ทำไมต้องซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต
• สะดวกสบาย
คุณสามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง จากบ้าน จากที่ทำงาน จากอินเทอร์เน็ต คาเฟ่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือที่อื่นๆที่คุณสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ ตัดปัญหาการเดินทางฝ่ารถติดไปห้องค้า หรือต่อสายโทรศัพท์หาเจ้าหน้าที่การตลาด

• พร้อมพรั่งด้วยข้อมูลข่าวสาร
คุณสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่มากมายและทันสมัยตลอดเวลา ทั้งข้อมูลราคาหลักทรัพย์เรียลไทม์ รายละเอียดบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บทวิเคราะห์จากฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ ข้อมูลทางสถิติ ข้อมูลปัจจุบันและย้อนหลังเพื่อช่วยในการตัดสินใจของคุณ

• คุ้มค่าด้วยค่าใช้จ่ายต่ำกว่า
ซื้อขายด้วยตัวเอง จูงใจด้วยค่าคอมมิชชั่นระดับต่ำ เพียงแค่ 0.2 % เท่านั้น

• เริ่มต้นซื้อขายด้วยเงินทุนเพียงเล็กน้อย
มีเงินมากก็ฝากเงินมาก มีเงินน้อยก็ฝากน้อย ด้วยการเลือกเปิดบัญชีแบบ Pre-paid ฝากเท่าไหร่ ซื้อขายได้เท่านั้น
 
การซื้อขายแบบอินเตอร์เน็ต เหมาะกับใครบ้าง
ประเภทแรก นักลงทุนที่ต้องการความคล่องตัวในการตัดสินใจลงทุน เพราะสามารถส่งคำสั่งซื้อขายด้วยตนเอง พร้อมตรวจสอบสถานะคำสั่ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยข่าว บทวิเคราะห์และเครื่องมือประกอบการตัดสินใจต่างๆ ทั้งนี้ควรเป็นคนที่เคยใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมาบ้าง หรือคนที่คิดว่าสามารถเรีบนรู้การใช้คอมพิวเตอร์ได้

ประเภทที่สอง คือ นักลงทุนหน้าใหม่ มีเงินทุนไม่มากนัก แต่ต้องการเริ่มต้นเรียนรู้การลงทุนในหุ้น คุณสามารถเลือกเปิดบัญชีแบบ Pre-paid คือฝากเงินเพื่อซื้อขายตามกำลังความสามารถในการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับตัวเอง

ประเภทที่สุดท้าย คือ นักลงทุนที่ต้องการติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นอย่างใกล้ชิด เพื่อสามารถตัดสินใจลงทุนซื้อขายหุ้นได้ทันท่วงที

 
บัญชีประเภทไหนบ้างที่สามารถซื้อขายอินเตอร์เน็ต ได้

การซื้อขายแบบออนไลน์ไม่ได้หมายความว่าคุณจะส่งคำสั่งซื้อขายโดยตรงกับตลาดหลักทรัพย์ได้ ก่อนอื่นคุณจะต้องเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์หรือซับโบรกเกอร์ให้ทำหน้าที่เป็นนายหน้าหรือตัวแทนของคุณในการส่งคำสั่งซื้อขายเข้ามายังระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์เสียก่อน โบรกเกอร์จะกำหนดนโยบายบริษัทว่าจะให้บริการบัญชีซื้อขายทางอินเทอร์เน็ตประเภทใดบ้าง แต่โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภท



1.
บัญชีเงินสด (Cash Account)  พูดง่ายๆ ก็คือบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ทั่วไปที่คุณรู้จักนั่นเอง โบรกเกอร์จะให้วงเงินซื้อขายแก่คุณ โดยคุณจะซื้อขายหุ้นได้ไม่เกินวงเงินนั้น และต้องชำระเงินค่าซื้อขายและส่งมอบหลักทรัพย์ภายในวันทำการที่ 3 ถัดจากวันที่ซื้อขาย (T+3) ถ้าคุณซื้อคุณต้องทำการชำระราคาค่าซื้อเต็มมูลค่าหุ้นที่ซื้อในเวลาที่กำหนด ไม่สามารถชำระแค่บางส่วนได้

2. บัญชีแคชบาลานซ์ (Cash Balance หรือ Pre-paid หรือ Cash Deposit) เป็นบัญชีที่คุณต้องฝากเงินไว้กับโบรกเกอร์จำนวนหนึ่งก่อน สำหรับเป็นเงินชำระค่าหุ้นที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และถือว่าเงินจำนวนนั้นเป็นอำนาจซื้อของคุณเอง เมื่อถึงวันชำระค่าหุ้น (T+3) โบรกเกอร์ก็จะหักเงินออกไปจากส่วนที่ฝากนี้ชำระเป็นค่าหุ้นไปอัตโนมัติ ถ้าคุณต้องการซื้อหุ้น แต่วงเงินไม่พอ ก็สามารถโอนเงินเพิ่ม เพื่อให้อำนาจซื้อเพิ่มขึ้นได้ บางโบรกเกอร์ก็จะให้ดอกเบี้ยเงินฝากด้วย
ซื้อขายแบบดั้งเดิม
• ลูกค้าส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์และตรวจสอบสถานะซื้อขายได้ด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ของโบรกเกอร์

• ต้องระบุราคาเสนอซื้อขายที่แน่นอน (Limit order) เท่านั้น ไม่สามารถระบุเงื่อนไขการเสนอซื้อขายได้

• ซื้อขายได้เฉพาะบนกระดานหลัก กระดานหน่วยย่อย และกระดานต่างประเทศ ด้วยวิธีจับคู่คำสั่งซื้อขายเข้าด้วยกันโดยอัตโนมัติ (Automated Order Matching: AOM)

• ค่าธรรมเนียมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.20 ของมูลค่าการซื้อขาย
 
 
ต้องใช้เงินเท่าไหร่ในการเปิดบัญชีอินเตอร์เน็ต
เพื่อเป็นการขยายโอกาสให้นักลงทุนที่มีทุนน้อยสามารถเริ่มลงทุนซื้อขายหุ้นทางอินเทอร์เน็ตได้ตามกำลังซื้อของตน โบรกเกอร์มักแนะนำให้ลูกค้าเปิดบัญชีฝากเงินแบบที่เรียกว่า Pre-paid คือบัญชีที่คุณจะต้องโอนเงินเข้ามาในบัญชีซื้อขายก่อน แล้วจึงสามารถซื้อขายได้ภายในวงเงินที่โอนเข้ามานั้น หากต้องการซื้อหุ้นเพิ่ม ก็เพียงแค่โอนเงินเข้ามาเพิ่ม อำนาจการซื้อของคุณก็จะเพิ่มขึ้น สะดวกสำหรับนักลงทุนเพราะไม่ต้องฝากเงินไว้กับโบรกเกอร์นานๆ โดยที่ยังไม่ได้ทำการซื้อขาย
 
ขั้นตอนในการเปิดบัญชีอินเตอร์เน็ต
ไม่ว่าคุณจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล คุณก็สามารถเปิดบัญชีได้ง่าย ๆ ตามขั้นตอนที่โบรกเกอร์กำหนด ซึ่งคุณสามารถปรึกษาเจ้าหน้าที่การตลาดของโบรกเกอร์ก่อนที่จะเปิดบัญชีได้ ก่อนที่คุณจะลงนามเอกสารใด ๆ คุณควรจะอ่านรายละเอียดเงื่อนไขในเอกสารต่างๆ ของโบรกเกอร์ให้รอบคอบ (เอกสารที่ใช้สำหรับแต่ละโบรกเกอร์ อาจแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย) โดยทั่วไปแล้ว ก็จะมีขั้นตอนที่คุณจะต้องกระทำ ดังนี้

1) ติดต่อขอเอกสารการเปิดบัญชี สัญญาและเอกสารแนบต่าง ๆ ที่ใช้ในการเปิดบัญชี โดยคุณสามารถดาวน์โหลดทางอินเทอร์เน็ตหรือติดต่อได้ที่สำนักงานของโบรกเกอร์ที่คุณเลือกก็ได้

2) กรอกรายละเอียดใบคำขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ให้ครบถ้วนพร้อมเซ็นชื่อ และแนบเอกสารประกอบการเปิดบัญชี ส่งให้กับโบรกเกอร์

3) รอผลการพิจารณาจากโบรกเกอร์ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์

4) เมื่อได้รับการอนุมัติให้เปิดบัญชีแล้ว คุณจะได้รับแจ้งเลขที่บัญชี หรือรหัสประจำตัวลูกค้าซึ่งจะใช้ในการส่งคำสั่งซื้อขาย เปลี่ยนแปลง ยกเลิก รวมทั้งการชำระเงิน หรือในการติดต่อใด ๆ กับโบรกเกอร์ รหัสนี้คุณต้องเก็บเป็นความลับ เพราะมิฉะนั้นแล้วอาจมีผู้แอบอ้างทำให้เกิดความเสียหายได้

หลังจากที่คุณได้รับอนุมัติเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์แบบออนไลน์ เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ตลอดเวลาด้วยตัวเอง เพิ่มความสะดวกและคล่องตัวในการลงทุน

 
ส่งคำสั่งซื้อขายได้ในช่วงเวลาใด
เพราะการซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต ไม่ได้มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาส่งคำสั่ง คุณจึงสามารถส่งคำสั่งได้ตลอดทั้ง 24 ชั่วโมง แม้แต่ตอนตลาดหลักทรัพย์ปิดทำการ หรือในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์

หากคุณส่งคำสั่งในช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์เปิดทำการ คำสั่งของคุณก็จะส่งตรงสู่ตลาดหลักทรัพย์ คุณสามารถตรวจสอบสถานะคำสั่งได้ทันทีจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ สำหรับคำสั่งซื้อขายที่ส่งเข้ามาในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้เปิดทำการ คำสั่งของคุณก็จะถูกจัดเรียงตามลำดับเวลาที่คุณส่งคำสั่งเข้ามา และจะถูกส่งไปยังตลาดหลักทรัพย์ทันทีที่ตลาดเปิดทำการ

 
มีข้อมูลอินเตอร์เน็ตอะไรช่วยการตัดสินใจ
เว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับการซื้อขายหุ้นออนไลน์นั้น ไม่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้บริการรับส่งคำสั่งซื้อขายเท่านั้น แต่ยังเพียบพร้อมด้วยข้อมูลข่าวสารประกอบการตัดสินใจลงทุนของคุณ ปัจจุบันข้อมูลที่ให้บริการบนเว็บไซต์ส่วนใหญ่ประกอบด้วย

• ข้อมูลหุ้นเรียลไทม์ (Real-time trading information) ได้แก่ ราคาเสนอซื้อ-เสนอขายหลักทรัพย์ ดัชนีราคาหลักทรัพย์ ปริมาณและมูลค่าการซื้อขาย ภาพรวมการซื้อขาย สรุปอันดับหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายมากที่สุด ราคาเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลง เป็นต้น ส่วนใหญ่จะสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้

• ข้อมูลของบริษัทจดทะเบียน (Listed Companies Info) เช่นรายชื่อคณะกรรมการบริษัท ลักษณะหรือประเภทธุรกิจ งบการเงินประจำงวดต่างๆ รวมทั้งข่าวสารความเคลื่อนไหวอื่นๆของแต่ละบริษัท โดยสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้

• รายงานและบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ ส่วนใหญ่จะเป็นบทวิเคราะห์ที่จัดทำโดยนักวิเคราะห์ของแต่ละโบรกเกอร์ อาจแยกเป็นวิเคราะห์ข่าวประจำวัน รายงานหุ้นเด่นวันนี้ บทวิเคราะห์รายอุตสาหกรรม รายหลักทรัพย์ วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และการวิเคราะห์ทางเทคนิค

• ความเคลื่อนไหวของดัชนี และข่าวสารของตลาดหุ้นต่างประเทศที่สำคัญ

นอกจากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น โบรกเกอร์มักมีรูปแบบในการนำเสนอบริการเสริมอื่นๆ เพื่อให้ลูกค้ามีข้อมูลพร้อมประกอบการตัดสินใจ เช่น เครื่องมือในการวิเคราะห์ทางเทคนิค ระบบเตือนอัตโนมัติทางโทรศัพท์มือถือ ระบบโอนเงินทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

 
รวมลิงค์เปิดบัญชีอินเตอร์เน็ต กับโบรกเกอร์
เรารวบรวมลิงค์ข้อมูลการเปิดบัญชีออนไลน์ของโบรกเกอร์ที่มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์ของบริษัทเท่านั้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการเปิดบัญชีของคุณ หากคุณต้องการติดต่อสอบถามโบรกเกอร์อื่น ค้นหาข้อมูลสำหรับติดต่อบริษัทได้ที่นี่

บริษัทสมาชิก (โบรกเกอร์)
ซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต
• บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคิน จำกัด
• บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด
• บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบ็ก จำกัด
• บริษัทหลักทรัพย์ ซิกโก้ จำกัด (มหาชน)
• บริษัทหลักทรัพย์ บีที จำกัด
• บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรีอยุธยา จำกัด
• บริษัทหลักทรัพย์ ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน)
• บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด
• บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 
• บริษัทหลักทรัพย์ อินเทลวิชั่น จำกัด (มหาชน)
• บริษัทหลักทรัพย์ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน)
• บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนิตี้ จำกัด
• บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาติ จำกัด
• บริษัทหลักทรัพย์ บีฟิท จำกัด
อยู่ระหว่างการดำเนินการ
• บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด

 
เอกสารที่ต้องใช้ในการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์
 
บุคคลธรรมดา
นั้นมาจากคำว่า Public Offering เป็นการเสนอขายหุ้นที่มีอยู่แล้วใน ตลท.เพื่อระดมทุนเพิ่มเติม แต่ถ้าเป็น IPO จะเป็นการขายหุ้นใหม่ ที่ไม่เคยมีการเสนอขายมา
R  แบบฟอร์มคำขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์
R  สัญญาแต่งตั้งตัวแทนนายหน้าเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ พร้อมค่าอากรแสตมป์ 30 บาท
R  สัญญาดูแลและรักษาทรัพย์สินของลูกค้า (ถ้ามี)
R  บัตรตัวอย่างลายมือชื่อ
R  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรข้าราชการ หรือหนังสือเดินทาง
R  สำเนาทะเบียนบ้าน
R  สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
R  สำเนาใบแจ้งรายการบัญชีธนาคารหรือสำเนาสมุดเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน
R  เอกสารแสดงเงินเดือน
R  แบบคำขอใช้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (เฉพาะกรณีเลือกซื้อขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต)
R  แบบคำขอใช้บริการจ่ายชำระระบบอัตโนมัติ/แบบคำขอให้หักบัญชีเงินฝาก/แบบคำขอใช้บริการโอนเงินผ่านระบบ Tele-Banking  (กรณีให้บริษัทหักค่าซื้อจากบัญชี และ/หรือนำเงินค่าขายเข้าบัญชี)
นิติบุคคล
R   แบบฟอร์มคำขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์
R   สัญญาแต่งตั้งตัวแทนนายหน้าเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ พร้อมค่าอากรแสตมป์ 30 บาท
R   สัญญาดูแลและรักษาทรัพย์สินของลูกค้า (ถ้ามี)
R   หนังสือมอบอำนาจ (เซ็นโดยกรรมการผู้มีอำนาจ) พร้อมค่าอากรแสตมป์ ฉบับละ 30 บาท
R   หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
R   สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ วัตถุประสงค์ ทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้น
R   สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
R   งบการเงินย้อนหลัง 3 ปี
R   บัตรตัวอย่างลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำนาจ
R   สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ
R   สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจ
R   แบบคำขอใช้บริการจ่ายชำระระบบอัตโนมัติ /แบบคำขอให้หักบัญชีเงินฝาก / แบบคำขอใช้บริการโอนเงินผ่านระบบ Tele-Banking  (กรณีที่ต้องการให้บริษัทหักค่าซื้อจากบัญชี และ/หรือนำเงินค่าขายเข้าบัญชี)
กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน
R  หนังสือมอบอำนาจ พร้อมค่าอากรแสตมป์ ฉบับละ 30 บาท
R  บัตรตัวอย่างลายมือชื่อของผู้รับมอบอำนาจ
R  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
R  สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
 
 
แก้ไขครั้งล่าสุด: วันที่ 4 มิถุนายน 2545