและเงินยูโรเป็นหลัก  ในขณะที่สินค้าส่วนใหญ่จะได้รับการจำหน่ายภายในประเทศในรูปของเงินบาท
ทำให้บริษัทได้รับความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในกรณีที่ค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐหรือยูโรแข็งขึ้นเมื่อ
เทียบกับค่าเงินบาท 

              ในการสั่งซื้อวัตถุดิบ  บริษัทมีการจองสินค้าและกำหนดราคาสินค้าล่วงหน้าสำหรับโครงการที่ประมูลได้  จากนั้น
จึงทำการเปิดวงเงินเลตเตอร์ออฟเครดิต (L/C) เพื่อสั่งซื้อสินค้าจริงเป็นรายเดือน  และทำสัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า 
(Forward Contract) เต็มจำนวนสำหรับแต่ละ L/C ในช่วงที่อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนหรือมีแนวโน้มว่าค่าเงินบาทจะ
อ่อนค่าลง   อย่างไรก็ตามสำหรับโครงการโซลาร์โฮม  บริษัทยังมีความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในส่วน
ของสินค้าที่ได้จองซื้อล่วงหน้าไว้แต่ยังไม่ได้เปิด L/C 

         6.  ความเสี่ยงจากโครงการสร้างโรงงานผลิตแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์
              ปัจจุบันธุรกิจของบริษัทเป็นการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ การขยายธุรกิจไปสู่การผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งเป็น
การผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทต้นน้ำที่ใช้เทคโนโลยีซับซ้อนแห่งแรกในประเทศไทย และเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้
เงินลงทุนประมาณ 910  ล้านบาท ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงในการบริหารจัดการโครงการ เช่น อาจเกิดความล่าช้าในการ
ดำเนินโครงการ หรือประสิทธิภาพการผลิต และการจัดหาแหล่งเงินทุน ไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ เนื่องจากที่ผ่านมา
บริษัทยังไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสถานการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท

              ทั้งนี้ บริษัทได้บริหารจัดการความเสี่ยงดังกล่าว โดยว่าจ้างบริษัท M+W Zander (Thai) Ltd. ("M+W Zander") 
เป็นผู้รับเหมาออกแบบ ก่อสร้างโรงงานและติดตั้งเครื่องจักรแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey Project) เนื่องจากเป็นบริษัทที่ปรึกษา
ชั้นนำในการจัดสร้างโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทันสมัยที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง (รายละเอียดในโครงการในอนาคต 
ส่วนที่ 2 หน้า 46) นอกจากนี้บริษัทยังมีการจัดหาบุคลากรผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์  มาเป็นผู้บริหาร
จัดการโครงการ อย่างไรก็ตามยังมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ดังต่อไปนี้ 
               6.1   ความเสี่ยงที่บริษัท M+W Zander ไม่สามารถส่งมอบงานได้ตามกำหนดเวลา
                      M+W Zander มีกำหนดส่งมอบโครงการให้กับบริษัทภายในเดือนเมษายนปี 2550 ตามสัญญา ดังนั้น บริษัทจึง
มีความเสี่ยงหากหาก M+W Zander ไม่สามารถส่งมอบโครงการได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะส่งผลต่อผลการดำเนินงาน
ของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากบริษัทมีต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น 
 
                     อย่างไรก็ตาม M+W Zander เป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ในการออกแบบและก่อสร้างโรงงานผลิตเซลล์
แสงอาทิตย์ ตัวอย่าง เช่น โรงงาน Deutsche Cell ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีกระบวนการผลิต
เช่นเดียวกับโรงงานที่บริษัทกำลังจะก่อสร้าง ซึ่งทำให้บริษัทเชื่อว่า M+W Zander จะสามารถส่งมอบงานได้ตามกำหนดเวลา
ประกอบกับ M+W Zander จะต้องจัดส่งรายงานความคืบหน้าของการดำเนินโครงการให้บริษัททุกเดือน ซึ่งทำให้บริษัท
สามารถติดตามความคืบหน้าและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินโครงการได้อย่างทันท่วงที อันจะส่งผลให้
โครงการสามารถเสร็จตามกำหนดเวลา 
 
             6.2   ความเสี่ยงที่ บริษัท M+W Zander ไม่สามารถควบคุมให้ประสิทธิภาพการผลิตเป็นไปตามสัญญา
                     ตามสัญญา M+W Zander ต้องรับประกันประสิทธิภาพการผลิตและประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิตได้
ให้เป็นไปตามที่กำหนดก่อนการส่งมอบโครงการและภายหลังจากการส่งมอบโครงการแล้วเป็นเวลา 1 ปี ทั้งนี้ หาก M+W 
Zander ไม่สามารถควบคุมประสิทธิภาพการผลิตให้เป็นไปตามสัญญา อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนและรายได้ของบริษัท ซึ่ง
จะส่งผลต่อผลการดำเนินงานในอนาคตของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ 

                      อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงดังกล่าวถูกจำกัดโดย (1) ประสิทธิภาพของเครื่องจักรหลักในการผลิตจะได้รับการ
รับประกันจากบริษัท Centrotherm ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรสำหรับการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนี 
ซึ่งบริษัท Centrotherm รับประกันประสิทธิภาพการผลิตของเครื่องจักรโดยให้สิทธิบริษัทเรียกร้องค่าเสียหาย (Back to Back) 
กับ บริษัท Centrotherm ผ่าน M+W Zander และ (2) ประสิทธิภาพของระบบการผลิตทั้งหมด จะได้รับการรับประกันจาก 
M+W Zander ซึ่งรับประกันเป็นมูลค่าสูงสุดร้อยละ 10 ของมูลค่าสัญญา เป็นระยะเวลา 1 ปีหลังจากระบบการผลิตสามารถ
ผลิตได้เต็มประสิทธิภาพของเครื่องจักรตามที่กำหนดในสัญญา  

             6.3    ความเสี่ยงจากมูลค่าการรับประกันของ M+W Zander จำกัดในวงเงินร้อยละ 10 ของมูลค่าสัญญา 
                     หลักประกันที่ M+W Zander ให้ไว้กับบริษัทมีจำนวนร้อยละ 10 ของมูลค่าสัญญา ซึ่งมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น
อาจจะสูงกว่าวงเงินประกันดังกล่าว ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานในอนาคตของบริษัท เนื่องจากต้องรับภาระ
ค่าเสียหายในส่วนที่เกินจากวงเงินค้ำประกันของ M+W Zander 

                     อย่างไรก็ตาม การรับที่ M+W Zander จำกัดวงเงินร้อยละ 10 ของมูลค่าสัญญา เพียงพอที่จะครอบคลุมความเสี่ยง 
เนื่องจาก (1) จากสถิติงาน Turnkey ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมผลิตเซลล์แสงอาทิตย์โดย M+W Zander นั้น ยังไม่เคยมีข้อมูลว่า
ไม่สามารถผลิตได้ตามกำหนด (2) บริษัทมีการจ่ายเงินเป็นงวดตามความสำเร็จของงาน ซึ่งก่อนที่จะจ่ายเงิน บริษัทต้องมีการ
ตรวจสอบคุณภาพงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย  และนอกจากนั้นบริษัทยังได้มีการทดสอบเครื่องจักรในเบื้องต้นก่อนการส่ง
มอบจากโรงงานผู้ผลิต  (3) การออกแบบ ก่อสร้าง และติดตั้งระบบทุกอย่างต้องเสร็จสมบูรณ์พร้อมเริ่มดำเนินการผลิตก่อนที่
บริษัทจะจ่ายเงินงวดสุดท้าย

            6.4   ความเสี่ยงจากการที่ M+W Zander จะไม่ออก Performance bond ให้กับบริษัท
                    บริษัทอาจมีความเสี่ยงจากการที่ M+W Zander (Thai) Ltd. ซึ่งมีทุนจดทะเบียน 2,000,000 บาท ไม่ออก Performance
bond  ภายใน 21 วันนับจากวันที่ลงนามในสัญญาการออกแบบและก่อสร้างงาน (Detailed design and Construction Works) เพื่อ
ค้ำประกันการก่อสร้าง ติดตั้ง และทดสอบระบบให้กับบริษัท ซึ่งจะทำให้สัญญาระหว่างบริษัทกับ M+W Zander (Thai) Ltd. 
สิ้นสุดลง จะส่งผลให้โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ล่าช้า  

                   อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่า M+W Zander (Thai) Ltd. มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วเพียง 2 ล้านบาท แต่การออก Performance 
Bond  จะได้รับการสนับสนุนหรือค้ำประกันวงเงินจากกลุ่มบริษัท M+W Zander ซึ่งมีชื่อเสียง และฐานะการเงินแข็งแกร่ง ซึ่งเป็น
การลดความเสี่ยงจากการออก Performance Bond โดย M+W Zander (Thai) Ltd

             6.5   ความเสี่ยงจากการจัดหาเงินทุน
                     การก่อสร้างโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ ใช้เงินลงทุนประมาณ 910 ล้านบาท ขณะที่บริษัทระดมทุนจากการ
เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ได้ประมาณ 480 ล้านบาท ดังนั้น บริษัทจำเป็นต้องจัดหาเงินทุนเพิ่มเพื่อดำเนินโครงการ
ดังกล่าวโดยใช้เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และจากกระแสเงินสดจากผลการดำเนินงานของบริษัท โดยปัจจุบันบริษัทยังมิได้
ทำสัญญากู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินสำหรับโครงการดังกล่าว ดังนั้น บริษัทจึงมีความเสี่ยงหากไม่สามารถจัดหาเงินทุนได้ตาม
ระยะเวลาการใช้เงินที่กำหนด ซึ่งอาจจะส่งผลให้โครงการล่าช้าหรือหยุดชะงักได้

                    อย่างไรก็ตาม การที่บริษัทมีสัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 1.82 เท่า ณ 31 ธันวาคม 2547 และจะลดลง
เหลือประมาณ 0.80 เท่าภายหลังจากการออกและเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ ซึ่งต่ำกว่าสัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นใน
อุตสาหกรรมเดียวกันมาก (สัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของหลักทรัพย์ในกลุ่มพลังงาน ณ 14 มีนาคม 2548 เฉลี่ยเท่ากับ 
1.45 เท่า) ทำให้บริษัทยังมีศักยภาพทางการเงินเพียงพอที่จะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน ประกอบกับที่ผ่านมาบริษัทไม่เคยผิด
นัดชำระหนี้ และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทมาโดยตลอด  ทั้งนี้หากมีการกู้เงิน บริษัทจะนำ
เครื่องจักรมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน  ทำให้มีวงเงินกู้ยืมได้ประมาณร้อยละ 60 ของมูลค่าหลักประกัน  ซึ่งจะครอบคลุมความ
ต้องการใช้เงินทุนในส่วนที่เหลือของโครงการ  

             6.6  ความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
                    เครื่องจักรหลักที่ใช้ในการผลิตเป็นเครื่องจักรใหม่ที่นำเข้าจากประเทศเยอรมนี  ในการประมาณการค่าใช้จ่ายใช้
อัตราการคำนวณเงินยูโรที่ 51.7137 บาทต่อ 1 ยูโร ดังนั้น บริษัทอาจจะได้รับความเสี่ยงจากเงินลงทุนที่จะเพิ่มขึ้นหากค่าเงินบาท
อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินยูโร   

                   อย่างไรก็ตามบริษัทมีแผนที่จะทำสัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Contract) สำหรับการชำระ
ค่าเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต หลังจากที่ทำบริษัทลงนามในสัญญาการออกแบบและก่อสร้างงาน (Detailed design and 
Construction) กับ M+W Zander (Thai) Ltd. และบริษัทได้รับ Performance bond จาก M+W Zander (Thai) Ltd.

           6.7   ความเสี่ยงจากโอกาสทางการตลาด
                   เนื่องจากแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ที่บริษัทจะผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ทำให้บริษัทอาจมีความเสี่ยงจากการที่ใน
ประเทศไทยไม่มีตลาดรองรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ซึ่งอาจจะทำให้แผ่นเซลล์ที่บริษัทผลิตได้ไม่สามารถจำหน่ายได้ อันจะส่ง
ผลกระทบต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ 

                   อย่างไรก็ตาม แผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิตได้จะนำมาใช้ในการประกอบแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อขายให้กับตลาด
ภายในประเทศ ซึ่งความต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดด ประกอบกับความต้องการ
เซลล์แสงอาทิตย์ในตลาดโลกก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง (รายละเอียดดูในภาวะและแนวโน้มอุตสาหกรรม ส่วนที่ 2 หน้า 23) ดังนั้น
บริษัทสามารถบริหารความเสี่ยงดังกล่าว โดยการจำหน่ายแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิตได้ให้กับตลาดในประเทศและต่างประเทศ  

         7.  ความเสี่ยงจากความล่าช้าของการส่งมอบงานโซลาร์โฮม
              บริษัทเป็นผู้รับเหมาติดตั้งโครงการเร่งรัดขยายบริการไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ หรือโครงการโซลาร์โฮม เฟส 1 
จำนวน 54,400 ระบบ  คิดเป็นมูลค่า 1,360 ล้านบาท  มีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2548  นอกจากนั้นบริษัทยังเป็น
ผู้จำหน่ายแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้กับบริษัทที่เป็นผู้รับเหมาในกลุ่มงานอื่นเป็นจำนวน 76,834 แผง คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,000 
ล้านบาท  

              โครงการโซลาร์โฮมเป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่กว่าโครงการในอดีตทุกๆโครงการที่บริษัทเคยได้รับมามาก  และต้อง
ใช้เงินทุนหมุนเวียนเป็นจำนวนมาก  หากเกิดความล่าช้าในการส่งมอบ  บริษัทจะมีความเสี่ยงที่จะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
จากการปฏิบัติงาน  และอาจขาดสภาพคล่อง  เนื่องจากเรียกเก็บเงินไม่ได้ตามแผน ทำให้ขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน  นอกจากนั้น
บริษัทต้องเสียค่าปรับรายวันกรณีส่งมอบงานล่าช้าร้อยละ 0.1 ของมูลค่างานที่ยังไม่ได้ส่งมอบ  รวมทั้งเสียค่าเสียหายอื่นๆที่เกิด
จากการส่งมอบงานล่าช้าตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเรียกร้อง  อีกทั้งบริษัทอาจถูกบอกเลิกสัญญาหากติดตั้งล่าช้าเกินกว่า 90 วัน
หรือทำงานได้ต่ำกว่าแผนงานร้อยละ 50 เป็นเวลาติดต่อกัน 3 เดือน  ซึ่งอาจกระทบต่อความไว้วางใจจากลูกค้ารายใหญ่คือหน่วย
ราชการกลาง  ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินงานของบริษัทในอนาคตได้

             บริษัทมีกำลังการผลิต 30 เมกะวัตต์ต่อปี ซึ่งสามารถรองรับการผลิตแผงเซลล์ทั้งหมด (15.75 เมกะวัตต์) ภายในระยะเวลา
การส่งมอบงาน  วัตถุดิบได้รับการสั่งซื้อและกำหนดส่งล่วงหน้าเพื่อป้องกันปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ  การขนส่งอุปกรณ์ทุก
ชนิดจะได้รับการประกันภัยเต็มวงเงินนับตั้งแต่ออกจากโรงงานจนถึงสถานที่  บริษัทมีพนักงานติดตั้งทั้งหมด 24 ทีม และมีการ
ใช้บริการรับเหมาติดตั้งจากหน่วยงานภายนอกบางส่วนโดยมีพนักงานผู้เชี่ยวชาญของบริษัทเองเป็นผู้ควบคุม ส่วนใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้  บริษัทว่าจ้างคนท้องถิ่นรับเหมาติดตั้งระบบ เนื่องจากมีความชำนาญและสามารถเข้ากับคนในพื้นที่ได้ดี  นอก
จากนั้นกรณีเกิดเหตุสุดวิสัย  บริษัทสามารถขอขยายเวลาการทำงานได้  จึงทำให้ความเสี่ยงจากความล่าช้าในการติดตั้งค่อนข้างต่ำ

             ณ 21 กันยายน 2547 บริษัทติดตั้งระบบแล้วเสร็จทั้งสิ้น 12,301 ระบบ  ซึ่งมากกว่าจำนวนระบบที่มีกำหนดส่งมอบภายใน
เดือนกันยายนถึงร้อยละ 51.86 นอกจากนี้บริษัทได้รับการอนุมัติเงินเบิกเกินบัญชีจากธนาคารพาณิชย์และวงเงินจากตั๋วสัญญาใช้
เงินเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในโครงการนี้เป็นวงเงิน 70 ล้านบาท ซึ่ง ณ 30 กันยายน 2547 บริษัทยังมิได้มีการใช้วงเงินเบิกเกิน
บัญชีดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการบริหารสภาพคล่อง  และจากแผนงานที่พร้อมและประสบการณ์ในการ
ดำเนินงานที่ผ่านมาจะทำให้บริษัทสามารถบริหารการส่งมอบโครงการโซลาร์โฮมนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

         8. ความเสี่ยงจากนโยบายพลังงานทดแทนของภาครัฐ 
             นโยบายสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าจาก
พลังงานแสงอาทิตย์ในอนาคต    โดยเมื่อปี 2546 รัฐบาลได้มีการประกาศนโยบายการสนับสนุนพลังงานทดแทนเป็นส่วนหนึ่ง
ของวาระแห่งชาติในการประชุมยุทธศาสตร์พลังงาน ครั้งที่ 1 ซึ่งมีการกำหนดเป้าหมายให้มีการใช้พลังงานทดแทนเป็นร้อยละ 
8 ของพลังงานในเชิงพาณิชย์ภายในปี 2554  อย่างไรก็ตามนโยบายดังกล่าวยังมีความไม่ชัดเจนในทางปฏิบัติ เช่น ยังไม่มีการ
กำหนดอัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่จูงใจในการลงทุน  และยังไม่มีแผนสนับสนุนที่
ชัดเจนในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนให้ได้ตามเป้าหมายภายในปี 2554  ซึ่งอาจชะลอการลงทุนของภาคเอกชนในการ
ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน

             อย่างไรก็ตามจากภาวะราคาน้ำมันในปัจจุบันทำให้รัฐบาลไทยตระหนักดีถึงความสำคัญของการพัฒนาพลังงานทดแทนว่า
มีความจำเป็นและเร่งด่วน  ในเดือนกรกฎาคม 2547 ที่ผ่านมา  ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้กำหนดระเบียบ
บังคับ Renewable Portfolio Standard (RPS) ซึ่งหมายถึงการกำหนดให้โรงไฟฟ้าที่จะก่อสร้างใหม่ต้องผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน
แสงอาทิตย์ ลม หรือ ชีวมวล ในสัดส่วนร้อยละ 5 เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์พลังงานโดยให้บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลัง
การผลิตไฟฟ้าปี 2547-2558 (Power Development Plan (PDP) 2004) ซึ่งทำให้เกิดความชัดเจนในทิศทางของอุตสาหกรรมการ
ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในอนาคต 

         9.  ความเสี่ยงจากการเลือกใช้ชนิดของพลังงานทดแทน
              ในปัจจุบันรัฐบาลขาดความชัดเจนในเรื่องชนิดของพลังงานทดแทนที่จะถูกเลือกมาใช้  ดังนั้นการเติบโตของรายได้
ของบริษัทในอนาคตอาจได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญหากพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่

              ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการเลือกใช้ชนิดของพลังงานทดแทนขึ้นอยู่กับศักยภาพของพลังงานและต้นทุนในการจัดหา 
พลังงานแสงอาทิตย์จัดเป็นพลังงานที่มีศักยภาพสูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานจากลม จากน้ำ และจากชีวมวล เนื่องจาก
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในบริเวณเส้นศูนย์สูตร มีความสามารถในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในการผลิตไฟฟ้า
มากกว่าประเทศในสหภาพยุโรปถึงร้อยละ 100  ไม่มีต้นทุนของวัตถุดิบ ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  สามารถขยายขนาด
กำลังการผลิตให้มีขนาดใหญ่ได้โดยไม่มีข้อจำกัด ถ้ามีพื้นที่รองรับเพียงพอ นอกจากนั้นต้นทุนการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ใน
ปัจจุบันสูงกว่าอัตราค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงเพียงร้อยละ 40  และมีแนวโน้มว่าจะลดต่ำลงเรื่อยๆจากปริมาณการใช้
งานที่เพิ่มมากขึ้น จนมีราคาต่ำกว่าต้นทุนค่าไฟฟ้าภายในอีก 15 ปีข้างหน้า ซึ่งทำให้ต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์สามารถแข่งขัน
ในเชิงพาณิชย์ได้เป็นอย่างดี

         10. ความเสี่ยงจากการเข้ามาในอุตสาหกรรมของคู่แข่งขันรายใหม่
              ในปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายให้การสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์อย่างจริงจัง โอกาสทางการตลาดที่
เกิดขึ้นสามารถดึงดูดผู้ที่สนใจทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน
แสงอาทิตย์ได้เป็นอย่างดี  ซึ่งบริษัทที่เข้ามาใหม่อาจชิงส่วนแบ่งทางการตลาด  และอาจจะกระทบต่ออัตราการเติบโตของรายได้
ของบริษัทในอนาคต

             การเข้ามาในอุตสาหกรรมของคู่แข่งขันรายใหม่ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
             (1)  คู่แข่งที่ดำเนินธุรกิจผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์  มีโอกาสเข้ามาในธุรกิจสูง  เนื่องจากมีการลงทุนไม่สูงมากและ
ตลาดกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว  ผู้ที่จะเข้ามาในธุรกิจจะมี 2 ส่วนคือบริษัทในประเทศไทย  และบริษัทที่มีฐานการผลิตใน
ต่างประเทศและต้องการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยซึ่งบริษัทเหล่านี้จะมีความพร้อมทางด้านเทคโนโยลีและการจัดหาวัตถุดิบ  
อย่างไรก็ตามบริษัทมีความได้เปรียบสูงในการแข่งขัน  เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญในการติดตั้งระบบในท้องถิ่นธุรกันดาร มี
ทีมงานที่ชำนาญพื้นที่ติดตั้งทั่วประเทศถึง 24 ทีม  เป็นหนึ่งใน 4 รายของประเทศไทยที่มีโรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์
ของประเทศไทย  มีความสัมพันธ์อันดีกับซัพพลายเออร์และลูกค้า  และได้รับความไว้วางใจจากภาครัฐ แสดงให้เห็นว่าบริษัทมี
ศักยภาพในการแข่งขันโดดเด่นเหนือกว่าคู่แข่งขันรายอื่นๆ  นอกจากนั้นในปัจจุบันบีโอไอยกเลิกนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรม
การผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์  ทำให้คู่แข่งที่จะสร้างโรงงานผลิต  โดยใช้วัตถุดิบเป็นเซลล์แสงอาทิตย์จากต่างประเทศ  เกิดความ
เสียเปรียบในด้านต้นทุนและภาษี  

            (2)  คู่แข่งที่จะสร้างโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ในอนาคต  มีโอกาสเข้ามาในธุรกิจได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามการ
ลงทุนมีต้นทุนที่สูง  เทคโนโลยีมีความซับซ้อน ผู้ที่จะเข้ามาในอุตสาหกรรมต้องมีการเตรียมตัวเป็นระยะเวลานาน  ในขณะที่
บริษัทมีความพร้อมทั้งด้านการเตรียมเทคโนโลยี และเงินทุนในการดำเนินงาน  การเข้าสู่ธุรกิจเป็นรายแรกจะทำให้บริษัทมี
ความได้เปรียบในด้านการตลาดเหนือกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ

         11. ความเสี่ยงด้านการบริหารงานที่พึ่งพิงผู้บริหาร
               เนื่องจากนางสาววันดี กุญชรยาคง ซึ่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท เป็นผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจการให้
บริการออกแบบและติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นเวลานาน  และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท ซึ่งมีหน้าที่โดยตรง
ในการกำหนดนโยบาย  ทิศทาง และการตลาดของบริษัท ดังนั้น หากบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารดังกล่าว  อาจจะทำให้
บริษัทประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจในอนาคต 

               ปัจจุบันบริษัทได้มีการจัดโครงสร้างองค์กรใหม่  โดยมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์ในการ
บริหารและในอุตสาหกรรม  และได้มีการกระจายอำนาจในการจัดการงานด้านต่างๆให้กับผู้บริหารในระดับรอง ให้มีส่วนร่วม
ในการตัดสินใจและกำหนดทิศทางของบริษัท  และมีการแบ่งความรับผิดชอบเป็นฝ่ายต่างๆอย่างชัดเจน  เช่นฝ่ายการตลาดและ
การขาย  ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดซื้อ เป็นต้น นอกจากนั้นบริษัทกำลังดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรโดยการให้บริษัทที่ปรึกษาเข้า
มาช่วยพัฒนาบุคลากร และระบบสารสนเทศสำหรับการบริหารจัดการ

         12. ความเสี่ยงของนักลงทุนที่อาจได้รับผลกระทบจากราคาหุ้นที่ลดลง
                ก่อนการเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนในครั้งนี้  ผู้ถือหุ้นเดิมคือนางสาวสมปอง กุญชรยาคงได้ขายหุ้นสามัญจำนวน 
27.8 ล้านหุ้น  คิดเป็นร้อยละ 9.27 ของทุนชำระแล้วภายหลังการเสนอขายหุ้นให้ประชาชนในครั้งนี้ ให้กับนักลงทุนจำนวน 30 
คนในวันที่ 1 กันยายน 2547 ราคาหุ้นละ 1 บาท   และบริษัทได้เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 40 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ13.33 
ของทุนชำระแล้ว  ภายหลังการเสนอขายหุ้นให้ประชาชนในครั้งนี้  ให้แก่นางสาวสมปอง กุญชรยาคงในวันที่ 27 กันยายน 2547 
ราคาหุ้นละ 1 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาเสนอขายหุ้นในครั้งนี้  ดังนั้นเมื่อหุ้นสามัญเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทย  ผู้ลงทุนอาจได้รับผลกระทบจากราคาหุ้นที่ลดลง (Price Dilution) จากการที่ผู้ถือหุ้นเดิมนำหุ้นดังกล่าวออกขาย  

              ทั้งนี้ ตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเรื่องการห้ามผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้องขายหุ้นและ
หลักทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กำหนด ลงวันที่ 24 มีนาคม 2546 กำหนดให้ผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้อง ก่อนวันยื่น
คำขอเสนอขายหุ้นต่อประชาชน (วันที่ 5 ตุลาคม 2547) ขายหุ้น เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 6-18 เดือน (ครบ 6 เดือนแรกขายได้ร้อยละ
25 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่ถูกสั่งห้ามขาย  และครบ 12 เดือนขายได้อีกร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่ถูกสั่งห้ามขาย 
ส่วนที่เหลือร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่ถูกสั่งห้ามขาย  จะขายได้เมื่อครบ 18 เดือน)  อย่างไรก็ตามผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นไม่
เกินกว่าร้อยละ 0.5 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วก่อนวันยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นต่อประชาชนและไม่มีส่วนในการบริหาร
สามารถขอผ่อนผันการขายหุ้นได้  โดยการพิจารณาผ่อนผันดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  

            บริษัทได้มีข้อตกลงกับผู้ถือหุ้นเดิมทุกรายว่าจะต้องส่งมอบใบหุ้นให้แก่บริษัทเพื่อรวบรวมนำฝากไว้กับตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทยโดยสมัครใจ  ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาเดียวกับการห้ามผู้ถือหุ้นเดิมขายหุ้น

กรณีพิพาท                      - ไม่มี -

จำนวนพนักงาน              ณ วันที่ 20 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2547   จำนวน 189 คน  

ประวัติความเป็นมาโดยสรุป      
12 พฤศจิกายน 2529           บริษัทเปิดดำเนินการ ภายใต้การก่อตั้งและบริหารงานของนางสาววันดี กุญชรยาคง ด้วยทุนจดทะเบียน 
                                           2 ล้านบาท  จำนวนหุ้น 20,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท 
ปี 2534                               เข้าลงทุนในบริษัท แนปส์ โซลาร์ตรอน แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนเป็น 
                                           บริษัท เอ็น.เอส.เอ็ม.ที จำกัด) ซึ่งดำเนินธุรกิจผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ โดยเข้าถือหุ้นจำนว
น 22,493 
                                           หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.43 จากหุ้นทั้งหมด (ปัจจุบันบริษัท เอ็น.เอส.เอ็ม.ที จำกัด หย
ุดการดำเนิน
                                           ธุรกิจแล้ว)
1 มกราคม 2535                 เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 2 ล้านบาท เป็น 5 ล้านเพื่อการขยายกิจการ
3 กันยายน 2539                  เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 5 ล้านบาท เป็น 20 ล้านบาท เพื่อการขยายกิจการ
31 ธันวาคม 2543               บริษัทขายเงินลงทุนในบริษัท แนปส์ โซลาร์ตรอน แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด  เนื่องจาก
                                           ประสบปัญหาขาดทุนอย่างต่อเนื่อง  โดยบริษัทมีผลขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุนจำนวน 2.25 
                                           ล้านบาท
29 พฤศจิกายน 2545           เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 20 ล้านบาท เป็น 30 ล้านบาท สำหรับการลงทุนซื้อสินทรัพย์  และนำมาเป็น
                                           เงินทุนหมุนเวียน
24 ตุลาคม 2546                 เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 30 ล้านบาท เป็น 200 ล้านบาท  เพื่อใช้ในการลงทุนก่อสร้างศูนย์เทคโนโลยี
                                           โซลาร์ตรอน
10 กันยายน 2547                เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 200 ล้านบาท เป็น 300 ล้านบาท  มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เพื่อนำบริษัท
                                           เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม/บริษัทที่เกี่ยวข้อง            - ไม่มี -

การเพิ่ม (ลด) ทุนในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา                    
                                                                                                                                   
                               หน่วย: ล้านบาท 
        วัน/เดือน/ปี       ทุนที่ (ลด) เพิ่ม    หลังเพิ่ม (ลด) ทุน                       หมายเหตุ/วัตถุประสงค์การใช้เงิน
29 พ.ย.2545                       10                        30                   ขายหุ้นให้ผู้ถือหุ้นเดิม เพื่อลงทุนซื้อสินทรัพย์  
และนำมาเป็น
                                                                                              เงินทุนหมุนเวียน
24 ต.ค.2546                      170                     200                   ลงทุนก่อสร้างศูนย์เทคโนโลยีโซลาร์ตรอน ที่ อำเภอปากช่
อง  
                                                                                             จังหวัดนครราชสีมา  
10 ก.ย.2547                      100                     300                   เพื่อเสนอขายให้ประชาชนจำนวน 60 ล้านหุ้น โดยนำเงินไปใ
ช้เพื่อ
                                                                                             การลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิ
ตย์

รอบระยะเวลาบัญชี           1 มกราคม – 31 ธันวาคม      

ผู้สอบบัญชี                       ชื่อ นางสาวทิพย์สุดา ชำนาญวนิชกุล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทะเบียนเลขที่ 3377  บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไ
ชย 
                                         สอบบัญชี จำกัด

นายทะเบียนหุ้น                 บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด

ที่ปรึกษาทางการเงิน         บริษัท โกลเบล็ก แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด

นโยบายการจ่ายเงินปันผล     
         บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราประมาณร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิ หลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคล  และ
สำรองตามกฎหมาย  อย่างไรก็ตาม  บริษัทอาจกำหนดให้การจ่ายเงินปันผลมีอัตราน้อยกว่าอัตราที่กำหนดข้างต้นได้  โดยขึ้นอยู่
กับผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน  สภาพคล่องของบริษัท  และความจำเป็นในการขยายการดำเนินงานของบริษัทและใช้เป็น
เงินทุนหมุนเวียนในการบริหารกิจการ

บัตรส่งเสริมการลงทุน           
         ในวันที่ 10 กันยายน 2546 บริษัทได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ประเภทกิจการ
ผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์  ในการผลิตผลิตภัณฑ์แผงโซลาร์เซลล์ 

จำนวนผู้ถือหุ้น                      ณ วันที่ 24 มีนาคม 2548 ปรากฏดังนี้ 
                                                                                                                           จำนวนราย
         จำนวนหุ้น         ร้อยละ
                                                                                                                                   
                                   ของทุนชำระแล้ว 
1.   ผู้ถือหุ้นสามัญที่เป็น Strategic shareholders
     1.1  รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ                                                        0                      0     
              0%       
     1.2  กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง                                        9          196,700,000      
 65.57%
            และบุคคลที่มีความสัมพันธ์
     1.3     ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5 % โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย                                      1           15,000,000  
        5.00%    
     1.4     ผู้มีอำนาจควบคุม                                                                                           0          
           0                     0%
     1.5 ผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงในการห้ามขายหุ้นภายในเวลาที่กำหนด                              0                     0              
       0%
2.   ผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยที่ถือไม่ต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย                                     2,108       88,300,000         29
.43%
3.   ผู้ถือหุ้นสามัญที่ถือต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย                                                          0                    0
                     0%
      รวมผู้ถือหุ้นสามัญทั้งสิ้น                                                                                      2,118     300
,000,000          100%

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่                            ณ วันที่ 24 มีนาคม 2548
                                 ชื่อ                                                                      จำนวนหุ้น     ร้อยละของท
ุนชำระแล้ว
1. นายไพวงษ์  เตชะณรงค์                                                                  73,000,000                  24.33
2. นางสาวสมปอง กุญชรยาคง                                                           43,400,000                 14.47
3. นางสาววันดี กุญชรยาคง                                                                25,800,000                   8.60
4. นางประคอง กุญชรยาคง                                                                 20,000,000                  6.67
5. บริษัท โบนันซ่า รีสอร์ท โฮเต็ล จำกัด                                               5,000,000                  1.67    
6. นายสมศักดิ์ กุญชรยาคง                                                                    5,000,000                  1.67
7.  พลโทชาตรี ทัตติ                                                                              4,000,000                  1.33
8.  นายกิตติศักดิ์ วัฒนาทร                                                                     4,000,000                  1.33
9.   พล.ร.ต.ประทีป ชื่นอารมย์                                                              4,000,000                   1.33
10.นายวิชัย ศิริประเสริฐโชค                                                                 3,000,000                  1.00        
                   
                        รวม                                                                           187,200,000               62.
40   

ผู้ถือหุ้นต่างด้าว                     ณ วันที่ 24 มีนาคม 2548   
                                             บริษัทมีผู้ถือหุ้นต่างด้าว 27 ราย 
                                              ถือหุ้นรวมกัน 15,479,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ  5.16 ของทุนจดชำระแล้ว
                                             หมายเหตุ  หุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทที่เสนอขายในครั้งนี้ สามารถโอนได้โดยไม่มีข้อจำกัด 
เว้น
                                                               แต่การโอนหุ้นนั้นเป็นเหตุให้มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ในบริษัทเกินกว่าร
้อยละ 49 ของ
                                                              จำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท
 
คณะกรรมการ                     ณ 10 กันยายน 2547 คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยกรรมการจำนวน 8 คน ดังนี้
                              รายชื่อ                                                ตำแหน่ง                           วันที่ดำรงตำ
แหน่ง
นายไพวงษ์ เตชะณรงค์                      ประธานกรรมการ                                               10 ก.ย.2547
นางสาววันดี  กุญชรยาคง                   กรรมการ                                                            10 ก.ย.2547
นายอัครเดช  โรจน์เมธา                     กรรมการ                                                             10 ก.ย.2547
นางพรรณี  เตชะณรงค์                      กรรมการ                                                              10 ก.ย.2547
นายสมศักดิ์  กุญชรยาคง                    กรรมการ                                                              10 ก.ย.2547
นายสุธรรม มลิลา                              ประธานกรรมการตรวจสอบ                                10 ก.ย.2547
นายสุชาติ  ไตรศิริเวทวัฒน์                 กรรมการตรวจสอบ                                             10 ก.ย.2547
พล.ท. ชาตรี  ทัตติ                              กรรมการตรวจสอบ                                              10 ก.ย.2547

คณะกรรมการตรวจสอบ      
         ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 4/2547 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2547 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ดังนี้
                         รายชื่อ                                     ตำแหน่ง                                วันที่ดำรงตำแหน่ง
นายสุธรรม มลิลา                             ประธานกรรมการตรวจสอบ                    10 ก.ย.2547
นายสุชาติ  ไตรศิริเวทวัฒน์                กรรมการตรวจสอบ                                 10 ก.ย.2547
พล.ท. ชาตรี  ทัตติ                             กรรมการตรวจสอบ                                 10 ก.ย.2547
         โดยมีนายเกียรติศักดิ์ อุทธารัมย์ ทำหน้าที่เลขานุการกรรมการตรวจสอบ
 
ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบ
         1.  สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยอย่างเพียงพอ โดยการประสานงานกับ
ผู้สอบบัญชีภายนอกและผู้บริหารที่รับผิดชอบจัดทำรายงานทางการเงินทั้งรายไตรมาสและประจำปี คณะกรรมการ
ตรวจสอบอาจเสนอแนะให้ผู้สอบบัญชีสอบทานหรือตรวจสอบรายการใด ๆ ที่เห็นว่าจำเป็นและเป็นเรื่องสำคัญใน
ระหว่างการตรวจสอบบัญชีของบริษัทก็ได้
         2.   สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในที่มีความเหมาะสมและมีประสิทธิผล 
         3.   สอบทานการปฏิบัติของบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของ
ตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
         4.  พิจารณาคัดเลือกและเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของบริษัท รวมถึงพิจารณาเสนอค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี โดย
คำนึงถึงความน่าเชื่อถือ ความเพียงพอของทรัพยากร และปริมาณงานตรวจสอบของสำนักงานตรวจสอบบัญชีนั้น รวมถึง
ประสบการณ์ของบุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้ทำการตรวจสอบบัญชีของบริษัท
         5.  พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทในกรณีที่เกิดรายการเกี่ยวโยงหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ 
ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน
         6.  ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย และคณะกรรมการตรวจสอบเห็นชอบด้วย 
         7.  จัดทำรายงานกิจกรรมของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าว
ลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ 
         8.  รายงานการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
         9.   มีอำนาจในการดำเนินการตรวจสอบและสอบสวนตามที่จำเป็นในเรื่องต่าง ๆ รวมถึงการแสวงหาความเห็นที่เป็น
อิสระจากที่ปรึกษาทางวิชาชีพอื่นใด เมื่อเห็นว่าจำเป็นด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัท เพื่อให้การปฏิบัติงานภายใต้หน้าที่ความ
รับผิดชอบสำเร็จลุล่วงด้วยดี

วาระการดำรงตำแหน่ง
         ประธานกรรมการตรวจสอบและกรรมการตรวจสอบ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี
        
เงื่อนไขในการรับหลักทรัพย์ (ถ้ามี)      - ไม่มี -

ระยะเวลาห้ามจำหน่ายหุ้น     
         ผู้ถือหุ้นเดิมก่อนเสนอขายหุ้นต่อประชาชนถือหุ้นอยู่ทั้งหมด 220,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 91.67 ของทุนชำระแล้ว
ก่อนเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป ให้คำรับรองต่อตลาดหลักทรัพย์ว่าจะไม่นำหุ้นจำนวนดังกล่าวออกจำหน่ายเป็นระยะเวลา
1 ปี  6 เดือน นับแต่วันที่หลักทรัพย์ของบริษัทเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยเมื่อครบกำหนดระยะเวลาทุกๆ 6 เดือน
ผู้ถือหุ้นดังกล่าวได้รับการผ่อนผันให้ทยอยขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่ถูกสั่งห้ามขายได้ในจำนวนร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นหรือ
หลักทรัพย์ทั้งหมดที่ถูกสั่งห้ามขาย และเมื่อครบกำหนด 1 ปี 6 เดือนสามารถขายส่วนที่เหลือได้ทั้งหมด

การผ่อนผันของตลาดหลักทรัพย์           - ไม่มี - 

อื่น ๆ ที่สำคัญ                                      - ไม่มี -

สถิติ 
                                                                   บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) 
                                    |----------- พันบาท---------------|------------------------ บาท/หุ้น* ----------------------|
               ปี                        รายได้        กำไร (ขาดทุน)      กำไร (ขาดทุน)      เงินปันผล         มูลค่าหุ้น          
  เงินปันผล
                                     จากการขาย             สุทธิ                       สุทธิ                                     ตา
มบัญชี**       ต่อกำไร (%)
2544 (ตรวจสอบแล้ว)      78,796.76              681.69                   0.03                    -                    1.11          
            -
2545 (ตรวจสอบแล้ว)     187,148.00          7,967.37                   0.39                    -                    1.51            
          -
2546 (ตรวจสอบแล้ว)     127,626.75           4,864.20                   0.20                    -                    1.83           
           -
2547 (ตรวจสอบแล้ว)   10,548,645.88   135,524,177                  0.82                  0.07                 2.28                 9
.08
*    มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท                                                  
**  หุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่ใช้คำนวณสำหรับปี  2544  2545  2546  และ 2547 เท่ากับ 200,000 หุ้น 200,000 หุ้น 
      246,520 หุ้น และ 165,594,563 หุ้น ตามลำดับ

                                                                                           งบดุล
                                                                บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) 
                                                                                                                                   
                       (หน่วย: พันบาท)  
                     รายการ                                                            2544              2545                 2546 
                  2547
                                                                                                                         ตรวจสอบแล้
ว     
สินทรัพย์
เงินสดและเงินฝากธนาคาร                                                26.34            1,814.12          3,050.03               230
.22
เงินฝากสถาบันการเงินที่นำไปใช้เป็นหลักประกัน               0.00                   0.00                 0.00          14,399.74
ลูกหนี้การค้า-สุทธิ                                                      10,073.26            9,459.92        43,926.60         670
,927.23
สินค้าคงเหลือ                                                             17,168.57          17,168.57        34,869.32         177
,856.13
ส่วนของเงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กรรมการ                   11,424.70           2,311.78                 0.00                    0.00
   ที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี    
เงินจ่ายล่วงหน้าแก่กรรมการ                                                 0.00             457.88           3,518.45              
     0.00
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น                                                 11,573.70          5,845.85           7,127.39          34,4
09.25
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน                                               50,266.57         46,786.11        92,491.79         897,819.57

เงินฝากประจำที่มีข้อจำกัดในการใช้                             20,000.00        20,000.00        10,000.00           56,000.00
เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กรรมการ-สุทธิ                          1,323.24                  0.00                 0.00                  
  0.00
  จากส่วนที่ถึงกำหนดชำระในหนึ่งปี
ที่ดินอาคาร และอุปกรณ์-สุทธิ                                       2,235.28           7,017.02        66,577.00         111,919.55
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น                                                   78.67                34.86               12.68         
    1,369.90
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน                                           23,637.19         27,051.88       76,589.68         169,289.45
รวมสินทรัพย์                                                                73,903.75        73,837.99     169,081.47       1,067,1
09.01

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น      
เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืม
ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน                                         22,214.88          5,244.49        40,595.79        284,009.48
เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกรรมการ                                       2,500.00                  0.00       18,000.00                  
 0.00
เจ้าหนี้การค้า-สุทธิ                                                         9,300.65         24,042.97       28,721.15        186,
808.62
รายได้รับล่วงหน้า                                                             107.50              860.32                0.00       
  109,079.01
เจ้าหนี้ผู้รับเหมาช่วงงาน                                                   299.33           7,088.96         1,859.38             
      0.00
ส่วนของหนี้สินตามสัญญาเช่าซื้อ
ที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี                                          441.45             881.18         1,132.06            5,214.72

ส่วนของเงินกู้ยืมระยะยาว
ที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี                                     11,424.70          2,311.78         8,308.52          17,361.00
ภาษีเงินได้ค้างจ่าย                                                                 0.00             733.16         1,914.86       
     9,478.81
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากกรรมการค้างจ่าย                            3,093.85                 0.00              51.45                   
0.00
ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายและหนี้สินหมุนเวียนอื่น                         924.10              557.92        6,464.95           55,186.87
รวมหนี้สินหมุนเวียน                                                   50,306.44        41,720.77     107,048.15          667,138.51

หนี้สินตามสัญญาเช่าซื้อ-สุทธิจากส่วน 
ที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี                                             0.00          1,875.78         1,695.40               7,176
.99
เงินกู้ยืมระยะยาว-สุทธิจากส่วน 
ที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี                                      1,323.24                0.00        15,232.28             14,467.5
0
รวมหนี้สิน                                                                   51,629.68       43,596.55      123,975.83          688
,783.01
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ทุนจดทะเบียน-สุทธิ                                                     20,000.00       20,000.00       30,000.00          240,000.0
0      
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น                                                           1,650.00         1,650.00         1,650.00            
  1,650.00
กำไรสะสม
     จัดสรรเพื่อสำรองตามกฎหมาย                                    504.26            504.26            504.26            24,000.00
     ยังไม่ได้จัดสรร                                                            119.81          8,087.18       12,951.38          1
12,676.01
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น                                                   22,274.07        30,241.44       45,105.64          378,326.
01
รวมหนี้สินรวมและส่วนของผู้ถือหุ้น                           73,903.75        73,837.99     169,081.47       1,067,109.01

                                                                                     งบกำไรขาดทุน
                                                                                                                                   
                  (หน่วย: พันบาท)  
                       รายการ                                                       2544              2545               2546      
            2547
                                                                                                                        ตรวจสอบแล้ว
      
รายได้
รายได้จากการขายและบริการ                                       78,796.76       187,148.00      127,626.75       1,054,864.59
รายได้อื่น                                                                       4,541.33            8,135.64         3,093.99     
         8,894.10
รวมรายได้                                                                   83,338.09        195,283.64      130,720.74      1,063,
758.69

ค่าใช้จ่าย
ต้นทุนขายและบริการ                                                 65,937.27         163,463.60      100,764.31        874,060.57
ค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร                                       12,997.20           19,325.31        21,419.65          36,554.03
รวมค่าใช้จ่าย                                                              78,934.47         182,788.91      122,183.96       910,6
14.59
กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้                           4,403.62            12,494.73         8,536.78       153,144.09
ดอกเบี้ยจ่าย                                                                  3,721.93              2,337.61           973.27      
      4,425.98
ภาษีเงินได้                                                                           0.00             2,189.75        2,699.31    
       13,193.94
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ                                                        681.69            7,967.37         4,864.20         135,
524.18
กำไรสุทธิต่อหุ้น (บาท)                                                        3.41                39.84               19.73        
           0.82

                                                                      งบกระแสเงินสด
                                                                                                                                   
                     (หน่วย: พันบาท)  
                                    รายการ                                        2544                    2545                2546 
                2547
                                                                                                                         ตรวจสอบแล้
ว        
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน                             (4,875.51)       25,123.91       (34,082.91)      (326,136.11)
เงินสดสุทธิได้มาจาก(ใช้ไปใน)กิจกรรมลงทุน         (10,401.52)         7,850.04       (48,228.14)      (104,191.93)
เงินสดสุทธิได้มาจาก(ใช้ไปใน)กิจกรรมจัดหาเงิน      15,278.33       (31,186.17)       83,546.96         427,508.23 
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น 
(ลดลง) สุทธิ                                                                 1,300.00          1,787.78          1,235.90          
(2,819.81) 

จัดทำโดย                                                 บริษัท โกลเบล็ก แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด

solar-t.txt